X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กที่ ‘เถียง’ พ่อแม่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า

บทความ 3 นาที
เด็กที่ ‘เถียง’ พ่อแม่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า

“ลูกเถียง” ถือเป็นคำบ่นตลอดกาลของบรรดาพ่อแม่ แต่ถ้าจริงๆ แล้วการต่อต้านเป็นสิ่งที่ดีต่อพัฒนาการของลูกล่ะ

ลูกเถียง

“ลูกเถียง” ถือเป็นคำบ่นตลอดกาลของบรรดาพ่อแม่

เมื่อลูกของคุณเริ่มเถียงหรือพูดจายอกย้อน มันทำให้คุณปรี๊ดได้จริงๆ นะ! คุณแทบจะนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ แม้คุณจะรู้ทฤษฎีที่ว่าการนิ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง (และดีต่อความดันโลหิตของคุณด้วย)

แต่…ถ้าจริงๆ แล้วการต่อต้านเป็นสิ่งที่ดีต่อพัฒนาการของลูกล่ะ?

ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันว่า พฤติกรรมนี้แท้จริงแล้วเป็นผลดีต่อพัฒนาการของเด็กๆ เคลลี่ เอ็ม เฟลเนแกน นักจิตวิทยาคลินิกอธิบายว่า “การปฏิเสธไม่เป็น ซึ่งทำให้คนเราไม่สามารถกำหนดของเขตส่วนบุคคลได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดสาเหตุหนึ่ง”

โจเซฟ พี อัลเลน นักจิตวิทยาซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียกล่าวว่า “เราบอกให้ผู้ปกครองคิดว่าการโต้เถียงเหล่านั้นเป็นการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ แทนที่จะคิดว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญ”

เวลาที่เด็กๆ ต่อต้านอำนาจของคุณ แท้จริงแล้วพวกเขากำลังพยายามควบคุมชีวิตของตนเอง เด็กๆ กำลังฝึกฝนทักษะนี้กับคุณอยู่

Advertisement

คุณน่าจะอยากให้ลูกเรียนรู้ที่จะต่อรองกับคุณก่อน มากกว่าจะให้ลูกรู้สึกว่าต้องทำตามคำสั่งของเพื่อนจอมตื๊อที่พูดว่า “เอาน่า ทุกคนตกลงใช่ไหม?” หรือเชื่อฟังคำสั่งของของผู้ใหญ่ที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับลูกของคุณสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ใช่หรือ?

ตั้งใจดูว่าลูกๆ ของคุณต่อต้าน “อย่างไร”

เราทุกคนต้องการให้ลูกเชี่ยวชาญทักษะในการต้านทานแรงกดดันจากเพื่อน หรือป้องกันตนเองจากอันตรายเมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจยากๆ ในชีวิต

แล้วถ้าความสามารถของคุณในการยอมรับ (โดยการอบรมและช่วยจัดการ) อิสระที่เพิ่มขึ้นของลูกเป็นกุญแจสำคัญในการสอนให้ลูกมีทักษะการต่อรองอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้ลูกของคุณปฏิเสธยาเสพติด และชะลอการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะถึงวัยที่เหมาะสมล่ะ?

ความจริงก็คือ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าลูกต่อต้านคุณหรือไม่ ลูกเป็นเด็ก ลูกจะต้องต่อต้านอย่างแน่นอน มันเป็นงานของพวกเขา สิ่งสำคัญคือพวกเขาต่อต้านอย่างไร และคุณตอบสนองอย่างไร

คุณสอนให้ลูกท้าทายคุณด้วยความเคารพหรือไม่ คุณได้วางมาตรฐาน (และเป็นตัวอย่างที่ดี) ในการสื่อสารอย่างเหมาะสมหรือไม่ คุณได้ช่วยให้ลูกเข้าใจและมีความรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตนเองหรือไม่

ความสามารถของลูกในการต่อรองกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงหรือไม่พึงประสงค์จะดีขึ้น เมื่อคุณสอนให้ลูกฝึกควบคุมตนเองอย่างมีสติ มีความเคารพ สงบและสง่างาม

แล้วตกลงใครมีอำนาจ

เราทุกคนอยากรู้สึกว่าตนเองเป็นพ่อแม่ที่ดี แต่การได้ยินลูกวัย 2 ขวบพูดว่า “ไม่!” ลูกวัย 9 ขวบพูดว่า “ทำไมหนูต้องทำ” หรือลูกวัย 14 ปีพูดว่า “แม่ไม่แฟร์เลย” ทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจในความสามารถในการเป็นพ่อแม่ของเรา

เรารู้สึกว่าเราต้องรักษามาตรฐานความมีอำนาจของเราในฐานะพ่อแม่เอาไว้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเราโตมาแบบนี้ และส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราต้องการรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมลูกได้ ชีวิตจะง่ายขึ้น (ในระยะสั้น) เมื่อลูกทำตามที่เราบอก แต่ในที่สุดแล้วเราไม่สามารถควบคุมลูกได้

เด็กๆ เกิดมาบนโลกใบนี้พร้อมเส้นทางชีวิตของตนเอง พวกเขาเริ่มสอนบทเรียนนี้ให้กับเราตั้งแต่ยังเล็กโดยการกรีดร้องใส่เราว่า “มันไม่ใช่เรื่องของพ่อกับแม่ มันเป็นเรื่องของหนู!”

น่าเศร้าที่เรามักใช้เวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจความหมาย หรืออาจไม่เข้าใจเลยตลอดชีวิต

สิ่งที่ลูกอยากให้คุณรู้

แม้วิธีการจะแตกต่างกันไปในช่วงพัฒนาการต่างๆ แต่ใจความสำคัญยังคงเดิม คือ

ลูกคือสิ่งมีชีวิตอิสระที่มีความคิดและความรู้สึกเป็นของตนเอง พวกเขามีเส้นทางชีวิตของตัวเอง ถึงแม้ว่าคุณจะได้รับสิทธิพิเศษในการดูแลลูกในระหว่างที่พวกเขากำลังเติบโตขึ้น ชีวิตก็ยังเป็นของพวกเขา ไม่ใช่ของคุณ

ที่มา: yahoo.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง

คุยกับลูกเรื่องยาก ๆ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

หทัยกาญจน์ วอร์ด

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เด็กที่ ‘เถียง’ พ่อแม่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า
แชร์ :
  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว