X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Checklist สำหรับพ่อแม่ เมื่อลูกต้องเผชิญกับความ "พ่ายแพ้"

บทความ 3 นาที
Checklist สำหรับพ่อแม่ เมื่อลูกต้องเผชิญกับความ "พ่ายแพ้"

เมื่อลูกต้องผิดหวัง หรือพ่ายแพ้ พ่อแม่จะรับมือและสอนลูกอย่างไรให้แพ้เป็น

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา หมอมีโอกาสได้ไปดูแลเด็กในรายการแข่งขันร้องเพลงรายการหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ในสังคมปัจจุบัน การแข่งขันของเด็กดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่เพียงแต่การแข่งขันร้องเพลง ยังมีการสอบเข้าโรงเรียนประถมชื่อดัง การสอบทางวิชาการเพื่อเหรียญรางวัลและการแข่งความสามารถพิเศษด้านอื่นๆ อีกมากมาย  และเมื่อมีคนชนะ ย่อมมีคนแพ้ คำถามที่เกิดขึ้นคือ หากพ่ายแพ้แล้วจะรับมืออย่างไร

  1. ครอบครัวสำคัญที่สุด ในยามที่ผิดหวังท้อแท้ เด็กย่อมต้องการการประคับประคองจิตใจจากครอบครัวเป็นหลัก หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ คือ ต้องเป็นผู้ประคับประคอง ให้เด็กรู้สึกพึ่งพิงได้ ไม่แสดงความอ่อนแอให้เด็กเห็น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือการแสดงความเสียใจอย่างมากหรือแสดงความผิดหวัง จะทำให้เด็กเสียขวัญและรู้สึกเสียใจที่คุณพ่อคุณแม่เสียใจผิดหวัง
  2. ภาษากาย เมื่อรู้สึกเสียใจผิดหวัง เด็กอาจไม่พร้อมที่จะรับฟังคำพูดปลอบประโลมหรือคำอธิบายต่างๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงหรือพูดให้น้อยที่สุด แล้วหันมาใช้ “ภาษากาย” เพื่อแสดงการปลอบโยนและเข้าใจถึงความรู้สึกที่เด็กมี อาทิ การกอด เอามือตบไหล่หรือใช้เวลาอยู่ด้วยกันให้นานขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าต่อให้เกิดอะไรขึ้นก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ยังรักและเป็นกำลังใจให้เขาเสมอ
  3. ไม่ซ้ำ – ไม่ย้ำ – ไม่ตำหนิ การตำหนินั้น อาจไม่ได้เป็นการกระตุ้นให้เด็กมีความพยายามมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามอาจบั่นทอนกำลังใจได้ นอกจากคำตำหนิแล้ว คำต้องห้ามที่ไม่ควรพูดให้เด็กได้ยิน เช่น น่าเสียดาย หรือกล่าวโทษสิ่งอื่นๆ เพราะจะยิ่งไปซ้ำเติมภาวะจิตใจที่แย่อยู่แล้วให้หนักยิ่งขึ้น
  4. เป็นผู้รับฟังที่ดี เมื่อเวลาผ่านไป เด็กอาจยังอยากพูดถึงเรื่องที่เสียใจ คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้พูด ระบาย และให้กำลังใจ ไม่ควรปิดกั้นไม่ให้พูดถึงเรื่องที่เสียใจ การได้เล่าหรืออธิบายถึงสิ่งที่ยังติดค้างในใจ จะทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้ เพราะเพียงแค่ได้เล่าออกมาให้ใครสักคนฟัง เด็กก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น
  5. เบี่ยงเบนความสนใจจากอดีต บางครั้งเด็กจะกังวลและยังจดจ่ออยู่กับความพ่ายแพ้ในอดีตที่ผ่านไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและแนะนำโดยให้มองไปยังเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแทน รวมทั้งให้เบี่ยงเบนความคิดไปในเรื่องที่ตนเองทำได้ดี และเป็นจุดแข็งเรื่องอื่นๆ
  6. ความพ่ายแพ้และความผิดหวัง คือ แรงต่อสู้ หลังจากผ่านช่วงเวลาเศร้าและพอปรับตัวและจิตใจได้ สามารถนำความพ่ายแพ้มาสร้างเป็นพลังให้พยายามพัฒนาตัวเองต่อไป ถึงแม้ว่าอาจยังไม่ประสบความสำเร็จ ก็ขอเพียงได้ชื่นชมกับความพยายามและความไม่ย่อท้อ ซึ่งจะช่วยพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่มีความมุมานะพยายามในเรื่องต่างๆ ต่อไป

ทุกอย่างล้วนเป็นเหรียญสองด้าน ในด้านดีของการแข่งขัน คือ ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้น มีวินัยในการฝึกฝนทำให้เป็นคนมีวินัยในตัวเอง และมีความมุมานะพยายาม ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

ในด้านลบ การให้เด็กแข่งขันความสามารถเฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่ง อาจทำให้มุ่งมั่นพัฒนาเพียงด้านเดียว ขาดโอกาสในการพัฒนาด้านอื่นๆตามวัยที่เหมาะสมกับอายุ เช่น เด็กอนุบาลแทนที่จะวิ่งเล่นกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน ซึ่งได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อ การเข้ากลุ่มสังคมเป็นต้น  กลับต้องมานั่งอ่านเขียนหนังสือวันละหลายชั่วโมง ในขณะเดียวกัน อาจทำให้เกิดความเครียด จากการถูกบังคับ  จนบางครั้งทำให้สัมพันธภาพกับพ่อแม่มีปัญหา หรือเกิดความล้าต่อสิ่งที่ทำ เมื่อโตขึ้นกลับไม่อยากทำสิ่งนั้นอีก

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วิธีรับมือ เมื่อลูกร้องไห้ไปซะทุกเรื่อง

10 สิ่งที่พ่อแม่ทำลายความภาคภูมิใจในตนเองของลูกโดยไม่รู้ตัว

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

พญ.โสรยา ชัชวาลานนท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • Checklist สำหรับพ่อแม่ เมื่อลูกต้องเผชิญกับความ "พ่ายแพ้"
แชร์ :
  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ