เมนูที่ชอบมีแต่ถั่วฝักยาว เพราะเป็นวัตถุดิบที่นิยมของคนไทยอย่างหนึ่ง คนท้องกินถั่วฝักยาวได้ไหม เพราะเจอบ่อยกลัวว่าจะเป็นอันตราย ถั่วฝักยาวจะกินแบบไหนให้ดีต่อคนท้อง มาอ่านกันเลย
คนท้องกินถั่วฝักยาวได้ไหม
ถั่วฝักยาวเป็นหนึ่งในผักที่คนท้องสามารถกินได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ความระมัดระวังในบางข้อ เช่น ไม่ควรกินแบบดิบเด็ดขาด เพราะจะทำให้ท้องอืด ท้องเสีย ต้องนำไปปรุงให้สุกผ่านความร้อนแล้วเท่านั้น และเช่นเดียวกับอาหารเมนูอื่น ๆ ที่ไม่ควรทานมากเกินไป ต้องกินแบบพอดี และต้องเคี้ยวให้ละเอียด เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย หากสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเมนูถั่วฝักยาวได้ปลอดภัยมากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินเอแคลร์ได้ไหม ซื้อมาแล้วควรกินให้เร็ว ก่อนเชื้อโรคจะถามหา
สารอาหารในถั่วฝักยาว
การทานถั่วฝักยาวเทียบในปริมาณอาหารทั่วไปที่ 100 กรัม จะให้พลังงานเพียง 47 กิโลแคลอรีเท่านั้นเอง การกินผักจึงไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำหนัก หรือพลังงานที่มากเกินไปอยู่แล้ว แต่ให้ระวังเมนูที่ทานมากกว่า เช่น ถั่วฝักยาวผัดพริกแกงหมู, ตำถั่วฝักยาว หรือข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น ที่ถึงแม้จะมีถั่วฝักยาวที่กินแล้วไม่อ้วน แต่วัตถุดิบอื่น ๆ ในจานก็ยังให้พลังงานสูงอยู่ดีนั่นเอง
ในถั่วฝักยาวมีสารอาหารหลากหลายชนิด ส่วนมากจะเป็นคาร์โบไฮเดรต, วิตามิน C, แคลเซียม และโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น ธาตุเหล็ก, วิตามิน A, วิตามิน B1, โปรตีน และซีลีเนียม เป็นต้น หากคุณแม่เป็นคนชอบกินถั่วฝักยาวก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่จะรับสารอาหารได้ดีแน่นอน
ประโยชน์ของถั่วฝักยาว
หากทานในปริมาณที่เหมาะสม และทานอย่างถูกต้อง ถั่วฝักยาวก็ถือเป็นผักที่มอบประโยชน์ให้กับร่างกายของเราในหลาย ๆ ด้าน การทานวันละนิด หรือไม่เขี่ยออกจากชามข้าว จะทำให้ร่างกายมีโอกาสได้รับประโยชน์ ดังนี้
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ : ในถั่วฝักยาวมีวิตามิน C ที่มีส่วนสำคัญต่อผิวของคุณแม่ ทำให้คุณแม่มีผิวพรรณสุขภาพดีได้ อีกทั้งยังช่วยลดริ้วรอย และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวไม่ให้แห้งอีกด้วย นอกจากนี้วิตามิน C ยังเป็นวิตามินพื้นฐานที่ร่างกายไม่ควรขาด เพราะสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อไข้หวัดได้ด้วย
- บำรุงสายตา : วิตามิน A และวิตามิน B1 ในถั่วฝักยาว มีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาท และการมองเห็นอย่างมาก ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคการมองเห็น เช่น โรคต้อหิน และโรคต้อกระจก เป็นต้น หากคุณแม่เป็นคนที่ใช้สายตาเยอะ การกินถั่วฝักยาวปรุงสุกเป็นทางเลือกที่น่าสนใจแน่นอน
- มีแร่ธาตุบำรุงกระดูก และฟัน : แร่ธาตุสำคัญที่มักพบเจอในอาหารที่มีประโยชน์อย่างธาตุเหล็ก, แคลเซียม และฟอสฟอรัส ในถั่วฝักยาวเองก็มี โดยแร่ธาตุเหล่านี้ช่วยได้ในหลาย ๆ เรื่องโดยเฉพาะการบำรุงกระดูก ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังบำรุงเลือด ช่วยลดโอกาสเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกด้วย
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก : แน่นอนว่าการกินผัก สามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าเนื้อสัตว์ ถั่วฝักยาวสามารถนำไปใส่ในเมนูอาหารได้หลากหลาย คุณแม่อาจลดเนื้อสัตว์แล้วเพิ่มปริมาณถั่วฝักยาว หรือผักอื่น ๆ เพื่อควบคุมน้ำหนักได้ การทานเนื้อสัตว์น้อยลง ยังลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้ดีด้วย
ไม่ควรกินถั่วฝักยาวแบบดิบ
ถั่วฝักยาวเป็นหนึ่งในผักที่หลายคนนำมาทานแบบดิบ ๆ หรือทานกับน้ำพริก เพราะเห็นว่าคนอื่นทานกัน การกินผักกับน้ำพริก หรือทานกับอาหารอื่น ๆ จะต้องผ่านการลวกให้สุกก่อนเสมอ หากคุณแม่คนไหนชอบกินแบบดิบคงต้องเลิกกินหลังจากนี้ เนื่องจากถั่วฝักยาวดิบมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) อยู่มาก ทำให้มีกรดเกินในกระเพาะ ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด
นอกจากนี้การกินผักแบบดิบ ๆ ยังเสี่ยงต่ออาการท้องเสียได้ด้วย เนื่องจากอาหารที่ไม่ได้ผ่านความร้อน เสี่ยงที่จะมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่ แม้จะล้างแล้วก็ตาม เพราะเชื้อโรคอยู่แทบทุกที่รอบตัวเรา ต่อให้ล้างมาแล้วก็อาจติดจากที่อื่นได้อีก ดังนั้นการปรุงให้สุกก่อนทานจึงสำคัญมาก และอีกส่วนหนึ่ง คือ ถั่วฝักยาวมักถูกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แต่ก็ต้องระวังเคี้ยวให้ละเอียด เพราะอาจเกิดอาการสำลัก หรืออุดตันในลำไส้ และกระเพาะอาหารได้
คนท้องกินถั่วฝักยาวอย่างไรให้ปลอดภัย
แม้ถั่วฝักยาวจะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่การทานมากเกินไปก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ก่อนแม่ท้องกินเมนูถั่วฝักยาว เรามีคำแนะนำเบื้องต้น ดังนี้
- ต้องกินแบบปรุงสุกเท่านั้น ส่วนมากมักจะนำไปลวกก่อนนำมาทาน ไม่ควรทานแบบดิบ ๆ เด็ดขาด
- เคี้ยวให้ละเอียดเสมอ เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย
- หากซื้อมาทำทานเอง เลือกถั่วฝักยาวที่มีความสดใหม่ ร้านค้าที่ขายดูแลความสะอาด ไม่ปล่อยให้แมลงวันตอม
- หลังประกอบอาหารแล้ว ควรรีบทานทันที เพราะยิ่งปล่อยไว้อาจเสี่ยงต่อเชื้อโรคได้
- หากทานอาหารไปแล้วมีอาการหายใจไม่ออก หรือร่างกายมีความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ในทันที
- ทานในปริมาณที่พอดี ไม่ทานมากเกินไปแม้จะมีประโยชน์ เพราะร่างกายต้องการสารอาหารครบ 5 หมู่
สูตรถั่วฝักยาวผัดพริกแกงหมูสำหรับแม่ท้อง
วัตถุดิบ : ถั่วฝักยาว หั่นเป็นท่อนสั้น, พริกชี้ฟ้าแดง, น้ำมันพืช, ใบมะกรูดซอย, น้ำพริกแกงเผ็ด, เนื้อหมูสามชั้น หรือหมูสับ หรือหมูกรอบก็ได้, น้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ หรือน้ำตาลทราย
วิดีโอจาก : TidReview ชีวิตติดรีวิว
วิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกให้ลวกถั่วฝักยาวให้สุก โดยให้ลวกในน้ำเดือด 20 วินาที แล้วตักขึ้นใส่ลงแช่ในน้ำเย็น แล้วนำมาสะเด็ดน้ำเตรียมไว้ก่อน
- ใส่น้ำมันลงกระทะใช้ไฟปานกลาง แล้วใส่น้ำพริกแกงลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม แล้วตายด้วยปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บตามลำดับ
- ใส่หมูที่เตรียมมาลงผัดให้เนื้อหมูสุกดี แล้วใส่ถั่วฝักยาว ตามด้วยใบมะกรูด ผัดให้เข้ากัน เสร็จแล้วตักใส่จานทานกับข้าวสวยได้เลย
ผักผลไม้ไม่ใช่แค่ถั่วฝักยาว เป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาสุขภาพของแม่ท้อง ในส่วนของการทานอาหารเมนูอื่น ๆ ก็ต้องเน้นการปรุงให้สุก ทานแต่พอดีเอาไว้ก่อน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโภชนาการ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้อง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินกล้วยทอดได้ไหม พลังงานสูงอ้วนง่าย แต่ยังพอมีประโยชน์
คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ
คนท้องกินทอดมันได้ไหม กินปลาเห็ดได้หรือเปล่า ก่อนทานต้องระวังอะไร