ปั๊มนมเป็นเลือด อันตรายมั้ย ลูกกินได้หรือเปล่า

การปั๊มนมเป็นเลือดเกิดขึ้นได้ค่ะ และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางครั้งลูกน้อยยังสามารถกินนมนั้นได้ แต่บางกรณีนมที่ปนเลือดนี้คุณแม่ก็ต้องทิ้งค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาจมีบางช่วง บางเวลา ที่คุณแม่พบว่าน้ำนมออกมาเป็นสีชมพู หรือสีแดง อาจเป็นเพราะน้ำนมที่ปั๊มออกมานั้นมีเลือดปนมาด้วย ซึ่งแน่นอนค่ะ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในรูปแบบที่ “ไม่เหมือนเดิม” หรือ “ผิดแปลกไป” ย่อมทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจมาก แต่กรณีนี้อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ เพราะเป็นการปั๊มนมเป็นเลือดนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุหลายปัจจัย มาดูกันค่ะว่า ปั๊มนมเป็นเลือด อันตรายมั้ย ลูกกินได้หรือเปล่า แล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

สาเหตุที่คุณแม่ ปั๊มนมเป็นเลือด

ภาวะที่มีเลือดอยู่ในน้ำนมสามารถพบได้ในคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกค่ะ โดยสังเกตได้จากสีของนมที่ปั๊มออกมา หรือบางครั้งอาจรู้ได้จากการที่ลูกน้อยแหวะนมผสมเลือดออกมา หรือเห็นเลือดในอุจจาระของลูก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการปั๊มนมเป็นเลือดมีดังนี้

  • ภาวะ Rusty pipe syndrome

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว คุณแม่บางคนในช่วงแรกของการให้นมจะมีน้ำนมสีชมพู ส้ม น้ำตาล หรือสีสนิม ซึ่งมาจากมีเลือดปริมาณน้อย ๆ ผสมอยู่กับ colostrum โดยที่คุณแม่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ และอาจเกิดเต้าเดียวหรือสองเต้าก็ได้ เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมสร้างน้ำนม มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น เลือดบางส่วนจึงค้างอยู่ในท่อน้ำนม ทำให้มีเลือดปนออกมากับน้ำนมนั่นเอง ซึ่งกรณีนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะเป็นภาวะที่ดีขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

  • เส้นเลือดฝอยฉีกขาดจากการใช้เครื่องปั๊มนม

เกิดจากการใช้เครื่องปั๊มนมผิดวิธี ขนาดของกรวยปั๊มนมไม่พอดี ใช้แรงในการปั๊มสูงเกินไป หรือปั๊มนมบ่อย จนส่งผลให้เต้านมระบมและเกิดการบาดเจ็บ เส้นเลือดฝอยในเต้านมฉีกขาด น้ำนมที่ปั๊มได้มีจึงมีเลือดปนออกมา

  • การบาดเจ็บที่หัวนมและลานนม

อาการที่พบได้บ่อย หัวนมแตก (Cracked nipple) มีผื่น แผล รอยกัด จึงทำให้มีเลือดปนออกมา มักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เนื่องจากลูกน้อยยังไม่รู้จังหวะเข้าเต้า หรือคุณแม่อาจยังจัดท่าให้นมไม่ถูกต้องนัก ซึ่งรอยแผลที่เกิดขึ้นจะส่งผลแรงดูดจากเครื่องปั๊มทำให้มีเลือดปนออกมาผสมกับน้ำนมได้ โดยส่วนใหญ่ถ้ารักษาแผลหายเลือดก็จะหายไป

  • ท่อน้ำนมอุดตัน

การมีภาวะท่อน้ำนมอุดตัน อาจทำให้เต้านมเกิดการอักเสบและมีเลือดออกได้

  • ต่อมน้ำนมอักเสบ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในต่อมน้ำนม โดยการมีเลือดปนออกมาเป็นอาการหนึ่งของภาวะนี้ นอกจากนี้ยังมีภาวะเต้านมอักเสบ มีการติดเชื้อขึ้นภายในเต้านม มีอาการปวด บวม แดงร้อน มีไข้ร่วมด้วย

  • เนื้องอกในท่อน้ำนม (Intraductal papilloma)

กรณีมีเลือดออกจากหัวนมโดยที่ไม่มีประวัติมีแผลหรือบาดเจ็บที่หัวนม ต้องคำนึงถึงภาวะเนื้องอกในท่อน้ำนมไว้ด้วย กรณีนี้ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ให้แน่ใจ และไม่ควรให้ลูกกินนมที่มีเลือดปน เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคบางชนิดที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านทางน้ำนมได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม อาจยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยทำให้คุณแม่ปั๊มนมเป็นเลือดได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นและอันตรายหากคุณแม่ละเลย นั่นคือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งที่หัวนมและลานนม (Paget’s disease) ซึ่งอาจจะมีอาการเลือดออกจากหัวนม มีก้อนที่เต้านม หรือมีแผลเรื้อรังที่หัวนมและลานนม

ปั๊มนมเป็นเลือด น้ำนมมีเลือดปน ลูกกินได้หรือเปล่า

สำหรับคำถามว่า ปั๊มนมเป็นเลือด น้ำนมมีเลือดปน ลูกกินได้หรือเปล่า ต้องบอกว่าหากน้ำนมที่ปั๊มออกมากมีเลือดปนไม่มาก สีของน้ำนมจะมีสีชมพูอ่อน ๆ คล้ายนมเย็น กรณีนี้สามารถให้ลูกกินได้ค่ะ แต่ควรให้กินทันที ไม่แนะนำให้แช่เย็นหรือเก็บเป็นสต๊อก แต่ถ้าน้ำนมมีสีชมพูเข้ม หรือสีแดง แนะนำว่าควรทิ้ง เพราะมีส่วนผสมของเลือดในน้ำนมมากเกินไป อาจมีกลิ่นคาวและรสเค็มจัดค่ะ

น้ำนมมีเลือดปน ลูกกินได้หรือเปล่า

สีของน้ำนมที่ปั๊ม กิน เก็บ
มีเลือดปน เป็นสีชมพูอ่อน ๆ
มีเลือดปน เป็นสีชมพูเข้ม

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ต้องต้องใจกับการมีเลือดออกขณะปั๊มนมให้ลูกจนไม่อยากให้ลูกกินนมแม่นะคะ เพราะไม่ใช่ภาวะที่จะเกิดกับทุกคน ดังนั้น หากเต้านมข้างหนึ่งไม่มีปัญหาปั๊มนมแม่แล้วมีเลือดปนออกมา คุณแม่ยังสามารถปั๊มนมอีกเต้าหนึ่งแทนไปก่อน เพื่อให้ได้น้ำนมสีขาวให้ลูกน้อยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รับมือยังไง? เมื่อคุณแม่ ปั๊มนมเป็นเลือด

หากคุณแม่ปั๊มนมเป็นเลือดโดยที่ไม่ได้มีแผลที่หัวนม อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่เส้นเลือดฝอยฉีกขาด หรือเปิดเครื่องปั๊มนมแรงไป ซึ่งวิธีแก้ง่าย ๆ ก็คือ ให้หยุดปั๊มนมก่อน แต่ยังคงให้ลูกกินนมแม่ตามปกติ โดยเปลี่ยนเป็นการบีบนมด้วยมือประมาณ 1-2 วัน พอเลือดหยุดออกก็สามารถปั๊มนมได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม มีวิธีรับมือการปั๊มนมเป็นเลือดจากสาเหตุต่าง ๆ เพิ่มเติมดังนี้

  • หากกลับมาปั๊มนมได้แล้ว ควรปรับขนาดของกรวยปั๊มนมให้เหมาะสม และลดแรงปั๊มจากเครื่องปั๊มลง แต่หากลดแล้วรู้สึกว่าปั๊มไม่เกลี้ยงเต้า ให้ใช้การบีบมือตามหลังจากการปั๊มค่ะ
  • ถ้าการมีเลือดปนออกมากับน้ำนมเกิดจากการที่คุณแม่มีแผลบริเวณหัวนม ซึ่งเป็นผลมาจากท่าทางการให้นมที่ยังไม่ถูกต้อง ให้ทำการรักษาแผล หรือปรึกษาคลินิกนมแม่เพื่อดูแลท่าทางการให้นม เพื่อลดแรงกดทับที่หัวนม
  • ประคบเย็น การประคบเย็นบริเวณเต้านมจะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ ที่สำคัญคือ คุณแม่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แล้วอย่าลืมดื่มน้ำมาก ๆ รวมทั้งต้องดูแลความสะอาดของเต้านมและอุปกรณ์ปั๊มนมอย่างดีที่สุด ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รู้สึกว่าผิดปกคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ

ปั๊มนมเป็นเลือด แบบไหน ควรไปพบแพทย์

  • มีเลือดปนในน้ำนมปริมาณมาก
  • มีไข้ เจ็บเต้านม แดง บวม
  • มีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติ เช่น หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน
  • เลือดไม่หยุดไหล แม้จะดูแลตัวเองรวมถึงปรับพฤติกรรมการให้นมลูกแล้ว

การให้นมแม่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากนะคะ หากไม่ถึงที่สุดคุณแม่ไม่ควรหยุดให้นมลูกค่ะ แต่ควรพยายามหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้นมลูกต่อไปได้ ซึ่งการมีเลือดปนในน้ำนมเป็นเรื่องที่พบได้และสามารถแก้ไขได้ด้วยการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง แต่หากคุณแม่มีข้อสงสัยหรือมีความกังวล ควรปรึกษาแพทย์หรือคลินิกนมแม่เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ที่มา : premierehomehealthcare.co.th , www.thaihealth.or.th , สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ , www.namarak.com , พี่กัลนมแม่  Pekannommae mother and  child care

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม ส่งผลต่อน้ำนมและลูกน้อยหรือเปล่า

ให้นมลูกน้ำหนักไม่ลด ทำไงดี ลดน้ำหนักแม่หลังคลอดอย่างปลอดภัย

หัวนมสั้น ให้นมลูก ได้ไหม? วิธีแก้ไขและท่าให้นมของแม่หัวนมสั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี