X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อลูกหัวกระแทกควรทำอย่างไร?

บทความ 3 นาที
เมื่อลูกหัวกระแทกควรทำอย่างไร?

การเกิดอุบัติเหตุหัวกระแทกของเด็ก เป็นเรื่องที่พบได้ในทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กวัยหัดเดิน และวัยเตาะแตะไปจนถึงเด็กโต มีได้ตั้งแต่พลาดหล่นจากมือของคุณพ่อคุณแม่ขณะอุ้ม ตกเตียง หกล้มกระแทกพื้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่กังวลใจมากที่สุดคือ การกระทบกระเทือนของสมอง มาดูกันนะคะว่าหากลูกหัวกระแทกเราควรจะทำอย่างไรดี

ลูกหัวกระแทก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกหัวกระแทกควรทำอย่างไร?

หากลูกมีศีรษะบวม นูน จากการที่เส้นเลือดในบริเวณนั้นได้รับการกระทบกระเทือน และมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ควรรีบประคบด้วยน้ำแข็ง หรือถุงเก็บความเย็นทันที ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที และประคบซ้ำบ่อยๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุหัวกระแทก เพื่อให้หลอดเลือดหดตัว จะช่วยลดอาการปวดและบวมลงได้ค่ะ หลังจาก 24 ชั่วโมง หากยังมีอาการ บวม นูนที่ศีรษะอยู่ ควรประคบด้วยถุงเก็บความร้อนที่อุ่นๆ เพื่อช่วยละลายเลือดที่คั่งอยู่ในบริเวณนั้นค่ะ

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดหลังการเกิดอุบัติเหตุหัวกระแทก คือ “การสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด” เพื่อเฝ้าระวังอาการที่บ่งบอกถึงการกระทบกระเทือนของสมองนะคะ

สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อลูกหัวกระแทกมีอะไรบ้าง? 

ปัจจัยที่ควรรคำนึงถึงคือ สิ่งแวดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุและอาการของลูกค่ะ

หากลูกหัวกระแทกโดยตกจากที่สูง มากกว่าความสูงของเด็ก หรือกระแทกกับพื้นที่มีความแข็ง หรือกระแทกแล้วไปสัมผัสกับสิ่งของหรือขอบที่มีเหลี่ยม มุม ที่มีโอกาสเกิดแผลฉีกขาด ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับการบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือนของศีรษะมากขึ้น คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ

นอกจากนี้ควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด หากมีอาการสลบ ไม่รู้สึกตัว ชัก ปวดศีรษะหรืออาเจียนมาก ก็ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ

หากลูกมีอาการอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปที่ไม่แน่ใจ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรไปพบคุณหมอทันทีนะคะ

ควรสังเกตอาการลูกนานเท่าใด จึงแนใจว่าไม่มีอาการผิดปกติ?

หากไม่มีอาการผิดปกติ ใดๆ เลย หลังจากเกิดอุบัติเหตุ 24 ชั่วโมงขึ้นไป ยังร่าเริง วิ่งเล่น ทานข้าวได้ปกติ ก็น่าจะเบาใจได้ว่า ลูกไม่ได้มีการกระทบกระเทือนของสมองค่ะ

อาการใดบ้างที่ต้องรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที?

ระหว่างสังเกตอาการลูกหลังจากที่มีการกระทบกระแทกที่ศีรษะ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีนะคะ

  • ซึมลง
  • ชัก
  • หมดสติ
  • อาเจียนพุ่ง หรืออาเจียนมาก
  • ปวดศีรษะมาก
  • ดูสับสน พูดคุยไม่รู้เรื่อง
  • เห็นภาพซ้อน
  • แขนขาอ่อนแรง ขยับได้ไม่เท่ากันสองข้าง

เพราะหากมีอาการเหล่านี้ อาจบ่งถึงความผิดปกติของเนื้อสมองหรือเส้นเลือดในสมอง ที่ได้รับการกระทบกระเทือน เมื่อไปพบคุณหมอ จะได้รับการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และพิจารณาส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเพื่อให้เห็นความผิดปกติดังกล่าว และรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

สุดท้าย ขอฝากให้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีในการป้องกันอุบัติเหตุ ไม่ให้เกิดการกระทบกระแทกของศีรษะลูกบ่อยๆ นะคะ

อุบัติเหตุเด็กจีนถูกรถทับขณะผูกเชือกรองเท้า

บ้านคุณปลอดภัยสำหรับลูกมั้ย

บทความจากพันธมิตร
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เมื่อลูกหัวกระแทกควรทำอย่างไร?
แชร์ :
  • ลูกหัดเดิน จะเริ่มฝึกตอนไหน ยังไงดี

    ลูกหัดเดิน จะเริ่มฝึกตอนไหน ยังไงดี

  • พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

    พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • ลูกหัดเดิน จะเริ่มฝึกตอนไหน ยังไงดี

    ลูกหัดเดิน จะเริ่มฝึกตอนไหน ยังไงดี

  • พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

    พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ