แม่ท้องหลาย ๆ คน ต่างก็เป็นกังวลใจ และสงสัยว่า คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ถ้าท้องอยู่ควรจะฉีดวัคซีนหรือเปล่า ฉีดเข้าไปแล้วลูกจะเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thaland จะพาคุณแม่ท้องทั้งหลาย มาทำความรู้จักกับวัคซีนโควิดในไทย ว่ามียี่ห้อไหนบ้างที่คนท้องฉีดได้บ้าง และหลังจากฉีด เราควรดูแลตัวเองอย่างไร
คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า
งานวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาชี้ว่า คนท้องและคนที่กำลังให้นมลูก ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ และโมเดอร์นา มีภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มคนทั่วไปหลังจากฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ ซึ่งเด็กในท้อง ก็ได้รับภูมิคุ้มกันด้วยเหมือนกันกับแม่ ซึ่งนี่ ก็ถือว่าเป็นข่าวดี สำหรับแม่ท้องหลาย ๆ คน ที่กำลังตัดสินใจ ว่าควรจะเข้ารับการฉีดวัคซีนดีไหม
คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดยี่ห้อไหนดี
สำหรับวัคซีนให้คนท้องอยู่หลัก ๆ มี 2 สูตร คือ สูตรไขว้ (ซิโนแวคกับแอสตร้าเซนเนก้า) และสูตรแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม โดยจากการสำรวจทั่วประเทศพบว่า มีคนท้องอยู่ทั้งหมด 5 แสนราย ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเร่งฉีดวัคซีนให้คนท้องให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีหลาย ๆ ที่ ที่เปิดให้บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับคนท้องและคนสูงอายุ หากคุณแม่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เลยค่ะ
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
คนท้องบางคนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจมีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนคล้ายคนทั่ว ๆ ไป คือ มีอาการไข้ เหนื่อยเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจ คุณแม่สามารถทานยาและนอนพักเพื่อให้อาการทุเลาลงได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีไข้สูง ใจสั่น ชัก หมดสติ ปวดหัวรุนแรง รวมทั้งมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีตุ่มน้ำพองขึ้นตามร่างกาย และมีอาการบวมทั่วร่างกาย ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีนะคะ
วิธีดูแลตัวเองในช่วงโควิดสำหรับแม่ท้อง
แม้ว่าคุณแม่จะฉีดวัคซีนกันไปแล้ว แต่ก็ยังคงต้องดูแลตัวเองให้ดี เพราะวัคซีนโควิด ไม่ได้ช่วยป้องกันโควิด แต่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และช่วยไม่ให้เราติดโรคได้ง่าย ซึ่งคุณแม่สามารถดูแลตัวเองในระหว่างนี้ ได้ดังนี้
- ไม่เข้าใกล้คนอื่น โดยเฉพาะคนที่ไม่สบาย แต่ก็ควรแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่ทำท่าทางรังเกียจผู้อื่น
- ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย หรือจับสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหาร สัตว์เลี้ยง ใบหน้า จมูก ผ้าอ้อมเด็ก เป็นต้น
- เมื่อต้องการไอหรือจาม แต่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยอยู่ ให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปากตอนไอจาม แต่หากไม่มีกระดาษทิชชู ก็ให้ไอจามใส่ข้อศอกแทน
- หมั่นสำรวจตัวเองอยู่เสมอ ว่ามีไข้ หรืออาการแปลก ๆ หรือไม่ หากต้องการวัดอุณหภูมิร่างกาย ก็ไม่ควรทำหลังจากการออกกำลังกาย เพราะเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายลดลงผิดปกติ
- หมั่นทำความสะอาดสิ่งของใช้ที่คนสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เคาน์เตอร์วางของ โทรศัพท์ แป้นพิมพ์ หรืออ่างล้างมือ เป็นต้น
- สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปากอยู่เสมอ เมื่อต้องออกไปข้างนอก
- ไม่ไปในที่คนเยอะ หรือในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- หากอยู่นอกบ้าน ให้หมั่นทำความสะอาดมือด้วยเจลล้างมือ
หากคุณแม่ติดโควิดลูกในครรภ์จะติดไหม
ในเด็กแรกเกิดที่มีเชื้อโควิด-19 ถือว่าพบได้น้อยมากเพียง 2-5 % ของคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วโลก และส่วนใหญ่ไม่ได้เจอในคุณแม่ที่ติดเชื้อนะคะ แต่ก็ยังไม่มีผลวิจัยที่ชัดเจนว่า ทารกได้รับเชื้อช่วงไหนกันแน่ ระหว่างช่วงตั้งครรภ์หรือว่าเป็นหลังคลอด นอกจากนี้ ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เกิดโอกาสแท้งด้วยนะคะ โดยส่วนใหญ่อาการของทารกเมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะน้อยมากหรือแทบไม่มีอาการอะไรเลยค่ะ แต่หากคุณแม่เกิดติดเชื้อในช่วงอายุครรภ์อยู่ไตรมาสที่ 3 แล้ว ก็อาจจะทำให้อาการของคุณแม่อยู่ในระดับรุนแรงได้ ในกรณีนี้จึงจะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์ด้วย
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ตามปกติหลังมีอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่แนะนำให้ฉีดคือคุณแม่ที่มีอาการแพ้วัคซีนจากเข็มแรกอย่างรุนแรง หรือคุณแม่ที่มีข้อห้ามจากแพทย์ที่ทำการดูแลโดยตรงค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แม่ท้องอยากรู้ ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้อง มีข้อห้ามและข้อระวังอะไรบ้าง ?
5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5
วัคซีนโควิด ChulaCov19 เทียบชั้น ‘ไฟเซอร์ – โมเดอร์นา’ ฝีมือของคนไทย
ที่มา : bangkokhospital, synphaet, petcharavejhospital