คนท้องกินนมข้นหวานได้ไหม ระวังไขมัน และคอเลสเตอรอลพุ่งปี๊ด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ของหวานตามท้องตลาดหลายเมนู ใช้นมข้นเป็นส่วนผสม ยิ่งราดเยอะ ๆ แม่ท้องยิ่งฟินแน่นอน คนท้องกินนมข้นหวานได้ไหม ถ้าหยุดทันตอนนี้ก็หยุดไปก่อนดีกว่านะ อย่างน้อยก็ให้คลอดก่อนค่อยหันมาทาน เพราะทานเพลิน ๆ นอกจากความอร่อยแล้ว ไขมันในเส้นเลือดอาจถามหาได้ มีผลต่อการทำงานของหัวใจนะ

 

คนท้องกินนมข้นหวานได้ไหม

นมข้นหวาน (Sweetened Condensed Milk) เป็นเมนูอาหารที่นำไปทำกับอะไรก็อร่อย โดยเฉพาะคนที่ชอบกินของหวาน คนท้องอยู่ในช่วงที่ต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษ และแน่นอนรสหวานจัดของนมข้นหวานก็เป็นสิ่งที่ต้องบอกว่าเลี่ยงได้เลี่ยงจะดีกว่า หากไม่อยากกินมากเป็นพิเศษ ก็ไม่ควรไปแตะเลย เพราะนอกจากความหวานหอมแล้ว ประโยชน์ทางด้านโภชนาการก็น้อยมาก หากดูฉลากจะพบว่าปริมาณนมจริงอาจไม่มากกว่าที่คิด บางยี่ห้อแอบใช้ครีมเทียมแทนนมซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เมื่อคนท้องอยากกินจริง ๆ จึงต้องพิถีพิถันในการเลือกให้ดี อ่านฉลากก่อน และทานแต่พอดีด้วย นอกจากจะไม่ดีต่อสุขภาพคุณแม่ท้องแล้ว ยังต้องระวังด้วยสำหรับแม่ให้นม เพราะนมข้นหวานอันตรายต่อทารกน้อยด้วยเช่นกัน

 

3 อันตรายจากนมข้นหวาน คนท้องต้องระวัง

หากไม่ได้อยากทานมาเป็นพิเศษ ก็อย่าไปแตะนมข้นหวาน เพราะมีปัจจัยอันตรายที่แม่ท้องอาจมองข้ามไปอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน ไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง, การใช้ครีมเทียมแทนนม และปริมาณนมบางยี่ห้อที่น้อยเกินไป

 

 

1. พลังงานของนมข้นหวานมากเกินไปสำหรับคนท้อง

แม่ท้องรู้หรือไม่ว่าการกินนมข้นหวานเพียง 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี และหากกินในปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานถึง 329 กิโลแคลอรี แน่นอนว่าคงไม่มีแม่คนไหนนั่งกินนมข้นหวานอย่างเดียว จะต้องกินกับอาหารอื่น ๆ ความอร่อยที่เพลิดเพลินนี้ อาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน หรือภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ตัวอย่างเช่น กินขนมปังใส่นมข้นหวาน 1 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงาน 240 กิโลแคลอรี กินเพียง 2 แผ่นก็ให้พลังงานเทียบเท่ากับการกินอาหารมื้อหลักได้เลย แต่แน่นอนว่าคงมีแม่ท้องหลายคนไม่อิ่มเท่ากับกินข้าวแน่นอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากพลังงานแล้วทั้งไขมัน และคอเลสเตอรอล ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในนมข้นปริมาณไม่น้อยเลย เทียบจากนมข้นปริมาณ 100 กรัม มีไขมัน 14 % และมีคอเลสเตอรอล 12 % ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ท้องควรเลี่ยงมากที่สุด ในด้านของคุณค่าทางโภชนาการ นมข้นหวานก็นับว่าไม่ได้โดดเด่นอะไรเลย ส่วนมากจะเป็นแคลเซียม, คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน และโพแทสเซียม เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้สามารถพบได้ง่ายในเมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่านี้

 

2. นมข้นหวานที่มีปริมาณนมไม่ถึงครึ่ง

ปัจจุบันมีการขายนมข้นหวานหลายสูตร หลายแบรนด์ หาซื้อได้ไม่ยากแน่นอน แต่ละสูตรก็จะมีสัดส่วนของส่วนผสม ซึ่งคุณแม่สามารถศึกษาก่อนตัดสินใจซื้อได้จากฉลากของสินค้า โดยทั่วไปแล้วจะใช้น้ำตาลในการทำมากถึงประมาณ 40 – 50 % ซึ่งเทียบเท่ากับว่านมข้นหวานที่เรากิน ครึ่งหนึ่งก็คือเรากินน้ำตาลไปนั่นเอง ส่วนปริมาณนมที่นำมาใช้มักจะอยู่ในช่วง 22 – 28 % เท่านั้น ที่เหลือก็เป็นส่วนประกอบวัตถุดิบอื่น ๆ

จะเห็นได้ว่า นมข้นหวานจริง ๆ แล้วมีปริมาณแท้ ๆ เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น หากแม่ท้องคนไหนที่คิดว่ากินนมข้นหวาน อย่างน้อยก็มีนม ตอนนี้คงจะรู้แล้วว่าปริมาณนมนั้นน้อยแค่ไหน หันไปกินนมหวานแบบกล่องอาจมีประโยชน์กว่าหลายเท่า ดังนั้นก่อนจะซื้อแม่ท้องต้องดูด้วยว่าแบรนด์นั้น ๆ ใช้ส่วนผสมอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีปริมาณเท่าไหร่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินมะม่วงน้ำปลาหวานได้ไหม กิน 1 ถ้วยโรคไตถามหาทันที

 

 

3. ระวังครีมเทียมในนมข้นหวาน

เชื่อว่าแม่ท้องหลายคนอาจไม่ได้ศึกษาฉลากก่อนเลือกซื้อนมข้นหวาน หากยังเลือกซื้อจากความคุ้นเคย หรือเลือกจากชื่อแบรนด์ หรือจากโฆษณา แม่ท้องจะยิ่งเสียเปรียบได้ เพราะมีบางยี่ห้อทำการเปลี่ยน หรือลดปริมาณของนมไปเป็นครีมเทียมแทน เรื่องนี้ รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ได้ออกมาเปิดเผยว่าบางยี่ห้อเลือกเอานมออก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และหันมาใช้ครีมเทียมที่มีส่วนผสมของกลูโคสไซรัป, แป้ง และน้ำมันปาล์ม ซึ่งไม่ได้ทำให้นมข้นหวานเสียรสชาติไป แต่สิ่งที่ไม่เหมือนเดิม คือ สารอาหารที่หายไป แม้แต่เดิมจะมีสารอาหารไม่มากอะไรอยู่แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งวัตถุดิบอย่างน้ำมันปาล์ม ที่เป็นส่วนประกอบของครีมเทียมมีปริมาณของไขมันอิ่มตัวสูง และในครีมเทียมเองหากเทียบปริมาณ 1 ซอง หรือ 3 กรัม จะมีส่วนประกอบของไขมันอิ่มตัวถึง 1 กรัมเลย นั่นหมายความว่าหากกินไปมาก ๆ จะส่งผลต่อร่างกายของคนท้องหลายอย่าง เช่น คอเลสเตอรอลสูง ไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เป็นต้น

 

วิดีโอจาก : RakSukkhaphap

 

คนท้องควรกินนมข้นหวานแบบไหนให้ปลอดภัย

แม้ว่าเราไม่อยากแนะนำให้แม่ท้องกินนมข้นหวาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกินไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว เพียงแต่การจะกิน 1 ครั้ง อาจต้องคำนึงตั้งแต่การเลือกซื้อ ไปจนถึงปริมาณในการทาน ดังนี้

 

  • ศึกษาฉลากก่อนเป็นอันดับแรก ให้เลือกยี่ห้อที่ใช้นม ไม่ใช่ครีมเทียม และให้เลือกยี่ห้อที่มีส่วนผสมของนมมากที่สุด เพื่อประโยชน์ของร่างกาย
  • ควรซื้อสูตรที่มีไขมันน้อย ซึ่งปัจจุบันบางยี่ห้อก็ทำแยกกัน สูตรไขมันปกติจะมีราคาที่ถูกกว่า แม่ท้องไม่ควรเสียดายเงิน แม้สูตรไขมันน้อยจะมีราคาสูงกว่า แต่เป็นการจ่ายค่าสินค้าเพื่อทำให้ร่างกายปลอดภัยมากขึ้น
  • เลี่ยงการกินเมนูใด ๆ ที่ใช้นมข้นหวานปริมาณมาก เช่น ขนมปังราดนมข้นหวานแบบฉ่ำ ๆ หรือเครื่องดื่มบางชนิดที่เทใส่แก้วแบบเอาหวานเข้าว่า หากเจอร้านแบบนี้ หรือเมนูแบบนี้ให้เลี่ยงไปเลย
  • นมข้นหวานเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ควรเลี่ยง หากแม่ท้องจะทานจะต้องกินในปริมาณที่น้อยเป็นพิเศษ ระวังการทานให้ดี เพราะพลังงานไม่น้อย จะทำให้มื้ออาหารว่างมีพลังงานเท่ามื้อหลักได้

 

นมข้นหวานมีความหวานเป็นรสนำ หากแม่ท้องแค่ต้องการกินของหวาน อาจจะเพราะเป็นคนชอบทานหวานอยู่แล้ว หรือมาจากอาการแพ้ท้องก็ตาม ในกรณีนี้หากไม่ได้ต้องเจาะจงว่าหวานแบบนมข้นหวาน การกินของหวานประเภทอื่น ๆ จะดีต่อสุขภาพของคุณแม่กว่ามาก ๆ เช่น นมรสหวาน และผลไม้รสหวาน ซึ่งก็หาซื้อได้ง่าย ไม่แพ้นมข้นหวานแน่นอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินเครื่องในได้ไหม สารอาหารเยอะ แต่มีโรคประจำตัวต้องระวัง

คนท้องกินผักบุ้งได้ไหม กินแบบไหนให้ดี มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง ?

คนท้องกินส้มแผ่นได้ไหม มะม่วงแผ่น กินแบบไหนให้สุขภาพดี

ที่มา : classifiedmom, mgronline

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon