อุณหภูมิร่างกายลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในวัยเตาะแตะ การตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกายลูกอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถตรวจสอบได้เบื้องต้นว่าลูกของเราปกติ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะไม่สบายหรือไม่ ลูกเป็นไข้หรือเปล่า เพื่อที่จะสามารถดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
อุณหภูมิร่างกายลูก ที่ปกติควรกี่องศา
โดยปกติทารกหรือเด็กเล็ก จะมีอุณหภูมิร่างกายปกติเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 36.6 – 37.2 องศาเซลเซียส แต่หากมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.6 – 38.4 องศาเซลเซียส แสดงว่าเด็กมีไข้ต่ำ และหากสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะจัดว่ามีไข้สูง ซึ่งควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน
สาเหตุอะไรที่ทำให้ อุณหภูมิร่างกายลูก สูงขึ้น
- เป็นไข้ โดยอาการไข้มักเกิดจากการติดเชื้อหรือความเจ็บป่วยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค
- ร่างกายของลูกกำลังสร้างภูมิคุ้มกัน หลังจากได้รับวัคซีน ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคนั้น ๆ ขึ้นมา ทำให้เด็กอาจมีไข้อ่อน ๆ ได้
- สภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในที่อากาศร้อน อบอ้าว หรือตากแดดมากเกินไป ก็ทำให้ร่างกายลูกมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้เช่นกัน
- เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมที่ลูกใส่หนาเกินไป หรือมีการระบายเหงื่อและอากาศที่ไม่ดี พ่อแม่บางคนอาจจะชอบจับลูกแต่งตัว จนลืมไปว่า เสื้อผ้าบางอย่าง ใส่แล้วหนาและเยอะเกินไป ซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับสภาพอากาศบ้านเราที่ค่อนข้างร้อนและชื้น ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และมีเหงื่อออกเป็นประจำ ทำให้เกิดการอับชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการระคายเคืองและความไม่สบายตัว หรือการที่ผ้าอ้อมระบายเหงื่อและระบายอากาศได้ไม่ดี ก็ส่งผลทำให้อุณหภูมิในผ้าอ้อมของลูกน้อยเพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน
วิธีดูแลแก้ไขเบื้องต้น เมื่อ อุณหภูมิร่างกายลูก สูงขึ้น
เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้ดูแลลูกเบื้องต้น สามารถทำได้แตกต่างกันตามอาการหรือสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
- กรณีที่ลูกตัวร้อนขึ้นเพราะเป็นไข้
หากลูกมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเหมือนมีไข้ แต่ไข้ไม่สูงมาก สังเกตจากการที่ลูกยังทานนม กินอาหาร หรือเล่นสนุกได้โดยไม่อึดอัดหรือไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้น โดยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น เช็ดตั้งแต่ปลายเท้าไปสู่ต้นขา และพักผ้าไว้บริเวณหน้าผาก ซอกคอ ใต้รักแร้ และขาหนีบ เพื่อระบายความร้อน และอาจต้องเช็ดตัวซ้ำอีกครั้งหากอุณหภูมิยังไม่ลด และที่สำคัญห้ามให้อาบน้ำเย็นอย่างเด็ดขาด
- กรณีที่ลูกมีไข้สูงขึ้น จนลูกไม่สบายตัว
คุณพ่อคุณแม่อาจให้กินยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล โดยต้องใช้ยาอย่างระมัดระวัง เช่น ห้ามให้เด็กที่มีอายุไม่ถึง 2 เดือนใช้ยาใด ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ และห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้ยาแอสไพริน
- กรณีที่ลูกอุณหภูมิสูงขึ้น จนเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำได้
หากร่างกายมีอุณหภูมิสูงจะเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ซึ่งจะมีอาการ ปากแห้ง ตาโบ๋ ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะน้อยลง เป็นต้น หากลูกโตเกิน 6 เดือน สามารถดื่มน้ำได้แล้ว ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ อีกทั้งยังช่วยให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกดื่มน้ำเยอะ อาจทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหาร พ่อแม่ไม่ต้องกังวลมากไป เพราะหากอาการดีขึ้น ก็จะกลับมาอยากอาหารตามปกติ
- กรณีที่ลูกมีอาการอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย
อาจสอบถามแพทย์เกี่ยวกับการใช้เกลือแร่สำหรับเด็กโดยเฉพาะ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเกลือแร่ที่ใช้ทดแทนการเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เพราะมีส่วนผสมของน้ำตาล และอาจทำให้อาการท้องเสียแย่ลง
- กรณีอุณหภูมิสูงเพราะเสื้อผ้า และอากาศ
บ่อยครั้งเวลาลูกเจออากาศร้อน อุณหภูมิร่างกายก็สูงขึ้น และเริ่มมีเหงื่อออกจนอับชื้น หรือแม้แต่นอนตากแอร์มาก ๆ ก็เหงื่อออกได้เช่นกัน ดังนั้น ไม่ควรให้ลูกสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป ควรเน้นสวมใส่สบาย และให้นอนพักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เย็นสบาย แต่ไม่หนาวจนเกินไป และหากลูกยังเป็นวัยที่ต้องใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป อย่ามองข้ามอุณหภูมิภายในผ้าอ้อมเชียว เพราะการปัสสาวะ การขยับตัว หรือแม้ลูกน้อยนอนเฉย ๆ ก็สามารถทำให้เกิดความร้อนและเหงื่อภายในผ้าอ้อมได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีฟังก์ชันการระบายเหงื่อ ระบายอากาศได้ดี หรือมีการเปลี่ยนผ้าอ้อมระหว่างวันเพิ่มขึ้น เพื่อลดการอับชื้นที่อาจจะเกิดขึ้น
เลือกผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปอย่างไร ที่จะช่วยลด อุณหภูมิร่างกายลูก (ภายในผ้าอ้อม) ให้ลูกน้อยเย็นสบายตัวได้ทั้งวันแบบไม่ต้องพักผิว
อย่างที่ได้บอกไปในตอนแรกแล้วว่า เสื้อผ้าและผ้าอ้อมที่ลูกสวมใส่ ก็มีผลต่ออุณหภูมิร่างกายของลูกที่สูงขึ้นได้เหมือนกัน หรือแม้แต่กรณีที่ลูกเป็นไข้ เมื่อไข้ลด ร่างกายระบายความร้อนออกมาผ่านทางเหงื่อ จึงทำให้ลูกน้อยมีเหงื่อออกเยอะมากกว่าปกติ ดังนั้น การให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่สบายตัว ไม่หนาแน่น หรืออึดอัดเกินไปก็จะเป็นผลดีอย่างมาก
รวมไปถึงผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปที่เหมาะกับลูกน้อย โดยเฉพาะในสภาพอากาศในบ้านเราที่มีอากาศร้อนชื้นสูง ผ้าอ้อมที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ช่วยระบายเหงื่อ ช่วยลดความอับชื้น และเพิ่มความแห้งสบาย ให้ผิวลูกน้อยไม่เหนียวเหนอะหนะ และอารมณ์ดีตลอดวัน อย่าง มามี่โพโค แพ้นท์ พรีเมี่ยม เอ็กซ์ตร้า ดราย (MamyPoko Pants Premium Extra Dry) ซึ่งมาพร้อมกับนวัตกรรมล่าสุดครั้งแรกในไทยจากมามี่โพโค ที่คิดค้นมาเพื่อลูกน้อยและสนับสนุนการเลี้ยงลูกให้เป็นเรื่องง่ายกับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่
- ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปแบบกางเกงที่สามารถลดอุณหภูมิภายในผ้าอ้อมได้ถึง 2 องศา* เพราะมี ขอบเอวระบายเหงื่อ (Sweat Ventilation Waistband) ดูดซับเหงื่อที่เกิดขึ้นภายในผ้าอ้อมและระบายออกได้อย่างรวดเร็ว ให้ผิวลูกน้อยเย็นสบาย แห้งไม่รู้สึกเหนียวเหนอะหนะ
- แผ่นซึมซับ สปีด แอร์ เวฟ (Speed Air Wave) ซึมซับปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ผิวหน้าแห้ง คลายกังวลเรื่องความเปียกชื้น อีกทั้งยังซึมซับได้มากถึง 6 แก้ว หรือ ยาวนาน 12 ชั่วโมง**
- ขอบขา เพอร์เฟค ล็อก (Perfect Lock) ในไซซ์ S-M และ ดับเบิ้ล ล็อก (Double Lock) ในไซซ์ L-XXXL ที่นุ่ม กระชับขาได้อย่างอ่อนโยน ป้องกันการรั่วซึมจากด้านข้าง ลูกน้อยสบายตัวทุกการเคลื่อนไหว
- ขอบเอวรูระบายอากาศ ช่วยระบายความอับชื้นจากภายในสู่ภายนอกได้ 360 องศา^
ที่สำคัญยังมีความอ่อนโยนและปลอดภัยต่อผิวของลูก เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง^^ แบบกางเกงมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ไซซ์ S – XXXL มีลวดลายแยกชาย-หญิง ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย
ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดนี้ของ มามี่โพโค แพ้นท์ พรีเมี่ยม เอ็กซ์ตร้า ดราย โดยเฉพาะนวัตกรรมที่น่าสนใจและแปลกใหม่อย่าง ขอบเอวระบายเหงื่อที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในผ้าอ้อมได้มากถึง 2 องศา ทำให้เป็นผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปที่เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทยมาก ๆ ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ผิวของลูกน้อยก็แห้ง เย็นสบายตัวได้ ไม่เหนียวเหนอะหนะ คุณพ่อคุณแม่สามารถมั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะรู้สึกสบายตัว อารมณ์ดีตลอดทั้งวัน หลับสนิทตลอดคืน แม้จะใส่ต่อเนื่องแบบไม่พักผิวก็ตาม
ช้อปออนไลน์ง่าย ๆ คลิกเลย
คิดถึงรอยยิ้มเจ้าตัวเล็ก #คิดถึงมามี่โพโค #MamyPokoThailand #ผ้าอ้อมลดอุณหภูมิ #PremiumExtraDry
* ผลทดสอบในห้องปฏิบัติการของฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ยูนิชาร์ม คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มามี่โพโครุ่นก่อน * ผลการระบายความร้อนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการใช้งาน
** ปริมาณและระยะเวลาการซึมซับ ขึ้นอยู่กับปริมาณปัสสาวะของลูกน้อยแต่ละคน
^ การระบายอากาศเกิดจากรูเล็ก ๆ รอบขอบเอวและแผ่นฟิล์มรอบตัวผ้าอ้อม
^^ จากผลการทดสอบในกลุ่มทดลองโดยบริษัท Dermscan Asia ไม่รวมถึงการระคายเคืองส่วนบุคคลและการใช้ผ้าอ้อมเป็นเวลานาน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!