ลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟัง ทำไงดี? เทคนิคปรับพฤติกรรมเด็กดื้อ อย่างเหมาะสม

lead image

ลูกดื้อ อาจไม่ใช่เรื่องผิด หรือเป็นปัญหาใหญ่โต หากคุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างรู้เท่าทัน แต่เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับและแก้ไขได้ มาดูเทคนิคกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลี้ยงดูลูกน้อยให้เติบโตเป็นเด็กดี มีวินัย และรู้จักแยกแยะถูกผิด เป็นเป้าหมายสำคัญของพ่อแม่ทุกคน แต่ในความเป็นจริง การเลี้ยงดูเด็กไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ปัญหา ลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟัง จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเผชิญ ซึ่งอาจสร้างความหนักใจและหมดกำลังใจได้ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยความเข้าใจและเทคนิคการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม มาดูกันว่าทำยังไงได้บ้าง

ลูกดื้อมาก

ทำไม? ลูกดื้อมาก เอาแต่ใจ ไม่เชื่อฟัง

ถ้าว่าการตามนิยามแล้ว การเป็นเด็กดื้อคือการจงใจปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง การขัดขืนต่อต้านอย่างเปิดเผย ซึ่งก่อนอื่นอยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจก่อนค่ะว่า ความดื้อ คือพัฒนาการตามวัยอย่างหนึ่งของลูกน้อย การที่เด็กเล็กวัย 0-6 ปี แสดงอาการต่อต้าน เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเติบโต โดยลูกกำลังทดสอบกรอบ กฎ กติกา ที่พ่อแม่วางไว้ เพื่อดูว่าตัวเองกำลังอยู่ในสภาวะที่เข้มงวดมากแค่ไหน ซึ่งการทดสอบขีดจำกัดเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงการเติบโตทางจิตใจว่าลูกว่ากำลังคิดได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องแย่นะคะ แต่เป็นการสื่อว่าลูกกำลังเรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และตัดสินใจเลือกนั่นเอง นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

สาเหตุที่ ลูกดื้อมาก

  • พัฒนาการตามวัย: เด็กเล็กอาจยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ หรือยังควบคุมอารมณ์ตนเองได้ไม่ดี
  • ต้องการเรียกร้องความสนใจ: ลูกอาจรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่สนใจ จึงแสดงพฤติกรรมดื้อเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  • ต้องการความเป็นอิสระ: เมื่อลูกโตขึ้น เขาจะเริ่มต้องการความเป็นอิสระและอยากทดลองสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  • เลียนแบบพฤติกรรม: ลูกอาจเลียนแบบพฤติกรรมดื้อจากคนรอบข้าง เช่น พี่ น้อง หรือเพื่อน
  • ขาดการสื่อสารที่ดี: การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน หรือการใช้อารมณ์ในการสื่อสาร อาจทำให้ลูกไม่เข้าใจและต่อต้าน

8 เทคนิคปรับพฤติกรรม ลูกดื้อมาก อย่างเหมาะสม

  1. การตั้งกฎและข้อบังคับที่เหมาะสม

ควรมีการตั้งกฎกติกาที่บังคับใช้ร่วมกัน ทั้งพ่อ แม่ ลูก ซึ่งการมีขอบเขตและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในบ้านเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ควรตั้งกฎที่เหมาะสมตามวัยของลูก และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎ แน่นอนค่ะคุณพ่อคุณแม่ต้องปฏิบัติด้วย การทำให้ลูกเห็นว่าเมื่อทำสิ่งดีๆ จะได้รับรางวัล เช่น การชมเชย หรือการให้เวลาเล่นมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี

 

  1. การใช้คำพูดที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา

เด็กอายุยังน้อยมักไม่สามารถเข้าใจคำพูดที่ซับซ้อนหรือคำสั่งที่ไม่ชัดเจน การใช้คำพูดง่ายๆ เพื่อให้ลูกทบทวนในสิ่งที่ทำผิด และใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ไม่ดุดัน ใช้ภาษากายมองลูกด้วยสายตาแห่งความรัก และตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด จะทำให้การสื่อสารระหว่างกันเป็นไปได้ด้วยดี การพูดให้ชัดเจน สั้น และตรงประเด็น เช่น “เล่นเสร็จแล้วไปอาบน้ำนะลูก” หรือ “ต้องกินข้าวก่อนนะจ๊ะถึงจะออกไปเล่นได้” จะช่วยให้ลูกเข้าใจสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังจากตัวเองมากขึ้น ลดความสับสน และอาจช่วยลดพฤติกรรม ลูกดื้อมาก ลงได้ด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ใช้วิธีการเสริมแรงบวก

โดยทั่วไปเด็กจะต้องการความรัก ความใส่ใจ คำพูดดีๆ จากจากพ่อแม่ค่ะ แต่หากทำตัวดี ว่านอนสอนง่ายแล้วพ่อแม่กลับทำเฉย ไม่สนใจ การที่ลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟัง อาละวาดโวยวาย แล้วพ่อแม่รีบเข้ามาสนใจ เห็นเป็นเรื่องใหญ่และให้ความสำคัญ จะทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะทำตัวไม่ดี เป็นเด็กดื้อนั่นเองค่ะ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรใช้การเสริมแรงบวก เป็นคำชม รอยยิ้ม การพยักหน้าแสดงความสนใจ รับรู้ ลูบศีรษะ กอด ในทุกครั้งที่ลูกทำตัวดี จะเป็นเสมือนการเติมพลัง สร้างแรงจูงใจในการทำตัวดีให้กับลูก แสดงออกให้ลูกรู้ว่าตัวเองมีคุณค่า ช่วยให้รู้สึกดีและอยากทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

 

  1. หลีกเลี่ยงการตอบสนองเชิงลบ

การลงโทษที่รุนแรง เช่น การตี การดุ หรือตะโกน อาจทำให้ลูกน้อยไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริง เกิดความรู้สึกกลัวและต่อต้าน และอาจส่งผลให้ลูกดื้อมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น ใช้เหตุผลในการอธิบายความผิดของลูก เลือกใช้วิธีการลงโทษที่เหมาะสม เช่น การตักเตือน การให้งดกิจกรรมที่ชอบ ซึ่งการใช้วิธีการที่สงบและเป็นกันเองมากขึ้นจะช่วยให้ลูกมีโอกาสปรับตัวและรับฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นนะคะ

 

  1. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การใช้เวลาร่วมกันกับลูกและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น การเล่นหรือพูดคุยจะทำให้ลูกรู้สึกถึงความรักและความเอาใจใส่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดพฤติกรรม เด็กดื้อ และทำให้ลูกมีความมั่นใจในการพูดคุยหรือทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

  1. ให้ลูกมีโอกาสในการเลือก

เด็กบางคนอาจดื้อเพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ดังนั้น การให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือก เช่น เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่หรือเลือกเมนูอาหาร จะช่วยให้ลูกรู้สึกมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังมากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ

การเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นอาจทำให้ลูกเกิดความรู้สึกด้อยค่าและลดความมั่นใจ การให้การยอมรับและสนับสนุนลูกในแบบที่เป็น จะช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีและเชื่อฟังมากขึ้นค่ะ

 

  1. การอดทนและสม่ำเสมอ

การปรับพฤติกรรมลูกดื้อมาก ไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและสม่ำเสมอในการใช้เทคนิคข้างต้นที่ได้กล่าวมา ซึ่งการมีความสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นนะคะ

 

การจัดการกับปัญหาลูกดื้อมาก ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้หากคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีการที่เหมาะสมและใจเย็น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารอย่างชัดเจน การใช้แรงบวก หรือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การให้เด็กได้รู้สึกถึงความรักและการยอมรับ จะทำให้ลูกน้อยสามารถปรับตัวได้เอง และพฤติกรรมดื้อของลูกก็จะลดลงได้ด้วยค่ะ

 

ที่มา : www.dulad.go.th , www.samitivejhospitals.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชอบทำอะไรซ้ำๆ ปกติมั้ย? แบบไหน มีภาวะเสี่ยงออทิสติก!

ควรชมลูกว่าฉลาด หรือไม่ ? 7 วิธีชมลูกแบบใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ “เก่ง” หรือ “ฉลาด”

ลูกชอบเถียง วัย 5 ขวบ ทำไม? ลูกเถียงเก่ง พัฒนาการที่ต้องเข้าใจและพร้อมรับมือ

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team