คนท้องกินกระเพาะปลาได้ไหม กระเพาะปลาทำจากอะไร อันตรายไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไปไหนก็เจอแต่เมนูกระเพาะปลา รสชาติแปลก ๆ มีอะไรนุ่ม ๆ เหลือง ๆ ในชามแต่อร่อยดี คนท้องกินกระเพาะปลาได้ไหม เมื่อเมนูงานบุญยอดฮิตพบเจอได้ง่ายกว่าที่คิด แต่กี่ครั้งแล้วที่เมนูง่าย ๆ เหล่านี้ถูกห้ามไม่ให้คนท้องทาน สำหรับเมนูกระเพาะปลาจะเป็นแบบนั้นหรือไม่มาหาคำตอบกันดีกว่า

 

กระเพาะปลาคือกระเพาะของปลาใช่หรือไม่ ?

ด้วยรสสัมผัสของอาหารชนิดนี้ วัตถุดิบที่ไม่คุ้นตา มีความนุ่ม มีความฟูที่เป็นเอกลักษณ์ หากแม่ท้องสังเกตดี ๆ จะพบว่า เราแทบไม่ได้พบเจอกับวัตถุดิบแบบนี้ในอาหารจานอื่นเลย นอกจาก “กระเพาะปลา” แต่ถึงแม้จะเรียกว่ากระเพาะปลา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำมาจากกระเพาะของปลาแต่อย่างใด ส่วนที่เรากินกันนั้น ทำมาจาก “ถุงลม” ของปลาต่างหาก ซึ่งเป็นส่วนที่ปลาใช้ในการช่วยพยุงตัวในการว่ายน้ำของปลา โดยปกติแล้วเมนูกระเพาะปลาจะใช้ปลาทะเลในการทำ ยิ่งถ้าหากเป็นปลาทะเลน้ำลึก ราคาของเมนูนี้ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ในส่วนของอวัยวะกระเพาะปลานั้น จริง ๆ ยังไม่มีการยืนยันว่าสามารถนำมาทานได้ไหม อย่างไรก็ตามก็ยังถือเป็นเครื่องในสัตว์ ที่โดยปกติแล้วคนเราก็นำมาทานกันอยู่แล้ว สำหรับแม่ท้องที่อยากลองของแปลก เราแนะนำให้เลี่ยงอวัยวะอย่างกระเพาะของปลาไปก่อนจะดีกว่า ทานเพียงเมนูกระเพาะปลาที่ทำมาจากถุงลมก็คงจะเพียงพอแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินขนมไข่นกกระทาได้ไหม เลือกซื้อผิดทำคุณแม่แก่เร็วนะ

 

วิดีโอจาก : RAMA Channel

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องกินกระเพาะปลาได้ไหม

เมนูอาหารยอดฮิตที่พบเจอได้ตามตลาด หรือตามงานบุญต่าง ๆ “กระเพาะปลา” ที่มีรสชาติเฉพาะตัว แม่ท้องหลายคนอาจชอบทาน และหาร้านเด็ด ๆ ทานอยู่เป็นประจำ สำหรับเมนูนี้คนท้องสามารถทานได้ไม่มีปัญหา นอกจากนี้เมนูนี้ยังให้พลังงานกับร่างกายในปริมาณที่ไม่มากเมื่อเทียบกับเมนูหลัก ๆ อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะทานได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทานมากเท่าไหร่ก็ได้ เพราะการทานอย่างพอดี จะทำให้ดีต่อสุขภาพมากกว่า เนื่องจากกระเพาะปลาเป็นเมนูที่มีโซเดียมสูงนั่นเอง และคุณแม่ยังต้องระวังร้านอาหารบางร้าน เพราะในปัจจุบันมีการนำหนังหมูมาใช้แทนถุงลมปลาที่มีราคาแพงอีกด้วย

ความเชื่อของชาวจีนที่ส่งต่อ ๆ กันมา คือ การกินกระเพาะปลาหลังคลอด เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันอาการตกเลือดของคุณแม่ได้ อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์นี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ แต่เมนูนี้ก็ไม่ใช่เมนูต้องห้ามของคุณแม่หลังคลอดเช่นกัน

 

สารอาหารในกระเพาะปลา

การกินเมนูนี้ 1 ชามปกติ จะให้พลังงานกับร่างกาย 260 กิโลแคลอรี มีสารอาหารหลัก คือ ไขมัน, โปรตีน และโซเดียม นับว่าเป็นเมนูหลักที่ทานได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วน สำหรับกระเพาะปลานั้นวัตถุดิบหลักก็คือ ถุงลมซึ่งสามารถพบเจอตามตลาดได้แตกต่างกันในแต่ละรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ กระเพาะปลาแห้ง และกระเพาะปลาทอด โดยมีรายละเอียดของสารอาหาร ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารในวัตถุดิบถุงลมปลา (กระเพาะปลา)

สารอาหาร กระเพาะปลาทอด (100 กรัม) กระเพาะปลาแห้ง (100 กรัม)
พลังงาน (กิโลแคลอรี) 682 279
โปรตีน (กรัม) 36 64
คาร์โบไฮเดรต (กรัม) 0 5
ไขมัน (กรัม) 59 0.5

 

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่พูดต่อ ๆ กันมาว่า การกินกระเพาะปลาจะทำให้ร่างกายได้รับคอลลาเจน อาจเป็นเพราะวัตถุดิบอย่างถุงลมปลาที่นำใส่ในเมนูนี้ เมื่อทานแล้วจะมีความนุ่ม ฉ่ำ และเด้ง แต่ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีหลักฐาน หรือข้อพิสูจน์ใด ๆ ออกมายืนยันว่าการทานเมนูนี้จะทำให้ได้คอลลาเจนอย่างที่หลายคนกำลังพูดถึงกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อันตรายจากการกินกระเพาะปลาที่คนท้องต้องระวัง

ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่าเมนูอาหารนี้ แม้จะได้รับความนิยม และมีความเชื่อเรื่องสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะเมนูนี้มีรากฐานมาจากอาหารจีน ซึ่งอาหารจีนมักบอกกันปากต่อปากอยู่แล้วว่าประโยชน์ล้นเหลือ แต่ส่วนของโทษก็มีไม่น้อยหากเลือกทานอย่างไม่ระมัดระวัง ตัวอย่างเช่น

 

  • โลหะหนัก และตะกั่วในปลา : สำหรับปลาที่นำมาใช้ทำอาหารเมนูนี้เป็นปลาทะเล ซึ่งจะมีทั้งสารตะกั่ว สารปรอทตามธรรมชาติ ยิ่งเมนูนี้หากต้องการทานแบบหรู ๆ จะต้องใช้ปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะมีการปนเปื้อนโลหะหนักติดมาด้วย อย่างไรก็ตามในประเทศไทยเองก็มีการสุ่มตรวจ และยังไม่พบว่ามีสารดังกล่าวเกินกว่ากำหนด
  • สารอาหารที่น้อยเกินไป : หากแม่ท้องต้องการทานเมนูนี้เพราะต้องการเพิ่มสารอาหารให้กับร่างกาย อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะนอกจากพลังงานจะน้อยพอสมควรแล้ว สารอาหารที่ได้จากเมนูนี้ก็ไม่ได้หลากหลายอะไร โดยมากจะเป็นจำพวกโปรตีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการกินกระเพาะปลาก็ยังเป็นทางเลือกสำหรับคุณแม่ท้องที่อยากคุมน้ำหนักได้ดี
  • อาจเจอหนังหมู : ถุงลมปลาที่นำมาใช้ในเมนูนี้ โดยปกติแล้วถือว่าเป็นวัตถุดิบที่มีราคาไม่ได้ถูกเลย เพราะปลาน้ำลึกไม่ได้จับได้ง่าย ๆ ดังนั้นสิ่งที่ตามมา คือ การปลอมแปลงวัตถุดิบจากร้านอาหารที่ขายเมนูนี้ โดยสิ่งที่นิยมนำมาทดแทนถุงลมปลา คือ “หนังหมู” นั่นเอง

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าที่กินอยู่คือหนังหมู หรือถุงลมปลา

คุณแม่ท้องอาจตกใจเมื่อพบว่าเมนูที่ทานอยู่บ่อย ๆ บางร้านอาจย้อมแมวเอาหนังหมูมาแทนถุงลมปลาได้แบบเนียน ๆ ซึ่งเรามีวิธีการสังเกตมาฝากคุณแม่กัน โดยกระเพาะปลาจะมีโพรงอากาศเล็ก ๆ ทั่วทั้งชิ้น มีความละเอียดมากกว่า ผิวสัมผัสจะมีความเหนียวหนุ่ม ในขณะที่หนังหมูจะมีความกระด้างมากกว่า

 

 

คนท้องกินกระเพาะปลาอย่างไรให้ปลอดภัย ?

  • เนื่องจากปกติแล้วปลาจะปนเปื้อนสารปรอท หรือสารตะกั่วตามธรรมชาติแล้ว ต่อให้มีการสุ่มตรวจไปบ้างแล้วยังพบปริมาณที่ถือว่าปลอดภัยอยู่ แต่การสุ่มตรวจไม่การตรวจทุกร้าน คุณแม่จึงไม่ควรทานอาหารเมนูใด ๆ ทุกวัน ควรหันไปทานอย่างอื่นบ้าง
  • เมนูอาหารอย่างกระเพาะปลา ถือเป็นเมนูที่มีโซเดียมอยู่สูงพอสมควร ตามแบบฉบับอาหารที่พบเจอได้ทั่วไปในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ร่างกายรับโซเดียมมากไป แม่ท้องจะต้องระวังการปรุงรสเพิ่มเติม เช่น น้ำปลา หรือซอสต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เมนูนี้มีปริมาณโซเดียมพุ่งสูงกว่าเดิม
  • เลือกร้านให้ดี เพราะนอกจากความสะอาดที่ต้องคำนึงแล้ว จะต้องสังเกตวัตถุดิบหลักอย่างถุงลมปลาด้วย หากมีการนำหนังหมูมาใช้ ก็ควรสอบถามทางร้าน หรือเปลี่ยนร้านทานไปเลยก็ได้

 

แม้แม่ท้องจะสามารถทานได้ตามปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องระวัง หากสงสัยในร่างกายของตนเอง ซึ่งอาจรับอาหารเมนูต่าง ๆ ได้แตกต่างกัน ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนจะตัดสินใจรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่สบายใจขึ้นอย่างแน่นอน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินบิงซูได้ไหม เมนูหวานยุคใหม่ ที่มีข้อต้องระวังมากที่สุด

คนท้องกินโรตีได้ไหม แม่ท้องรู้ไหมว่าโรตี 1 ชิ้นเท่ากับข้าว 1 จาน

คนท้องกินเป็ดได้ไหม เป็ดย่าง ข้าวหน้าเป็ด ทำไมเชื่อกันว่าอันตรายกับครรภ์ ?

ที่มา : matichonacademy

บทความโดย

Sutthilak Keawon