X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำอย่างไร..เมื่อลูกกลัวการไปโรงพยาบาล

บทความ 3 นาที
ทำอย่างไร..เมื่อลูกกลัวการไปโรงพยาบาล

เด็ก ๆ ในวัยเรียนรู้ หากมีประสบการณ์ที่ต้องเจ็บตัวจากโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีน เจาะเลือด หรือทำแผลจากอุบัติเหตุ มักจะจดจำความเจ็บปวดได้แม่นยำ และหวาดกลัวเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์เดิมซ้ำอีก เด็กเล็ก ๆ จึงร้องไห้งอแงเวลาที่ถูกพามาพบคุณหมอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มีส่วนที่จะช่วยลูกน้อยให้ก้าวผ่านความกลัว และช่วยให้การมาโรงพยาบาลไม่น่ากลัวสำหรับลูก ๆ อีกต่อไปได้ครับ

ทำอย่างไร เด็กกลัว โรงพยาบาล หมอ

ทำอย่างไร เมื่อเด็กกลัวโรงพยาบาลและหมอ

คุณพ่อคุณแม่แทบทุกท่านคงจะเคยพาลูกน้อยไปโรงพยาบาลกันมาบ้างแล้วนะครับ เสียงเด็ก ๆ ที่ร้องไห้งอแงคงเป็นภาพที่บ่งบอกถึงความรู้สึกได้เป็นอย่างดี เด็กบางคนมีอาการอิดออดไม่ยอมเดิน ไม่ยอมสบตา หรือจากที่เคยช่างพูดก็นิ่งเงียบไม่ตอบคำถาม บางคนกลัวมากถึงขนาดเห็นใครก็ตามใส่ชุดขาวในโรงพยาบาลก็ร้องไห้

เนื่องจากความร่วมมือของเด็ก ๆ ในการตรวจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเราจะมาคุยกันถึงวิธีที่จะช่วยคลายความกังวลให้กับลูกน้อย ลดความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่ และช่วยให้กระบวนการตรวจผ่านไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็วกันครับ

พูดคุยสร้างความเชื่อมั่น 

คุณพ่อคุณแม่ควรจะบอกว่าการมาโรงพยาบาลนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และไม่ได้แปลว่าจะต้องเจ็บตัวเสมอไป อาจใช้คำพูดแสดงถึงความผูกพัน เช่น “คุณพ่อคุณแม่สัญญาว่าจะอยู่ข้าง ๆ ลูกตลอด” หรือชี้ให้เห็นประโยชน์ของการไปพบคุณหมอ เช่น “ถ้าไปหาหมอแล้วจะได้หายไว ๆ ไปเที่ยวกับคุณพ่อคุณแม่ได้อีก” เป็นต้น

นำสิ่งของที่ลูกรักหรือชอบเล่นติดมาด้วย 

อาจนำของเล่นหรือตุ๊กตาที่ชอบมาให้ลูกเล่นระหว่างรอเพื่อพบแพทย์เพื่อสร้างความรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย ผ่านทางความเคยชินของเด็ก

สัมผัสปลอบใจ 

เด็กบางคนกลัวมากขึ้นเวลาพบคุณหมอ อาจไม่ยอมให้ตรวจแต่โดยดี หรือดิ้น ไม่ยอมให้จับตัว ในขณะที่ต้องนอนเตียงตรวจ คุณพ่อคุณแม่ควรสัมผัสตัวลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งพร้อมกับพูดปลอบ ในกรณีที่ลูกดิ้นมาก ๆ ควรให้ลูกนั่งบนตักของคุณพ่อหรือคุณแม่ และโอบแขนขาของลูกเอาไว้ โดยทำตามคำแนะนำของผู้ช่วยแพทย์ประจำห้องตรวจ หากลูกมีอาการนิ่งเงียบ ไม่พูด ไม่ให้ความร่วมมือ ควรใช้คำพูดกระตุ้นด้วยความใจเย็น ซ้ำ ๆ ช้า ๆ แต่ไม่ควรกดดันจนเกินไป

หากจำเป็นที่จะต้องเจ็บตัว

ในกรณีอุบัติเหตุที่มีการทำแผลหรือเย็บแผล ห้องฉุกเฉินมักอนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่ของเด็กเล็กเข้ามาช่วยดูแลได้ ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และไม่หยิบจับเครื่องมือใด ๆ ด้วยตนเอง การปลอบลูกให้สงบอาจจะทำได้ยากหากเด็กยังอยู่ในภาวะตกใจ พยายามตั้งสติและพูดปลอบซ้ำ ๆ ด้วยความใจเย็น เมื่อมีการทำแผล เด็กอาจร้องหรือดิ้นมากขึ้น บางกรณีอาจจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้เด็กอยู่กับที่เพื่อความสะดวกในการรักษา คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ ๆ ในระยะที่เด็กมองเห็น หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกน้อยเพื่อให้สงบมากขึ้น

คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง

ไม่ควรใช้คำพูดที่มีลักษณะของการขู่ เช่น “ถ้าไม่เงียบคุณแม่จะไม่อยู่ด้วยแล้วนะ” “ถ้าไม่นิ่งเดี๋ยวคุณหมอจับฉีดยานะ” เนื่องจากจะยิ่งเพิ่มความหวาดระแวงให้กับลูก และอาจสร้างทัศนคติในแง่ลบต่อการมาโรงพยาบาลครั้งต่อๆไป รวมทั้งคำพูดที่มีความหมายเชิงลบต่อผู้อื่นเช่น “คุณพยาบาลฉีดยาเจ็บ เดี๋ยวคุณแม่ตีคุณพยาบาลให้นะ” อาจปลูกฝังให้ลูกเกิดความเชื่อภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม

คำพูดที่ควรใช้

คำพูดปลอบใจเช่น “ต้องอดทนนะลูก คุณพ่ออยู่ด้วยกันนะ” หรืออาจมีการเสนอข้อแลกเปลี่ยน เช่น “ครั้งนี้คุณหมอขอดูเฉย ๆ ไม่เจ็บนะลูก” หรือ “ถ้าไม่ดื้อไม่ซน ตรวจเสร็จแล้วเราไปซื้อขนมกันนะ” เหล่านี้จะช่วยสร้างสะพานให้เด็กก้าวข้ามความกลัวได้ง่ายขึ้น

สุดท้ายนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการตรวจ และให้ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการตรวจตามความเหมาะสมนั้นจะนำไปสู่การวินิจฉัยที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ สามารถลดระยะเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือการกลับมาโรงพยาบาลซ้ำ ๆได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องอาศัยความอดทน และความเข้าใจเพื่อให้การตรวจนั้นเสร็จสิ้นไปด้วยดีครับ

ลูกกลัว โรงพยาบาล หมอ ทำอย่างไร

นายแพทย์กฤษณ์ ศรีธิหล้า

นายแพทย์กฤษณ์  ศรีธิหล้า

แพทยศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประสบการณ์การทำงาน: แพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และโรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

 

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

นายแพทย์กฤษณ์ ศรีธิหล้า

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ทำอย่างไร..เมื่อลูกกลัวการไปโรงพยาบาล
แชร์ :
  • ทำอย่างไร เมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก

    ทำอย่างไร เมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก

  • ทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ยอมนอนคนเดียว

    ทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ยอมนอนคนเดียว

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ทำอย่างไร เมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก

    ทำอย่างไร เมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก

  • ทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ยอมนอนคนเดียว

    ทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ยอมนอนคนเดียว

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ