คุณแม่ Kratai Katesara Nutteesri ได้โพสต์ข้อความเพื่อเป็นการเตือนใจคุณแม่ผ่านเพจดังอย่าง “คนท้องคุยกัน” เกี่ยวกับการเอาลูกเข้าเต้านาน
น้องจิโร่ อายุ 3 เดือน 10 วัน หนัก 7,410 กรัม ต้องนอนโรงพยาบาลนานถึง 4 วัน สืบเนื่องจากการทานนมแม่เยอะสะสมมาก ซึ่งทำให้คุณแม่ไม่สามารถกะปริมาณน้ำนมเวลาที่เอาน้องเข้าเต้าได้ พอทานมาก ๆ ในทุกมื้อ ทำให้ลำไส้ไม่ย่อยและอาเจียนอย่างหนัก จนถึงขั้นที่คุณหมอจำต้องเอ็กซเรย์กระเพาะอาหารเลยทีเดียว
ตอนแรกคุณหมอคิดว่า น้องจิโร่ น่าจะป่วยติดเชื้อไวรัส อยู่มาสี่วัน ถึงหาสาเหตุของการอาเจียนพบ และให้การรักษาด้วยการให้ทานนมแม่จากขวด ครั้งละ 2 ออนซ์ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ตอนนี้น้องดีขึ้นและสามารถออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว แต่ยังคงต้องให้ยาปฏิชีวนะอยู่ และตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลกลับมาบ้าน ก็ต้องให้นมแม่จากขวดตามที่คุณหมอแนะนำไปก่อน หรือถ้าจะเอาน้องเข้าเต้าก็ต้องปั๊มออกก่อน แล้วจับเวลาไม่ให้ดูดนานเกิน 20 นาที
คุณแม่ Kratai Katesara Nutteesri อยากฝากถึงคุณแม่ทุกคนว่า “ให้รักลูกให้ถูกวิธี อย่าตามใจลูก เป็นแม่ต้องใจแข็ง มีระเบียบวินัยในการให้ลูกทานนม การที่ลูกร้องไม่ใช่เอาแต่จะเอาเข้าเต้าแต่เพียงอย่างเดียว ให้หาสาเหตุของการที่ลูกร้องด้วย และไม่อยากให้เอาน้องเข้าเต้าบ่อย ๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกเสียนิสัยในการกิน และมีผลอันตรายในระยะยาวได้ ถ้าหากให้ลูกนอนเลยหลังจากทานนม โดยที่ไม่ให้เรอ ก็อาจจะเป็นเหมือนน้องจิโร่ได้”
ขอขอบคุณคุณแม่ Kratai Katesara Nutteesri และเพจคนท้องคุยกัน มาก ๆ นะคะ สำหรับข้อมูลดี ๆ หากคุณแม่ท่านไหนมีเรื่องราวที่ต้องการแชร์หรือแบ่งปันประสบการณ์เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจ หรืออุทาหรณ์ก็สามารถติดต่อเพจได้เลยนะคะ
จะรู้ได้อย่างไรนะ ว่าลูกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอหรือไม่ คลิกอ่านได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
จะรู้ได้อย่างไรนะ ว่าลูกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอหรือไม่ สามารถดูได้จากสัญญาณดังนี้ค่ะ
สัญญาณบ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ
คุณแม่ลองสังเกตง่ายๆโดยทั่วไป ถ้าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ เขาจะคายหัวนมออกเมื่ออิ่มแล้ว แต่บางครั้ง ลูกอาจหยุดดูดระหว่างที่กินนมแม่ ดังนั้นจึงควรให้เวลาลูกตัดสินใจว่าพอหรือไม่
คุณแม่จะสังเกตว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอได้จาก
• ลูกมีท่าทางพอใจหลังจากเวลาการกินนมใกล้สิ้นสุดลง
• ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังผ่านไปสองสัปดาห์แรก
• คุณไม่รู้สึกเจ็บที่เต้านมและหัวนมจนเกินไป
• รู้สึกว่าเต้านมโล่งและเบาขึ้นหลังจากให้ลูกกินนม
• ลูกมีสีผิวที่แสดงถึงการมีสุขภาพดีและผิวตึงกระชับโดยเมื่อกดลงไปผิวลูกจะเด้งขึ้น
• หลังจากผ่านไปสองถึงสามวันแรก ลูกควรจะฉี่อย่างน้อยหกครั้งต่อวัน
• หลังจากนั้น 2-3 วัน ลูกควรจะอึอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยมีสีเหลืองหรือสีคล้ำ และสีเริ่มอ่อนลงหลังจาก 5 วันผ่านไป
สัญญาณบ่งบอกว่าลูกอาจต้องการนมเพิ่ม
หากลูกน้อยไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ คุณแม่สังเกตได้จากสัญญาณอาการต่อไปนี้
• ลูกดูไม่กระปรี้กระเปร่าและร้องกวนตลอดเวลา รวมทั้งหงุดหงิดหลังจากกินนมแล้ว นอกจากนี้ยังดูเหมือนลูกจะไม่พอใจและไม่ร่าเริง
• ขณะกินนม ลูกดูดเสียงดังจ๊วบๆ หรือคุณไม่ได้ยินเสียงกลืน ซึ่งแสดงว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธี
• ผิวของลูกมีสีเหลืองขึ้น
• ผิวลูกยังดูย่นอยู่หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์
• หากคุณแม่กังวลว่าลูกน้อยไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ ลองให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น และควรอุ้มลูกไว้แนบตัว ถ้าลูกยังอยากกินนมอีก เขาจะหันหน้าเข้าหาเต้านมเอง
• บางครั้งคุณแม่อาจพบว่าลูกยังหงุดหงิด งอแง เหมือนยังไม่อิ่มนม แม้จะลองให้นมถี่ขึ้นแล้ว หากเป็นกรณีนี้ คุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ลูกไม่อิ่มนมหรือการได้ รับน้ำนมไม่เพียงพอ
• เมื่อลูกอายุเกิน 4 เดือนหรือ 6 เดือน ร่างกายของลูกเริ่มเติบโตขึ้นและพร้อมที่จะรับอาหารเสริมได้ตามวัย ทั้งนี้คุณแม่ยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ต่อได้อย่างเต็มที่ควบคู่ไปกับอาหาร ตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก
ขอบคุณที่มาจาก: คนท้องคุยกัน
ระวัง! หากคิดซื้อนมแม่ออนไลน์
อันตรายถึงชีวิต!! ถ้าลูกสำลักนมแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!