ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ลูกดูดนิ้ว ต่างกับดูดจุกยังไง แบบไหนดีกว่ากัน
บ้านไหนกังวลใจเรื่อง ลูกดูดนิ้ว และังตัดสินใจไม่ได้ว่า ดูดจุกหลอก ดีมั้ย 2 พฤติกรรมนี้ต่างกันยังไง แบบไหนดีกว่ากัน ตามอ่านด้านล่างเลยค่ะ
เคยสังเกตกันใช่ไหมคะว่า มีเด็กทารกและเด็กเล็กบางคนชอบดูดนิ้ว หรือบางคนก็ติดจุกหลอก ซึ่งพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายคนค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อาจกังวลว่าทั้งการดูดนิ้วและการดูดจุกหลอกนี้จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการลูกน้อยบ้างหรือไม่? ทารกที่ ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ลูกดูดนิ้ว ต่างกับดูดจุกยังไง แบบไหนดีกว่ากัน บทความนี้จะพาคุณไปไขข้อข้องใจทุกปัญหา “การดูด” ของลูก รวมถึงมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมมาให้ด้วยค่ะ
สารบัญ
ทำไม? เด็กชอบดูด
“การดูด” นั้นเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของลูกตั้งแต่ในครรภ์ค่ะ เมื่อคลอดออกมาจึงสามารถดูดนมจากเต้าคุณแม่ได้ รวมถึงยกนิ้วน้อยๆ ขึ้นมาดูดได้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลาย ซึ่งการดูดอาจช่วยให้ทารกสงบลงเมื่อรู้สึกหิว ง่วง หรือไม่สบายใจ จนกระทั่งมีอายุประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งเป็นวันที่ลูกเริ่มเอื้อมมือคว้าและหยิบสิ่งของต่างๆ เข้าปากได้นั่นแหละค่ะ เป็นช่วงที่ลูกเริ่ม “ตั้งใจดูด”
ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ลูกดูดนิ้ว หรือดูดจุก ต่างกันยังไง
เชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่หลายบ้านเลยค่ะ ที่กังวลใจเกี่ยวกับการที่ ลูกดูดนิ้ว จนเกิดเป็นความคิดและความสับสนว่า จะใช้ จุกหลอก ให้ลูกดูดแทนดีหรือเปล่า ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม เอาเป็นว่ามาดูและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ลูกดูดนิ้ว กับ ดูดจุกหลอก กันก่อนค่ะว่าเหมือนหรือต่างกันยังไง ทดแทนกันได้ไหม ให้ลูกดูดแบบไหนดี
-
ลูกดูดนิ้ว
โดยธรรมชาติแล้วลูกน้อยอาจดูดนิ้วเป็นระยะๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 2 ขวบ ตามพัฒนาการ โดยทารกวัย 0-1 ปีนั้นอยู่ในระยะ oral stage ลูกจะมีความสุขกับการดูดและการได้กินอิ่ม การที่เด็กวัยนี้เอานิ้วมือเข้าปากเกิดได้จากหลายประการค่ะ ทั้งเป็นช่วงที่ความสนใจของลูกจะอยู่ที่ปากเป็นหลัก ทั้งดูด เลีย ชิม หรือบางครั้งอมทั้งมือก็มี รวมไปถึงการสำรวจนิ้วมือตัวเอง หรืออาการคันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น รวมทั้งใช้แทนการสื่อสารว่า “หนูหิวแล้ว” ก็เป็นไปได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วส่วนใหญ่เด็กมักจะเลิกดูดไปเองได้ในช่วงอายุ 2-4 ปี โดยเฉพาะตอนที่ฟันหน้าบนเริ่มขึ้นและงอกออกมาเต็มซี่ ทำให้ดูดลำบาก เพราะดูดแล้วฟันขบนิ้ว ดังนั้น การดูดนิ้วไม่อันตรายค่ะตราบใดที่นิ้วลูกไม่เปื่อย ไม่เป็นแผล ดูดเป็นครั้งคราว และไม่ดูดไปเรื่อยจนอายุเกิน 3-4 ขวบ หากเกินต้องรีบจัดการให้เลิกได้ค่ะ เพราะอาจมีปัญหาเรื่อง ฟันยื่น ฟันเหยิน และการสบของฟันผิดปกติได้
-
ดูดจุกหลอก
จุกหลอก คือ อุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยป้องกันหรือทดแทนการที่ ลูกดูดนิ้ว ให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย โดยปัจจุบันมีจุกหลอกให้คุณพ่อคุณแม่เลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย ทั้งตามขนาดที่ขึ้นอยู่กับอายุของลูกน้อย และตามวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น ยาง และซิลิโคน และแม้จะเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ แต่จุกหลอกก็อาจมีข้อเสียหากใช้ไม่ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจก่อนใช้งาน เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องว่าจะเลือกใช้จุกหลอกดีหรือไม่ ควรใช้อย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อลูกน้อย หรือควรรอเวลาให้ลูกเลิกดูดนิ้วไปเองตามพัฒนาการ
ทั้งนี้ โดยมากแล้วเด็กๆ มักชอบดูดนิ้วมือมากกว่าจุกหลอก เนื่องจากนิ้วมือเป็นอวัยวะที่อยู่กับตัว ยกขึ้นดูดเมื่อไรก็ได้ หลุดออกจากปากไปก็แค่เอาเข้าปากใหม่ ไม่ร้องไห้ ตรงกันข้าม หากจุกหลอกหลุด ลูกจะร้องไห้โยเยเลยทีเดียว ดังนั้น การดูดนิ้วมือจึงเลิกยากกว่าการดูดจุกหลอก และทำให้ลูกติดดูดนิ้วมากกว่า ซึ่งมีผลต่อโครงสร้างฟันเหมือนกัน นอกจากนี้ การดูดนิ้วมือยังทำให้ลูกได้รับเชื้อโรคมากขึ้นด้วย เพราะมือน้อยๆ นั้นอาจไปหยิบจับ สัมผัสสิ่งต่างๆ แล้วนำเข้าปาก ขณะที่การใช้จุกหลอกคุณแม่สามารถทำความสะอาดก่อนให้ลูกดูดได้
ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ? มีข้อดีข้อเสียอย่างไรต่อลูกน้อย
ขึ้นชื่อว่า “การดูด” อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าถ้าให้ลูก ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม เพราะการดูดนมจากขวดตามปกติ หรือแม้กระทั่งการดูดนมจากเต้าคุณแม่ (แบบไม่ถูกวิธี ให้นมแบบผิดท่า) ก็สามารถทำให้ลูกดูดลมเข้าไปจนส่งผลให้ท้องอืดได้ ดูดจุกหลอก ก็เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะจุกหลอกที่ไม่มีรูระบายอากาศ เนื่องจากรูนี้จะมีส่วนช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวกในขณะที่ลูกน้อยดูดจุกหลอก ทำให้ลมไม่เข้าไปในช่องท้องของลูกมากจนเกินไป ลดความเสี่ยงต่ออาการท้องอืดได้ แล้วนอกจากอาการท้องอืดแล้ว การใช้จุกหลอกยังมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
ข้อดี-ข้อเสียของการ ดูดจุกหลอก | |
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดูดจุกหลอก ให้ได้ประโยชน์ทำยังไง?
สมาคมกุมารแพทย์อเมริกา (AAP) นั้นแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้จุกหลอกในกรณีที่ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดค่ะ เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจกะทันหันขณะหลับ ที่เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบกับเด็กคลอดก่อนกำหนด และมีวิธีการใช้ที่เหมาะสม ดังนี้
- สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ยกเว้นในกรณีที่ลูกดูดนมจากเต้าคุณนมแม่ แนะนำว่าให้รอไปถึง 3-4 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการดูดนมจากอกแม่ แต่หากจำเป็นต้องดูดนมจากขวดตั้งแต่แรกก็สามารถเริ่มใช้จุกหลอกได้ทันทีค่ะ
- เลือกจุกนมหลอกแบบซิลิโคน ที่มีลักษณะเป็นชิ้นเดียว ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และใช้วัสดุที่มีความปลอดภัยเป็นพิเศษ BPA Free ปลอดสารบิสฟีนอล-เอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก
- ฐานของจุกหลอกต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3.8 เซนติเมตร
- ต้องฆ่าเชื้อและรักษาความสะอาดจุกหลอกทุกครั้งด้วยสบู่และน้ำร้อน หากไปได้ควรอบฆ่าเชื้อด้วย UV
- ใช้จุกหลอกที่มีรูระบายอากาศ เพื่อให้อากาศผ่านได้ ลดความเสี่ยงท้องอืด และลดการสะสมของเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการคล้องสายจุกหลอกให้ลูก เพราะอาจทำให้สายรัดหรือพันคอและเป็นอันตรายได้
- ไม่ควรเคลือบจุกหลอกด้วยน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง เพราะจะทำให้ลูกฟันผุ อีกทั้งน้ำผึ้งยังเป็นอันตรายต่อเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี โดยอาจทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาท และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
7 วิธีแก้ ลูกดูดนิ้ว แบบไม่ต้อง ดูดจุกหลอก
อย่างที่บอกค่ะว่า การจะให้เลิกดูดนิ้วนั้นยากกว่าการเลิก ดูดจุกหลอก แต่ก็สามารถเลิกได้เองตามพัฒนาการ ซึ่ง ลูกดูดนิ้ว หรือดูดจุกหลอก ก็ล้วนมีผลต่อปัญหาสุขภาพปากและฟันของลูกเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีอายุเกิน 2 ขวบ ไปจนกระทั่ง 3-4 ขวบแล้วยังไม่ยอมเลิกดูดนิ้ว หรืออยากให้ลูกเลิกดูดนิ้วก่อน 2 ขวบ แบบไม่ต้องพึ่งจุกหลอก เราก็มีวิธีมาแนะนำดังนี้ค่ะ
- เริ่มจากการสังเกตว่า ลูกดูดนิ้ว ตอนไหน และเพราะอะไร เช่น ดูดนิ้วตอนง่วง ตอนหิว หรือช่วงที่เล่นเพลินๆ เพื่อจับจุดการให้ลูกเลิกดูดนิ้วได้ถูกต้องค่ะ
- อย่าดุ บ่น หรือจี้จุดเรื่องการดูดนิ้วค่ะ เพราะคุณพ่อคุณแม่ยิ่งพูด ลูกจะยิ่งดูด ยิ่งเครียด อาจบอกลูกง่ายๆ ว่า “เอานิ้วออกนะคะ” โดยไม่ต้องดุ แค่บอกว่าเราอยากให้ลูกเอานิ้วออก ลูกจะทำตามค่ะ
- เมื่อเห็นลูกดูดนิ้ว ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ดูดนิ้วตอนหิวก็พาไปกินอาหาร ดูดนิ้วตอนง่วงก็พาไปกล่อมนอน หรือหยิบนิทานมาอ่านให้ลูกฟังเมื่อเห็นลูกเริ่มดูดนิ้วก็ได้ค่ะ
- เนื่องจากลูกอยู่ในวัยที่มีความสุขกับการดูด แม้จะดึงออกลูกก็ดูดใหม่ได้อยู่ดี ดังนั้น เมื่อไรที่ลูกทำท่าจะดูดนิ้ว 1 นิ้ว ลองจับนิ้วอื่นๆ ของลูกเพิ่มเข้าปากไปด้วยทุกครั้ง ในที่สุดลูกอาจรำคาญและเลิกเอานิ้วเข้าปากได้เองค่ะ
- หากลูกดูดนิ้วในช่วงที่เหงาหรือกังวล คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความรักโดยการโอบกอดลูกไว้ ให้ความมั่นใจ และเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการดูดนิ้ว ผ่านการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือหรือปาก
- กรณีลูกดูดนิ้วก่อนนอน เพราะพยายามกล่อมตัวเองให้หลับ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้กล่อมให้ลูกหลับโดยการเล่านิทาน ร้องเพลง กอดกันนอนและจับมือลูกไว้ ช่วยได้ค่ะ
- การใส่ถุงมือผ้า หรือการดัดแปลงชุดนอนให้แขนเสื้อยาวมากเกินปกติ เป็นวิธีที่สามารถนำมาช่วยให้ลูกไม่เอานิ้วเข้าปาก โดยเฉพาะตอนนอนได้ค่ะ
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดมือลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ท้องเสียและอาเจียนจากการรับของไม่สะอาดเข้าปาก และหากมือเปื่อยหรือมีแผลให้รีบพาไปพบแพทย์ ดูแลทำความสะอาดแผลให้ดี และเลิกให้ได้จะได้ไม่เป็นแผลเรื้อรังนะคะ… ลูกดูดนิ้ว เลิกยาก แต่เลิกได้ค่ะ!
ที่มา : เลี้ยงลูกตามใจหมอ , www.samitivejhospitals.com , www.pobpad.com , พี่กัลนมแม่
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ทารกมองเห็นตอนไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกมองเห็น พัฒนาการสายตาแบบไหนผิดปกติ
ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารกง่ายๆ
ลูก 1 เดือน กินนมแม่ แต่ไม่ถ่ายหลายวัน ท้องผูกรึเปล่า ผิดปกติไหม