ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ทำอย่างไรดี? สิ่งนี้แก้ไขได้หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเริ่มรู้สึกว่า ทุกครั้งที่เราเรียกชื่อของลูก เขาก็ไม่ค่อยจะมีการตอบรับหรือตอบสนองอะไรกลับมาเลย ซึ่งเป็นอะไรที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มรู้สึกเป็นกังวลใจมาก ๆ เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับลูกน้อยของเรา สิ่งนี้เรียกว่าลูกมีความผิดปกติหรือเปล่า หากใครที่อยากรู้แล้วล่ะก็ เรามาไขคำตอบกันดีกว่าค่ะว่า ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ ต้องทำยังไงดี?

 

ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อ บ่งบอกอะไร?

ทุกครั้งที่เราเรียกชื่อลูก และลูกก็ไม่ยอมหันมาหาเราเลย เชื่อเลยนะคะว่าสิ่งนี้ก็ทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนเป็นกังวลใจอยู่เหมือนกัน เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้คืออะไร ต้องบอกเลยนะคะว่า การที่เราเรียกชื่อลูกแล้วเขาไม่ได้หันกลับมา สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกเราอยู่ว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นเด็กออทิสติกได้เหมือนกัน เพราะโรคออทิสติกเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางด้านการสื่อสาร ภาษา และพัฒนาการทางด้านสังคม เป็นว่าหากเจ้าตัวเล็กกำลังมีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะพาลูก ๆ ไปปรึกษาคุณหมอ หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอได้เลยนะคะ

 

วิธีสังเกตดูว่าลูกป่วยเป็นโรคออทิสติก

หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่าลูกของเรากำลังป่วยเป็นโรคออทิสติกอยู่หรือไม่ หรือเราควรมีวิธีการสังเกตลูกน้อยยังไงบ้างว่าเขากำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ เอาเป็นว่าเรามาสังเกตดูพฤติกรรมของเด็ก ๆ ไปพร้อมกันเลยดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : สังเกตอย่างไร? ว่า ลูกเป็นออทิสติก พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อโรคนี้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราชอบทำอะไรเดิม ๆ  ซ้ำ ๆ อยู่แบบนั้น เขาเลือกที่จะหมกมุ่นอยู่กับสิ่งสิ่งนั้น ทั้ง ๆ ที่มันก็ไม่ได้มีอะไรน่าสนใจขนาดนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าลูกของเรากำลังป่วยเป็นโรคออทิสติกได้ ดังนั้นเราอาจจะต้องลองสังเกตอาการลูกของเราด้วยนะคะ

 

2. พูดช้ากว่าคนอื่น

สิ่งที่สังเกตได้ต่อมาเลยคือเรื่องของการพูด เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราไม่ยอมพูด หรือเป็นเด็กที่พูดช้าเมื่อเทียบกับเด็ก ๆ รุ่นเดียวกัน พฤติกรรมเหล่านี้ก็ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่สามารถบ่งบอกว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคออทิสติกได้เหมือนกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ไม่แสดงท่าที หรือส่งเสียง

อย่างที่เรารู้กันดีว่า ทุกครั้งที่เราเล่นกับลูก ๆ เขาก็จะมีความสนุกของเขา ซึ่งเด็กส่วนใหญ่เขาก็จะมีเสียงหัวเราะ หรือส่งเสียงอะไรบางอย่างในขณะที่เรากำลังเล่นด้วย แต่หากเมื่อไหร่ที่เราเล่นกับลูก ๆ และเขาไม่ได้ส่งเสียงหรือมีการตอบสนองอะไรกลับมาเลย บอกเลยนะคะว่าลูกของเราค่อนข้างเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน

 

4. ไม่สนใจคนรอบข้างเลย

จากการสังเกตเด็ก ๆ ส่วนใหญ่แล้วเขาค่อนข้างที่จะมีความสนใจสิ่งรอบ ๆ ตัวเป็นอย่างดี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาไม่ได้เกิดความสนใจในสิ่งรอบตัวเลย เขาค่อนข้างที่จะนิ่งต่างจากเด็กคนอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการที่ลูกของเราจะป่วยเป็นโรคออทิสติกได้ก็มีโอกาสค่อนข้างสูงอยู่เช่นเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ไม่แสดงพฤติกรรมลอกเลียนแบบ

สิ่งที่เป็นปกติของเด็กทั่ว ๆ ไป โดยส่วนมากเด็กจะชอบทำอะไรเลียนแบบกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราไม่ได้ทำอะไรเลียนแบบ แถมยังไม่ได้มีการตอบสนองอะไรกลับมาเลย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเราสามารถป่วยเป็นโรคออทิสติกได้ง่ายมากเลยล่ะค่ะ

 

เคล็ดลับ! ทำอย่างไรให้ลูกพูดคุยมากขึ้น

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้ลูกของเราป่วยเป็นโรคออทิสติก และเราอยากที่จะฝึกให้ลูก ๆ พูดคุยมากยิ่งขึ้นแล้วล่ะก็ เรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะว่าเราควรต้องมีวิธีการทำยังไงบ้าง เพื่อที่ลูกของเราจะได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามไปด้วย เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

 

 

1. ลูกจับอะไรเราก็จะพูดชื่อสิ่งของไปด้วย

สิ่งสำคัญที่เราอาจจะต้องใส่ใจเป็นอันดับแรก ๆ ซึ่งเราอาจจะต้องพูดชื่อสิ่งของนั้น ๆ ในทุกครั้งที่ลูกจับ เพราะสิ่งนี้จะช่วยทำให้เด็ก ๆ จำคำศัพท์ได้ง่ายมากขึ้น และหากเขาจำคำศัพท์ได้เขาก็อาจจะอยากพูดคุย หรืออยากพูดออกมานั่นเองค่ะ เอาเป็นว่าลองนำไปฝึกลูก ๆ กันดูนะคะ

 

2. ลองใช้น้ำเสียงที่แตกต่าง

เชื่อหรือไม่คะว่าการที่เราเลือกใช้น้ำเสียงที่แตกต่าง สิ่งนี้ก็จะเข้ามาช่วยทำให้เด็ก ๆ อยากที่จะพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นอยู่เหมือนกัน เพราะการใช้น้ำเสียงที่แตกต่างสิ่งนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ ได้มากขึ้นเลยทีเดียว เอาเป็นว่าอย่าลืมนำไปใช้กันดูนะคะ เชื่อเลยว่าเด็ก ๆ ต้องอยากพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นแน่นอน

 

3. ผลัดกันพูดคุย

ในขณะที่เราพูดคุยกับลูก ๆ นั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องลองให้ลูกมีส่วนร่วมในการสนทนาครั้งนี้ด้วย ไม่ควรปล่อยให้ลูกเป็นคนที่คอยรับฟังอยู่อย่างเดียว โดยเราอาจจะต้องทิ้งช่วงให้ลูกฝึกพูดตามเราไปเรื่อย ๆ บอกเลยนะคะว่าวิธีนี้อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุกและอยากที่จะพูดคุยกับเราขึ้นมาเลยก็ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ฝึกพูดกับลูกทุกวัน

สิ่งสำคัญต่อมาเลยคือ เราอย่าที่จะถอดใจกับอะไรง่าย ๆ นะคะ ถึงแม้ในครั้งแรกลูกของเราอาจจะยังไม่ได้ตอบสนองกลับมา เราก็อาจจะต้องฝึกพูดกับลูกเรื่อย ๆ ฝึกพูดอยู่บ่อย ๆ แน่นอนค่ะว่าหากเราฝึกพูดกับลูกในทุก ๆ วัน นอกจากจะทำให้เขาพูดได้เร็วขึ้นแล้วนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขากลายเป็นเด็กที่พูดได้เร็วและเก่งขึ้นได้เหมือนกัน

 

5. ฝึกให้ลูกร้องเพลง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนก็อาจจะใช้เสียงเพลงเป็นตัวช่วยในการที่จะช่วยฝึกให้ลูก ๆ พูดคุยกับเราให้เร็วขึ้นได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีเราก็อาจจะต้องร้องเพลงให้ลูกฟังในทุก ๆ วัน บอกเลยนะคะว่าวิธีนี้นอกจากจะทำให้ลูกของเราพูดได้เร็วขึ้นแล้ว สิ่งดี ๆ ที่ตามมาอีกอย่างก็อาจจะทำให้เขากลายเป็นคนที่หลงรักในเสียงเพลงตั้งแต่เด็กก็เป็นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกน้อยชอบร้องเพลง อยากเป็นนักร้อง ทำอย่างไรให้ความฝันลูกเป็นจริง

 

6. อ่านนิทานให้ลูกฟังทุกวัน

สำหรับใครที่ไม่ค่อยถนัดในเรื่องการร้องเพลง เราก็อาจจะลองอ่านนิทานให้ลูกฟังก็ได้ ซึ่งในการอ่านนิทานนั้นเราก็อาจจะลองใช้น้ำเสียงที่แตกต่างกันออกไป เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีความสนใจในสิ่งที่เราอ่านมากขึ้น อีกอย่างเด็ก ๆ เขาอาจจะมีการตอบสนองที่ดีและอยากพูดคุยกับเราก็ได้นะคะ

 

เทคนิคที่จะช่วยทำให้ลูกจำชื่อตัวเองได้ทำยังไงดี?

หากใครที่กำลังอยู่ในช่วงฝึกให้ลูก ๆ จำชื่อตัวเองได้ และเขียนชื่อตัวเองได้นั้นบอกเลยนะคะว่าทำไม่ยากเลย ส่วนจะมีวิธีทำให้ลูกจำชื่อตัวเองได้นั้น เราควรต้องทำยังไงดี เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ

 

1. ฝึกพูดชื่อลูกอยู่บ่อย ๆ

สิ่งที่เราอาจจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เราอาจจะต้องลองฝึกพูดชื่อลูกให้บ่อยขึ้น เพื่อที่เขาจะได้จำชื่อตัวเองได้ด้วย และเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ จำชื่อตัวเองได้จากการเรียกชื่อ สิ่งนี้ก็อาจจะช่วยทำให้เขามีการตอบสนองกลับมาทุกครั้งที่เราเรียกชื่อนั่นเอง

 

2. การสะกดชื่อลูก

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราลองฝึกให้ลูกสะกดชื่อตัวเอง ลองให้ลูกฝึกพูดว่าชื่อของตัวเองมีตัวสะกดอะไรบ้าง สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะช่วยฝึกให้ลูกของเราจำชื่อของตัวเองได้ดีขึ้นอีกด้วย บอกเลยนะคะว่านอกจากการเรียกชื่อแล้วนั้น การลองสะกดชื่อของตัวเองก็เป็นอะไรที่ดีและช่วยฝึกความจำให้กับเด็ก ๆ ได้ดีมาก ๆ เลย

 

3. ฝึกให้ลูกเขียนชื่อตัวเอง

นอกเหนือจากการพูดออกเสียงและฝึกให้ลูกสะกดชื่อตัวเองแล้วนั้น การฝึกให้ลูกลองเขียนชื่อตัวเอง สิ่งนี้ก็เป็นตัวช่วยที่จะทำให้เด็ก ๆ จำชื่อตัวเองได้ง่ายมากขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาว่างเราก็อาจจะลองฝึกให้เด็ก ๆ ลองเขียนชื่อตัวเองอยู่บ่อย ๆ เพื่อที่เขาจะได้จำชื่อตัวเองได้เร็วมากขึ้นด้วยนะคะ

 

ต้องบอกเลยนะคะว่าปัญหาเกี่ยวกับการเรียกชื่อลูกและไม่ได้มีการตอบสนองกลับมานั้น เป็นอะไรที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ค่อนข้างทุกข์ใจและกังวลในทุกครั้ง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งแรกเลยเราอาจจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ให้ดีว่า พฤติกรรมที่เขาเป็นอยู่ในตอนนี้เสี่ยงที่จะเป็นอะไรหรือเปล่า และหากลูกของเรามีความผิดปกติต่างจากเด็กคนอื่น ๆ เราก็อาจจะต้องรีบหาทางแก้ไข หรือทางที่ดีเราก็อาจจะลองขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากคุณหมอได้เลยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่ พ่อแม่ควรทำอย่างไร

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที อยากให้ลูกพูดเร็วๆ ต้องทำยังไง

ลูกพูดไม่ชัดเกิดจากอะไร และแก้ไขได้อย่างไร ปัญหาลูกพูดไม่ชัด

ที่มา : istrong, pobpad, sanook

บทความโดย

Tidaluk Sripuga