วิธีกระตุ้นสมองทารกแรกเกิด เคล็ดลับความฉลาดของเด็กที่พ่อแม่ช่วยได้!

วิธีกระตุ้นสมองทารกแรกเกิด ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด อยากให้ลูกฉลาด มีพัฒนาการที่ดี เรียนรู้ไว เรียนหนังสือเก่ง จริงๆ แล้วพ่อแม่ช่วยได้นะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีกระตุ้นสมองทารกแรกเกิด

สมองของเด็กเล็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 5 ขวบปีแรก โดยเฉพาะสามปีแรกมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการพัฒนาความรู้ทางด้านสังคม อารมณ์ และการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ในช่วงประมาณ 15-18 เดือน และจะมีการเรียนรู้คำศัพท์อย่างรวดเร็วไปจนถึงก่อนวัยเรียน มาดู วิธีกระตุ้นสมองทารกแรกเกิด กันดีกว่าค่ะ

สมองของลูกน้อยพัฒนาขึ้นได้อย่างไร

สมองของลูกน้อยจะมีการเจริญเติบโตขึ้นไปตามสิ่งที่เขารู้สึก ได้กลิ่น ได้ยิน หรือแม้แต่การรับรส เนื่องจากทุกครั้งที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสหนึ่งอย่าง จะมีการเชื่อมต่อประสาทในสมองของเด็กไปด้วย เมื่อเด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ซ้ำๆ หลายครั้งเข้า ก็จะทำให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึก และการเรียนรู้

วิธีช่วยให้พัฒนาการทางสมองของเด็ก

 

 

ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อย เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ช่วยในการบำรุงสมองของทารกให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่พ่อแม่ร้องเพลง เล่นกับลูก อ่านหนังสือ หรือแม้แต่เล่านิทานให้ลูกน้อยฟัง พร้อมๆ กับดูแลเรื่องสุขภาพและอาหารหารกินก็ช่วยได้มากค่ะ การที่พ่อแม่มอบความรักให้แก่ลูกน้อย จะช่วยให้สมองของทารกเจริญเติบโตได้ดี หากลูกน้อยมีสุขภาพที่ดี มีปฎิสัมพันธ์กับพ่อแม่อย่างต่อเนื่องภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย จะส่งผลต่อศักยภาพที่ดีของเด็กในอนาคตได้เป็นอย่างมาก

สำหรับในช่วงขวบปีแรก พ่อแม่อาจแสดงความรักต่อลูกน้อยด้วยการโอบกอดบ่อยๆ และพูดคุยเป็นประจำเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง และส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เนื่องจากการที่เด็กได้อยู่ใกล้แม่ และไม่รับการโอบกอดระหว่างที่แม่ให้นม จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกถึงความมั่นคงทางด้านอารมณ์ค่ะ

หากลูกร้องไห้โยเยบ่อยๆ ในช่วงแรกคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเด็กเพียงแค่ต้องการที่จะสื่อสารกับคุณเท่านั้น และหากคุณรู้สึกว่าลูกร้องไห้เมื่อไหร่ก็ให้อุ้มลูกขึ้นมา และพูดคุยกับเขา เพื่อให้ลูกสงบและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพวกเขาด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างใกล้ชิดดีอย่างไร

การสร้างความผูกพันที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูกอย่างแนบชิด จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถพัฒนาความสามารถที่หลากหลายได้ ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทักษะที่ดีไปตลอดชีวิต โดยพัฒนาการเหล่านั้น ได้แก่

  • การเรียน
  • ความมั่นใจในตนเอง และความภูมิใจในตนเอง
  • มีทักษะทางสังคมในเชิงบวก
  • มีความสัมพันธ์ที่ดีที่อาจช่วยให้ประสบความสำเร็จในอนาคต
  • มีพัฒนาการทางด้านความรู้สึก การเอาใจใส่

 

สมองของเด็กพัฒนาไปรูปแบบไหน

เมื่อสมองของเด็กมีพัฒนาการที่ดี เด็กจะเริ่มแสดงด้านอารมณ์ที่ดีขึ้น ลูกน้อยจะเริ่มรู้สึกถึงความผิดหวัง และเริ่มที่จะมีความต้องการเป็นของตัวเอง อาจมีอาการกลัวคนแปลกหน้าหรือไม่คุ้นชินกับสถานที่แปลกใหม่ เริ่มรู้สึกถึงอารมณ์ที่อยากหัวเราะ การเพิกเฉย โกรธ เขินอาย หรือแม้แต่ไม่แสดงอารมณ์ หากลูกมีอารมณ์แบบนี้ พ่อแม่ต้องพยายามอดทน และต้องเข้าใจลูกด้วยว่าเป็นวัยที่ลูกจะแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมา การลงโทษลูกมากเกินไปอาจทำให้เด็กเกิดความเครียดเอาได้ ดังนั้น แนะนำให้ใช้วิธีจัดการกับพฤติกรรมของลูกแบบเชิงบวกจะดีกว่าค่ะ

หากเด็กถูกลงโทษทางร่างกายหรือทางคำพูดที่รุนแรง ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณ หรืออยู่ในครอบครัวที่ชอบใช้ความรุนแรง อยู่ในครอบครัวที่มีความเจ็บป่วยทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือผู้ที่ติดยาเสพย์ติด เมื่อลูกเครียดมากๆ อาจทำให้สมองของเด็กที่กำลังพัฒนาเกิดความล่าช้าทางด้านสติปัญหา สัใคม และอารมณ์ลงได้ สุดท้ายแล้วอาจนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมในวัยเรียนในที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กผู้ชายกับเด็กผู้หญิงมีความแตกต่างกันไหม

เด็กไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย จะมีความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ ความต้องการทางด้านสังคม และรู้สึกมีความรู้สึกที่เหมือนกัน เด็กต้องการความรัก ความสนใจไม่ได้แตกต่างจากกันเลย แังนั้น พ่อแม่ควรจะเอาใจใส่ลูก กระตุ้นให้ลูกเกิดการเรียนรู้ การสำรวจให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนที่จะเข้าเรียนค่ะ

บทบาทของพ่อแม่มีความสำคัญมาก เพราะต้องมอบความรัก ความเอาใจใส่ ไหนจะเรื่องของคุณภาพชีวิต การศึกษาให้กับลูก เพราะว่าทุกช่วงชีวิตของลูกมักมีพ่อแม่ที่คอยสนับสนุนอยู่ตลอดค่ะ

ที่มา: factsforlifeglobal

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

--------------------------------------------------------------------------------------------

วิธีฝึกลูกกินผัก ทำอย่างไร ฝึกกินผัก ต้องเริ่มตอนอายุเท่าไหร่

 

เทคนิคฝึกลูกกินผัก ผักกินง่ายชนิดไหนควรเริ่มเป็นมื้อแรกๆ

วิธีฝึกลูกกินผัก โตไปกินผักได้เอง ไม่มีเขี่ย ไม่ต้องเสียแรงบังคับกินผักตอนโต ลูกจะได้สุขภาพแข็งแรง เพื่อป้องกันลูกดราม่า เลือกกิน ก่อนทารกจะกลายเป็นเด็กกินยาก ต้องฝึกกินผักตั้งแต่เล็ก ๆ ก่อนลูกจะโตไปไม่กินผัก

 

เคล็ดลับการฝึกลูกให้ทานผักตั้งแต่วัยทารก มาฝึกลูกกินผักกันนะแม่

ผักเป็นหนึ่งในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก แต่เด็ก ๆ มักไม่ชอบทานผัก อาจเพราะไม่ถูกใจในรสชาติที่ไม่ได้อร่อยเหมือนกับขนม ประกอบกับไม่ได้ฝึกลูกกินผัก ไม่ได้ให้ทานตั้งแต่เล็ก การจะฝึกนิสัยให้ลูกทานผักได้ดีควรเริ่มตั้งแต่วัยทารก หมอมีเคล็ดลับเป็นขั้นตอนง่าย ๆ มาฝากให้คุณพ่อคุณแม่เป็นแนวทางไปปรับใช้กับลูกน้อยในการเริ่มทานผักตั้งแต่วัยทารก วิธีฝึกลูกกินผักเพื่อสุขภาพที่ดีดังนี้ค่ะ

 

1. วิธีฝึกลูกกินผักต้องเริ่มจากครอบครัว

คุณพ่อคุณแม่ควรทานผักให้ลูกดูเป็นตัวอย่างที่ดีสม่ำเสมอ โดยคุณแม่สามารถทานผักให้หลากหลายในช่วงให้นมลูกเพราะลูกจะสามารถได้รับบางส่วนของกลิ่นหรือรสชาติของผักที่แม่ทานผ่านมากับน้ำนมแม่ตั้งแต่ก่อนเริ่มทานอาหารตามวัย ก็จะคุ้นเคยและสามารถรับอาหารที่เป็นผักได้ง่ายขึ้น และลูกก็จะได้เห็นคุณแม่ทานผักทุกวัน ลูกก็จะอยากทานด้วยเมื่อถึงวัยที่สามารถเริ่มทานอาหารได้ โดยซึมซับตัวอย่างที่ดีจากคุณพ่อและคุณแม่ทีละน้อย

 

2. ฝึกลูกกินผักหลัง 6 เดือน

เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือน ที่ถึงเวลาเริ่มอาหารตามวัยคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ลูกทานผักไปพร้อมกับ อาหารอื่น ๆ โดยต้มผักให้เปื่อยหรือบดให้ละเอียด เลือกผักใบเขียวที่มีโอกาสแพ้น้อยและรสชาติไม่ขม เช่น ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง อาจเริ่มทีละ 1 ชนิดทุก 3 ถึง 5 วัน เมื่อลูกอายุใกล้ 1 ขวบจึงค่อยเริ่มให้ทานผักที่อาจทำให้เกิด เช่น ดอกกะหล่ำหรือกะหล่ำปลี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ฝึกลูกกินผักที่กินง่าย ๆ

เมื่อลูกเริ่มเคี้ยวได้เก่งควรเริ่มให้ทานผักต้มสุกให้นิ่ม ใส่น้ำแกงเพิ่มรสชาติให้อร่อย และอาจหั่นผักที่มีรสชาติหวาน มีสีสันสวยงามดึงดูดใจ เช่น แครอทหรือแตงกวา ให้ลูกได้ทานเล่น แล้วค่อย ๆ เพิ่มชนิดของผักให้หลากหลายขึ้นในแต่ละมื้ออาหาร

 

4.ฝึกลูกกินผักในวัย 1-3 ปี

ในช่วงวัยที่ลูกเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและอาจมีปัญหาทานยากและเลือกทานอาหาร คือในช่วงอายุ 1-3 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกทานผักต่อไปโดยใส่เข้าไปในอาหารที่มีหน้าตาดึงดูดใจ หรือทำอาหารให้เป็นรูปการ์ตูนและสัตว์ต่าง ๆ ที่ลูกสนใจ โดยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกได้เคี้ยวง่าย เช่น ใส่แครอทท่อนเล็ก ๆ เป็นปากของตัวการ์ตูนที่ยิ้ม ใส่แตงกวาไปเป็นคิ้ว เป็นต้น โดยหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกได้เคี้ยวง่ายและไม่เลือกผักที่มีกลิ่นฉุน เพราะลูกอาจมีประสบการณ์อันเลวร้ายในการทานผักนั้นแล้วไม่ยอมทานผักทุกชนิดไปเลย

 

5.ฝึกลูกกินผักให้ได้ทุกมื้อ

ควรจัดสิ่งแวดล้อมระหว่างการทานอาหารให้เอื้อต่อการทานผักของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมกันทานผักเป็นประจำบนโต๊ะอาหารให้ลูกดูเสมอขณะทานอาหารร่วมกัน ทุกมื้ออาหารควรมีผักเป็นส่วนประกอบของการทาน ชักชวนการทานผักทั้งครอบครัว โดยคุณพ่อคุณแม่ทานแล้วพูดร่วมกับแสดงท่าทางให้ลูกเห็นว่าผักนั้นอร่อยมาก อีกทั้งชมเชยลูกเมื่อทานผักเก่ง

 

6.ให้ลูกมีส่วนร่วม

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นและสามารถช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้เขามีส่วนร่วมในการทานผักตั้งแต่การลองปลูกผักสวนครัวเองที่บ้าน ให้ลูกช่วยเลือกผักต่าง ๆ ที่จะมาทานกันในบ้านตอนที่คุณแม่ไปช้อปปิ้งจ่ายตลาด ให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำกับข้าวที่เป็นผักตั้งแต่การล้างผัก เด็ดผัก หั่นผัก จัดผักใส่จาน และยกออกมาทานกัน ภายใต้การดูแลของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้ลูกได้คุ้นเคยกับผักชนิดต่าง ๆ และได้ลงมือทำอาหารจากผักด้วยตนเอง ลูกก็จะภูมิใจและอยากทานผักมากขึ้น

 

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกทานผัก แต่ควรใช้หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวก คือชมเชยเมื่อลูกได้ทำดี ทานผักเก่ง และเปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกผักที่ลูกชอบมาทานเอง รวมถึงมีส่วนร่วมในการทำอาหารจากผัก ก็เป็นวิธีฝึกลูกกินผักนะคะ

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

งานบ้านพัฒนาสมองกว่าการบ้าน ฝึกสมองลูกให้ฉลาด มีวินัย สร้างระเบียบด้วยการช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการสมองของทารกที่คนท้องต้องรู้!

เมนูอาหารลูกน้อยวัย 4 – 12 เดือน รวมตัวอย่างเมนูอาหารทารก พร้อมวิธีทำง่ายๆ

บทความโดย

Khunsiri