การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย ร่างกายของลูกที่กำลังเจริญเติบโต จะใช้พลังงานและมีการเผาผลาญแคลอรีได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ นอกจากการกินเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อแล้ว ลูกก็ต้องนอนมากกว่าผู้ใหญ่ด้วยค่ะ มาดูกันค่ะว่า ลูกนอนแบบไหนผิดปกติ หากลูกมีความผิดปกติด้านการนอนหลับแล้วละก็ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อลูกด้านร่างกาย สมอง และความเครียดทางอารมณ์ แต่ปัญหาการนอนของลูกไม่ได้กระทบแค่ลูกนะคะ เพราะถ้าลูกน้อยนอนไม่พอ ก็จะหงุดหงิด งอแง อารมณ์เสีย ทำให้กระทบกับคุณพ่อคุณแม่และคนอื่น ๆ ในบ้านด้วยค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีปัญหาด้านการนอน

  • แพ้อาหาร ปวดท้องร้องโคลิค ปวดจุกเสียด ทำให้หงุดหงิด
  • ปัญหาพฤติกรรม เช่น ร้องไห้เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
  • บางสาเหตุของปัญหาอาจจะร้ายแรงได้ เช่น เกิดความผิดปกติด้านทางเดินหายใจที่เกิดจากต่อมอดีนอยด์โต (ต่อมน้ำเหลืองหลังโพรงจมูก) เกิดภาวะหายใจลำบากที่เกิดจากกรดไหลย้อน
  • สาเหตุอื่นๆ นั้น สามารถวินิจฉัยได้โดยการทดสอบที่เรียกว่า polysomnography

 

ประเภทของความผิดปกติด้านการนอน

  • นอนเดินละเมอ (Sleepwalking)
  • ผวาตื่น (Night terrors)
  • กรน (Snoring)
  • โรคเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ (Rhythmic movement disorders)
  • ไม่ยอมนอนในเวลาที่กำหนด (Limit setter sleep disorder)
  • ฝันร้าย (Nightmares)
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)
  • นอนหลับไม่เพียงพอหรือไม่เต็มอิ่ม (Insufficient sleep syndrome)
  • นอนยาก (Sleep onset difficulty)

 

อาการที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหาด้านการนอน

  • นอนหลับยาก ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหลับสักที
  • กรน
  • มีการกลั้นหายใจเวลานอน
  • ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง
  • นอนละเมอหรือฝันร้าย
  • นอนดิ้น
  • เหงื่อออกเยอะระหว่างคืน หรือมีอาการฝันร้าย หวาดผวาระหว่างการนอน
  • สำลักหรือไอระหว่างนอน
  • หายใจมีเสียง
  • หายใจทางปาก
  • งัวเงียหรือง่วงในเวลากลางวัน
  • เดินละเมอ
  • ตอนกลางวัน หรือช่วงที่ตื่น จะคึกและแอดทีฟมากกว่าปกติ

บทความที่น่าสนใจ : ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

 

ผลเสียจากปัญหาด้านการนอนหลับ ลูกนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน

แม้จะเป็นปัญหาที่ดูไม่มีพิษมีภัยและเด็กหลายคนเป็น จนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ผลเสียที่ตามมานั้นกลับไม่ธรรมดาเสียเลย การที่ลูกนอนกลับไม่สนิททำให้โกรทฮอร์โมนหลั่งได้น้อย ไม่หลั่ง หรือหลั่งได้ไม่เต็มที่ จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตของเขา เด็กผู้ชายจะมีแนวโน้มมีปัญหาด้านการนอนหลับมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักและส่วนสูงตกเกณฑ์ และสุขภาพจิตที่ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้หากเด็ก ๆ ไม่ได้นอนอย่างเพียงพอ จะส่งผลทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างเช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เกิดอุบัติเหตุ
  • ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง
  • กระทบต่อการเรียน
  • มีพฤติกรรมที่หงุดหงิด และฉุนเฉียว
  • มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ
  • มีปัญหาด้านการเรียนรู้
  • บาดเจ็บได้
  • การเข้าสังคมลดลง หรือไม่ยอมสุงสิงกับเพื่อนๆ

 

วิธีรับมือ ปัญหาการนอนของลูก ทารกดิ้นไปมา

  • ปรับเวลาการกินอาหารมื้อใหญ่ ให้ห่างจากเวลานอน อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่ให้กินอาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • ก่อนนอนควรสร้างบรรยากาศการนอนให้สงบเงียบ มีการอ่านนิทานก่อนนอน หรือ อาบน้ำอุ่น จะทำให้ลูกสงบขึ้น
  • อุณหภูมิในห้องนอนต้องไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป ยิ่งมืดมากเท่าไหร่ยิ่งดีค่ะ
  • ในห้องนอนไม่ควรมีเสียงรบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากทีวี เสียงเพลง หรือแม้แต่เสียงมือถือ ให้เงียบที่สุดที่จะเป็นไปได้
  • งดเล่นเกมเล่นมือถือ แทปเล็ตต่างๆ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนนอนค่ะ
  • หากลูกง่วงนอน ไม่ว่าจะถึงเวลานอนหรือไม่ ควรรีบเอาลูกเข้านอนเลยนะคะ
  • ทำตารางเวลา และฝึกลูกให้นอนเป็นเวลาค่ะ หากลูกเป็นเด็กพลังเยอะ อย่าลืมหากิจกรรมให้ทำระหว่างวัน ควรเป็นกิจกรรมที่ออกแรงเยอะหน่อย เช่น ปล่อยให้คืบคลานเยอะๆ แต่ควรจะเว้นช่วงให้ห่างจากเวลานอนสักหน่อย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่านอนของลูกแบบไหนปลอดภัย

คุณแม่ที่ต้องการให้ลูกน้อยมีรูปทรงศีรษะที่สวย หรือ ทารกแรกเกิดที่มีลักษณะหัวแบน หัวเบี้ยว การปรับรูปทรงศีรษะของทารกให้ทุยเข้ารูป สามารถเริ่มทำได้ในช่วงอายุแรกเกิด – 1 ปี เนื่องจาก กระดูกของกะโหลกศีรษะทารกยังอ่อน ด้วยการจัดท่านอนที่เหมาะแต่ละช่วงอายุของทารก คือ

  • ทารกแรกเกิด – 3 เดือน

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารกในวัยนี้ คือ ท่านอนหงาย และนอนตะแคง ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ควรจัดศีรษะให้ทารกสลับด้านบ่อย ๆ ในระหว่างนอนหลับ เนื่องจาก เป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะอ่อนที่สุด ทารกวัยนี้ยังไม่แข็งแรงพอ โดยเฉพาะ กระดูกคอ กระดูกสันหลัง จึงไม่เหมาะสมที่จะให้ลูกนอนในท่าคว่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเสียชีวิต ในขณะนอนหลับ หรือภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

  • ทารก 4 – 6 เดือน

กระดูกของลูกในวัยนี้ เริ่มแข็งและสามารถยกคอได้แล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกนอนคว่ำได้อย่างปลอดภัย เพราะ ข้อดีของการให้ลูกนอนคว่ำ นั้นจะช่วยเสริมพัฒนากล้ามเนื้อคอ และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกได้ดี และสามารถช่วยปรับรูปทรงของศีรษะทารกให้หัวทุยสวยได้ ทั้งยังช่วยลดการนอนสะดุ้งหรือผวาที่ถือว่า เป็นการอาการที่มักพบบ่อยสำหรับทารกในช่วงวัยนี้ด้วย

  • ทารก 7-12 เดือน

ทารกในวัยนี้ เริ่มมีพัฒนาการทางร่างกายที่แข็งแรงขึ้น สามารถนอนได้ทั้ง 3 ท่า คือ นอนหงาย นอนตะแคง และ นอนคว่ำ ทารกจะเริ่มพลิกคว่ำนอนหงายได้ด้วยตัวเองแล้ว ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่ควรปรับที่นอนของลูกให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อย โดยเบาะรองนอนนั้น ควรให้อยู่ในแนวราบบนพื้นห้อง ซึ่งสะดวกต่อคุณแม่เวลาแม่จะให้นมที่ง่าย และปลอดภัยด้วย และเมื่อลูกพร้อมคลานก็จะคลานออกจากเบาะได้ง่ายโดยไม่เจ็บตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โดยที่นอนที่เหมาะสมสำหรับทารก ควรเป็นที่นอนแบบไม่ยุบตัว ไม่ควรนิ่มเกินไป ที่นอนควรเรียบเสมอกัน ไม่มีรอยแยกระหว่างหัวเตียงหรือด้านข้างของเตียง เอื้อต่อการกลิ้งตัวไปมาของทารก และ การจัดท่านอนอย่างถูกต้องให้กับทารกในช่วงขวบปีแรก นอกจากจะช่วยในเรื่องความปลอดภัยของลูกน้อยเป็นสำคัญแล้ว ก็ยังช่วยทำให้คุณแม่หายกังวลเรื่องรูปทรงศีรษะของเจ้าตัวน้อยที่จะได้หัวทุยสวยตามไปด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กที่มีนิสัยเลือกกิน: ลูกกินข้าวช้า

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

ที่มา : momjunction

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา