เด็กพลังเยอะ เคยสงสัยกันไหม ทำไมเด็กๆ ถึงเล่นได้ทั้งวันไม่รู้จักเหนื่อย

เด็กพลังเยอะ เคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมเด็กๆ ถึงมีพลัง มากมายเล่นได้ทั้งวันไม่รู้จักเหนื่อย สาเหตุที่ เด็กพลังเยอะ เพราะเด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนากล้ามเนื้อที่ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กพลังเยอะ กว่าผู้ใหญ่จริงหรือไม่? คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมลูกๆ ของเราจึงวิ่งเล่นได้ทั้งวันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งมีการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าสาเหตุที่เด็กพลังเยอะนั้น มาจากร่างกายของพวกเขาที่มีความต้านทานความเหนื่อยล้าได้สูงนั่นเอง

 

เด็กพลังเยอะ ความมีพลังของลูกๆ นั้นเกิดจากกล้ามเนื้อที่ต้านทานความเหนื่อยอย่างไร

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงใน Frontiers in Physiology ซึ่งทดสอบลองให้เด็กผู้ชายวัยอนุบาลถึงชั้นประถมต้น และนักกีฬามาร่วมการทดลองออกกำลังกายอย่างหนัก จากนั้นนักวิจัยได้ตรวจดูว่ากล้ามเนื้อและความเหนื่อยล้าของพวกเขาสามารถฟื้นตัวได้เร็วเพียงใด ทั้งนี้ กล้ามเนื้อของเด็กชายไม่ได้เหนื่อยล้าลงแม้แต่น้อย แม้ว่าจะออกกำลังกายในระดับใกล้เคียงกับนักกีฬา แต่กลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกล้ามเนื้อสามารถต้านทานความเหนื่อยล้าได้ 2 สาเหตุ คือ

 

1. เด็กพลังเยอะ เนื่องจากกล้ามเนื้อสร้างพลังงานแบบแอโรบิค

จากการวิจัยด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาจากมหาวิทยาลัย South Australia รายงานว่า เด็กเล็กไม่ได้มีสุขภาพแข็งแรงเท่านักกีฬาแต่กล้ามเนื้อของเด็กๆ สามารถฟื้นตัวได้คล้ายกับนักกีฬา และมากกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปอีกด้วย อย่างการสร้างพลังงานโดยการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแบบแอโรบิค นั่นคือ การออกกำลังกายที่ต้องใช้อากาศหรือออกซิเจน โดยต้องหายใจขณะที่ออกกำลังกายเพื่อนำเอาออกซิเจนไปเป็นตัวช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ซึ่งเด็กๆ มักจะวิ่งเล่นไปมาอย่างรวดเร็วส่งผลให้

  • ระบบการหายใจทำงานเร็วขึ้น แรงขึ้น ทำให้ต้องอ้าปากหายใจเพื่อดูดเอาออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย
  • หัวใจจะเต้นเร็ว เพื่อส่งแรงสูบฉีดเลือดไปสู่ปอดให้เต็มไปด้วยออกซิเจน เพื่อหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
  • เด็กพลังเยอะขึ้นมาจากการที่หลอดเลือดขยายตัว สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. เด็กมีพลังเนื่องจากไม่มีการสร้างพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน

การสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือการที่ร่างกายมีการสร้างกรดแลคติก ถ้าหากระดับกรดแลคติกในกล้ามเนื้อสูงขึ้น จะทำให้ผู้ใหญ่อย่างเราเกิดความเมื่อยล้า ในทางกลับกัน ร่างกายของเด็กๆ ยังไม่มีระบบที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่ได้รับการพัฒนาเท่ากับผู้ใหญ่ ทำให้ร่างกายของพวกเขาไม่สามารถสร้างกรดแลคติกได้มากนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้อัตราการสลายของกรดแลคติกของเด็ก ยังรวดเร็วกว่าผู้ใหญ่ เช่น พอมีกรดแลคติก ร่างกายของเด็กก็ขจัดได้ทันที นี่จึงทำให้พวกเขาสามารถฟื้นตัวได้เร็ว จึงไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีร่างกายที่ฟิตเหมือนกับนักกีฬา แต่หมายความว่าพวกเขายังไม่ได้พัฒนาความสามารถในการสร้างพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้นั่นเอง

*** เข้าใจง่ายๆ คือ กรดแลคติก = ความเหนื่อย เมื่อระบบในร่างกายเด็กสลายกรดแลคติกได้เร็ว เด็กจึงไม่เหนื่อย

ดังนั้น เมื่อเด็กมีพลังงาน วิ่งเล่นได้ สามารถทำกิจกรรมเอ้าดอร์ในการออกกำลังกายแบบต่อเนื่องได้ดีอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรหันมามุ่งเน้นที่การพัฒนาทักษะเสริมเข้าไป อย่างการวางแผนว่า จะให้ลูกในแต่ละวัยออกกำลังกายแบบไหนดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: 8 เรื่องที่ต้องทำ! เพื่อเตรียมพร้อมก่อน ลูกเข้าเรียนอนุบาล

พลังของเด็กสร้างได้ตั้งแต่แรกเกิด

เด็กพลังเยอะตั้งแต่แรกเกิดแล้วค่ะ สังเกตได้จากการแผดเสียงร้องอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ต่อมาคือการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กๆ เช่นการออกกำลังกาย สำหรับกลุ่มอายุวัยหัดเดินและก่อนวัยเรียนควรส่งเสริมให้พวกเขารู้จักเคลื่อนไหว ทำกิจกรรม เพิ่มปริมาณความเข้มข้นขึ้น คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูกันค่ะว่า ลูกๆ ตั้งแต่ 5 ขวบลงมา สามารถออกกำลังกายแบบไหนเพิ่มพละกำลังได้บ้าง

 

สร้างพลังให้ลูกตั้งแต่วัยทารก

หากสงสัยว่า เด็กทารกจะสร้างพลังได้อย่างไร คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งจินตนาการภาพลูกตัวน้อยๆ วัยแบเบาะลุกออกกำลังกายค่ะ แค่เขาขยับเนื้อตัว กำมือ สะบัดเท้า ดูดนมเก่งๆ เท่านี้ก็คือสร้างพลังงานเบื้องต้นแล้ว ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรสร้างความกระตือรือร้นให้ทารกน้อยทุกวัน เมื่อถึงเวลาเขาคลาน แต่เขายังไม่คลาน ก็ลองกระตุ้นให้เขาออกแรงโดยการให้เขาเอื้อมมือจับ ดึง ขยับศีรษะ ลำตัว ให้เขานั่งพิงตัวเรา ให้เขาคว่ำแล้วค่อยๆ กระดึ๊บๆ ไปหยิบของที่เขาสนใจ หมั่นจับลูกน้อยคว่ำเมื่อถึงเวลานะคะ เพราะเมื่อเด็กทารกเริ่มคลานเก่งขึ้น พวกเขาก็จะมีความกระตือรือร้นมากขึ้น พยายามค่อยๆ ปีน เกาะลุกขึ้นยืนเอง แต่ทั้งนี้ครอบครัวต้องระวังเรื่องความปลอดภัยด้วยอย่างที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กพลังเยอะขึ้นเมื่อเข้าวัย 1-2 ขวบ

ตามหลักพัฒนาการของเด็กวัย 1 ขวบว่าไว้ ต้องให้เด็กออกกำลังวัน 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่ใช่การออกกำลังกายแบบจริงจังอย่างที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าฟิตเนสหรือออกวิ่งวันละ 1-2 ชั่วโมง แต่หมายถึง ให้เด็กวัยนี้ ขยับร่างกาย หัดเดิน ทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ เป็นเวลารวมกันอย่างต่ำ 3 ชั่วโมง ต่อวัน รวมไปถึงพาลูกออกไปเดินเล่นกลางแจ้งด้วย ซึ่งใน 3 ชั่วโมงนี้สามารถแบ่งเป็นกิจกรรมเบาๆ เช่น การลุก นั่ง ยืน กลิ้ง โดยที่คุณพ่อคุณแม่เองต้องเป็นคนเล่นกับพวกเขา จากนั้นเพิ่มความเข้มข้นเสริมพลังให้ลูกด้วยการเล่นที่กระฉับกระเฉงขึ้น เช่น การปีนไต่ที่สนามเด็กเล่น การขี่จักรยานสามล้อ การเล่นในสระว่ายน้ำ วิ่งไล่จับ และการเล่นลูกบอล เป็นวิธีเล่นที่ดีที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงวัยต่อไป

 

เด็กพลังเยอะขึ้นจนฉุดไม่อยู่ในวัย 3-4 ขวบ ก่อนเข้าเรียน

ก่อนเข้าวัยเรียน เด็กอายุประมาณ 3-4 ขวบคือวัยแห่งการเริ่มเรียนรู้อย่างเต็มที่ ดังนั้นให้พวกเขาออกกำลังกายอย่างเต็มอย่างน้อยควรใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน ในการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการเล่นกลางแจ้ง ควรให้มีการออกกำลังกายหนักถึงปานกลางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จากนั้นเสริมเป็นกิจกรรมเล็กๆ น้อย ทั้งนี้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีไม่ควรอยู่เฉยๆ เป็นเวลานาน เช่น

  • ไม่ควรให้ปล่อยให้ลูกดูทีวีทั้งวัน หรือนานติดต่อกันเป็นชั่วโมง
  • ไม่ควรให้ลูกนั่งรถยนต์นานเกินไป เช่น นั่งโดยถูกรัดด้วยเข็มขัดนิรภัย เพราะจะทำให้เด็กขยับตัวน้อย
  • ระวังลูกมีน้ำหนักเกินจะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก
  • หากลูกต้องลดน้ำหนัก ให้เสริมกิจกรรมที่เหมาะสมควบคู่กับโภชนาการที่ถูกต้องในเด็กก่อนวัยเรียน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกเล่น “หมากรุก” เสริมไอคิวดี มีอีคิวสูง

พลังของเด็กด้านสติปัญญา

เด็กพลังเยอะในด้านร่างกายแล้ว การส่งเสริมด้านสติปัญญาก็สำคัญ ซึ่งเด็กก่อนวัยเรียนจะเป็นคนช่างสังเกต มีความจำและมีสมาธิที่ดี  ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนในการพัฒนาให้ลูกเป็นคนคิดไว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดเชื่อมโยงเหตุและผลต่างๆ จนจินตนาการและสร้างภาพในสมองได้

ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กก่อนวัยคือ การพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆ กัน  โดยสามารถสอดแทรกกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้พลังงานมาก แต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์แทนเช่น

1. ส่งเสริมพลังงานแห่งการเรียนรู้ด้านดนตรี

ประโยชน์ของดนตรีนั้น จะช่วยพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา เพราะขณะฟังเพลงเราจะรู้สึกสบายตัว สบายใจ ทั้งนี้มาจากการกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา ในขณะเดียวกัน การจับจังหวะเพลง การฟังโน้ตเพลงต่างๆ จะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้าย  ดังนั้น หากนำดนตรีมาใช้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เราจะพบว่าดนตรีมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายด้วย เช่น

  • ดนตรีและเสียงเพลงกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหว ลุกขึ้นเต้น ปรบมือตาม โยกหัวตาม
  • ดนตรียังช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ทำให้เด็กรู้สึกมีความสุข  เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด
  • ดนตรีสามารถพัฒนาสมองและอารมณ์ทั้งในเด็กปกติและใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย
  • เพลงสนุกๆ ชวนให้เด็กๆ ปรับตัวเข้ากับเพื่อน และบุคคลรอบข้างได้ง่ายขึ้นเช่นชวนกันเต้นและร้องเพลง
  • ดนตรีและเสียงเพลงกระตุ้นการเรียนรู้ การจดจำ ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่ามีการแต่งเพลงเป็นบทเรียน ให้เด็กเรียนหนังสือ จดจำได้ง่ายขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ส่งเสริมการเรียนศิลปะในวัยเด็กเล็ก

เนื่องจากศิลปะเป็นเครื่องมือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์  สร้างจินตนาการ ทำให้เด็กมีสมาธิ โดยเด็กที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มให้หัดระบายสีวาดภาพ พวกเขาจะเกิดการตั้งคำถามถึงภาพต่างๆ นั่นคือ การเป็นคนช่างสังเกต และการที่พวกเขานั่งระบายสีด้วยความตั้งใจ ส่งผลให้เด็กๆ มีความใจเย็นมากขึ้น  เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยเริ่มต้นขีดเขียน  มีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์ทางสายตา มือ และการเคลื่อนไหว มีการทำงานประสานกัน  ดังนั้น ศิลปะของเด็กในวัยนี้จึงเริ่มต้นจากการขีดเขียนเส้นต่างๆ และเริ่มสร้างรูปทรงต่างๆ ตามจินตการของพวกเขา

 

3. พลังจากความผ่อนคลายจากการทำกิจกรรม

กลับไปสู่เรื่องทำไม “เด็กพลังเยอะ” เพราะเด็กก่อนวัยเรียนจำเป็นต้องอาศัยกล้ามเนื้อ ข้อต่อและส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเด็กมีความแข็งแรง การทำงานของระบบประสาทในส่วนต่างๆ จะได้รับการพัฒนาอย่างดี ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ  ระบบประสาทและข้อต่อในส่วนต่างๆ  จึงมีความสำคัญและสามารถทำได้หลากหลายวิธี

  • การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อคุณสามารถนวดตัวลูกเบาๆ ตามร่างกายระหว่างอาบน้ำ นวดพร้อมสบู่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
  • การใช้ความร้อนความเย็นเพื่อกระตุ้นการทำงานของหลอดเลือด หลังทำกิจกรรมหนักๆ เช่น วิ่งเล่น ปีนป่าย คุณแม่สังเกตดูว่าตามน่องของลูกจะแข็งหรือไม่ ลองเอาน้ำอุ่นมาประคบน่อง หรือให้ลูกๆ แช่เท้า พร้อมกับนวดคลึงเบาๆ
  • การใช้น้ำเพื่อการผ่อนคลาย สามารถทำได้ตอนอาบน้ำ ให้ลูกส่วนการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ลองนวดลูกเบาๆ ตามแขนขาก่อนนอน

 

ท้ายสุดแล้ว เด็กพลังเยอะ คือเด็กที่กำลังเริ่มต้นการพัฒนาทางด้านร่างกายและสมองอย่างเต็มที่ คือเด็กก่อนวัยเรียน ถ้าคุณพ่อคุณแม่เตรียมความพร้อมให้ลูกๆ ตั้งแต่แรกเกิด การไปโรงเรียนของลูก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ทำกิจกรรม การเข้าสังคมเพื่อนใหม่ จะเป็นไปอย่างดี โดยไม่น่าเป็นห่วงนัก อย่าลืมว่า การส่งเสริมให้ลูกๆ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีพลัง ต้องควบคู่ไปกับการมีพลังสมองที่ดี มีสติปัญญาที่พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ในอนาคตได้ค่ะ

 

 

บทความที่น่าสนใจ: 

5 วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นนักกีฬา ความสำเร็จที่พ่อแม่สร้างได้

5 วิธีป้องกันลูกที่ชอบเล่นกีฬา ไม่ให้บาดเจ็บ วิธีรักษาดูอาการลูก

เมื่อลูกหัวกระแทกควรทำอย่างไร?

ที่มา: 1 , NHS, healthcarethai

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan