ทำไม? อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า วิธีแก้ไขให้ลูกน้อย ยอมกลับมากินนมแม่

lead image

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้า อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า จะทำยังไง ? มาดูกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกน้อยก็คือ “นมแม่” ค่ะ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกายและสมองของลูกน้อย แต่ยังสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นระหว่างแม่และลูกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายท่านอาจพบปัญหาลูกน้อยที่เคยดูดนมแม่ได้ดี กลับไม่ยอมเข้าเต้า จนกลายเป็นความกังวลใจให้กับคุณแม่อย่างมากว่าลูกจะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอจนกระทบการพัฒนาการและการเติบโต วันนี้ จะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจว่า ทำไม? อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า แล้วจะมีวิธีแก้ไขลูกน้อยกลับมากินนมแม่อย่างมีความสุขอีกครั้งได้อย่างไร

อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

ลูกน้อยควรกินนมแม่มากแค่ไหน ใน 1 วัน

วันแรกที่เกิด ควรให้ลูกเข้าเต้าเลย โดยปริมาณน้ำนมแม่ที่ให้ คือ 1 ช้อนชาหรือ 5 ซีซี โดยให้ 8-10 ครั้ง/วัน
วันที่ 2 ให้นมแม่ในปริมาณเดียวกับวันแรกเกิด
วันที่ 3 จนถึงอายุ 1 เดือน ให้นมแม่ประมาณ 1-1.5 ออนซ์ โดยให้ลูกกินนมแม่ 8-10 ครั้ง/วัน
อายุ 1 เดือน ให้นมแม่ปริมาณ 2-4 ออนซ์ แต่ลดจำนวนครั้งลงเหลือ 7-8 ครั้ง/วัน
ช่วงอายุ 2-6 เดือน เพิ่มปริมาณนมแม่เป็น 4-6 ออนซ์ 5-6 ครั้ง/วัน
อายุ 6-12 เดือน ให้นม 6-8 ออนซ์ วันละ 4-5 ครั้ง
1 ขวบขึ้นไป กินนมแม่ 6-8 ออนซ์ วันละ 3-4 ครั้ง หลังกินอาหารมื้อหลักตามวัย

สัญญาณที่บอกว่า ลูกได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ

อาจสังเกตได้จากร่างกายของคุณแม่เอง รวมถึงลักษณะอาการและร่างกายของลูกน้อยหลังดูดนมแม่ ดังนี้

  • อาการคุณแม่
  1. เต้านมจากที่คัดตึงจะกลายเป็นนิ่มลง
  2. เต้านมที่ไม่ถูกดูดมีน้ำนมหยด
  • อาการลูกน้อย
  1. ลูกนอนหลับนาน 2-3 ชั่วโมง
  2. น้ำหนักตัวลูกน้อยลดลงได้ไม่เกิน 7-10% ของน้ำหนักแรกเกิด และเท่ากับน้ำหนักแรกเกิดที่อายุประมาณ 7-10 วัน
  3. จำนวนปัสสาวะและอุจจาระเหมาะสมตามอายุของทารก
ทารกได้รับนมแม่เพียงพอ ดูได้จากจำนวนและสีของปัสสาวะและอุจจาระ
อายุ จำนวนปัสสาวะต่อวัน จำนวนอุจจาระต่อวัน
1 – 2 วัน สีเหลืองใส 3 – 4 ครั้งต่อวัน สีเขียวเข้ม (ขี้เทา) มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
3 – 4 วัน สีเหลืองใส 6 – 8 ครั้งต่อวัน สีเหลือง ลักษณะเป็นเนื้อเละปนน้ำ มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
5 – 6 วัน สีเหลืองอ่อน 6 – 8 ครั้งต่อวัน สีเหลือง ลักษณะเป็นเนื้อเละปนน้ำ มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
7 วัน – 3 สัปดาห์ สีเหลืองอ่อน สีเหลือง ลักษณะเป็นเนื้อเละปนน้ำ

 

ทั้งนี้ วิธีง่ายๆ ที่ใช้ดูว่าลูกได้นมพอหรือไม่ สำหรับเด็กทุกช่วงวัยคือ

  • ในแต่ละวันให้ดูว่าลูกอุจจาระเกินปริมาณ 2 เท่าของขนาดพื้นที่ของแกนกระดาษทิชชู (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซม.) หรือปัสสาวะเกิน 6 ครั้ง
  • ถ้าลูกมีอุจจาระปัสสาวะครบตามที่ต้องการ และน้ำหนักตัวขึ้นตามเกณฑ์ วันละ 20 กรัม (หลังจากที่น้ำหนักลดลงไปประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแรกเกิด เช่น ถ้าแรกเกิดหนัก 3000 กรัม ช่วง 4-5 วันแรก น้ำหนักอาจลดลงไปเหลือ 2700 กรัม แต่ตอนอายุ 1 เดือน น้ำหนัก 3300 กรัม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เปิดสาเหตุ ทำไม? อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

อาการ อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า (Nursing Strike) นั้นสามารถเกิดได้กับเด็กในหลายช่วงวัยค่ะ บางคนเกิดหลัง 1 ขวบปีขึ้น ขณะที่บางคนแค่ 6-7 เดือน ก็มีท่าทางว่า ลูกไม่ยอมเข้าเต้า แล้ว จู่ๆ ก็ไม่ยอมกินนมแม่ ปิดปาก ส่ายหน้าหนี แล้วจบที่การร้องไห้

ซึ่งอาการนี้ส่วนมากมักไม่ได้บ่งบอกว่าลูกจะหย่านมแม่นะคะ เพราะแม้ “นมแม่” จะเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยโดยเฉพาะช่วงวัย 6 เดือนแรกเกิด แต่ยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้เรื่อยๆ ไปยาวๆ จนอายุ 2 ปีหรือมากกว่านั้น เพียงแต่ช่วงหลัง 1 ขวบขึ้นไป ลูกควรได้กินนมแม่เป็นอาหารเสริม ส่วนอาหารหลักคือ “อาหารตามวัย” นะคะ แล้วถ้าไม่ใช่เพราะการจะหย่านม สาเหตุที่ อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า หรือดูดเต้าน้อยลง มาจากอะไร มาดูไปพร้อมกันค่ะ

  1. ลูกติดขวดนม สับสนหัวนม

อาการนี้มักเกิดกับลูกน้อยที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมจากขวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงวัยประมาณ 1 เดือน ที่มีอาการป่วย รวมถึงวัย 3 เดือนที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนมให้ลูกดูดนมแม่จากขวด สลับกับการดูดเต้า ลูกน้อยจึงเกิดนอาการ สับสนหัวนม เนื่องจาก “การดูดเต้านมแม่” กับ “การดูดขวด” มีลักษณะการดูดที่แตกต่างกัน การดูดเต้านมแม่ลูกน้อยต้องใช้ลิ้น และขากรรไกร ในขณะที่การดูดขวดจะใช้แค่เหงือกงับขวดเท่านั้น

นอกจากนี้ การดูดขวดนมจะไหลเร็ว แม้จะหยุดดูดแล้วกลับมาดูดต่อ นมก็ไหลเลยโดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ ขณะที่การดูดเต้านมแม่การดูดช่วงแรกน้ำนมจะยังไม่ไหล ลูกต้องดูดสักครู่หนึ่งน้ำนมถึงจะไหลหรือพุ่ง ลูกจึงชอบหรือติดความเร็วจากการดูดขวด จนไม่ยอมดูดนมแม่ หรือผู้เลี้ยงอัดนมเต็มที่จนลูกอิ่ม พอแม่กลับจากทำงานลูกก็ไม่ยอมดูดนมแม่แล้ว ทำให้ช่วงเวลาเข้าเต้ายิ่งลดน้อยลงไปอีก เด็กจึงติดขวดและสับสนหัวนมนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. ฟันกำลังจะขึ้น

ในลูกวัยประมาณ 4 เดือนขึ้นไป เป็นช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้นค่ะ ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบาย เจ็บปวดเหงือก จึงไม่อยากดูดเต้านม ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกกินนมน้อยลง ร่วมกับมีน้ำลายเยิ้ม และกัดทุกอย่างที่ขวางหน้า เช่น กัดผ้า ดูดนิ้ว หรือมีอาการเหมือนคันเหงือก บางครั้งจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายด้วย ก็สันนิษฐานได้เลยค่ะว่าฟันลูกกำลังจะขึ้น ทำให้ อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า นั่นเอง

 

  1. ลูกน้อยป่วย

การที่ อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า อาจเป็นเพราะอาการป่วยก็ได้ค่ะ โดยเฉพาะหลังจากการรับวัคซีนต่างๆ ตามกำหนด ที่จะทำให้ลูกมีไข้ต่ำๆ หลังฉีดวัคซีน วัดไข้อาจไม่ขึ้น แต่ลูกน้อยอาจมีอาการซึม ดูดนมน้อยลง ซึ่งอาการจะอยู่ประมาณ 3 วัน – 1 สัปดาห์ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ลูกมีแผลในปาก

โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อน หรือมีเชื้อราในช่วงปากที่เป็นฝ้าขาว เช็ดไม่ออก ร่วมกับการที่ลูกกินนมน้อยลง และคุณแม่มีอาการที่บ่งบอกว่าเต้านมติดเชื้อรา มีสะเก็ดขาวๆ ขุยๆ บริเวณลานนม หรือหัวนม หัวนมมีสีชมพูและมีสะเก็ดร่วมด้วย แม่จะเจ็บปวดเต้าด้วย ก็จะทำให้ลูกดูดนมน้อยลงค่ะ ซึ่งอาการนี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดและรับการรักษาที่ถูกต้องนะคะ

 

 

  1. ลูกน้อยห่วงเล่น

ลูกน้อยนั้นเกิดมาพร้อมกับความสงสัยและสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวค่ะ ซึ่งโดยปกติลูกน้อยวัย 4-5 เดือนถึงจะมีอาการห่วงเล่น แต่ปัจจุบันพบว่าอาการนี้เกิดกับเด็กช่วงวัย 3 เดือนได้เช่นกัน ดังนั้น ควรหามุมสงบให้การให้ลูกเขาเต้า ไม่มีคนมารบกวนหรือชวนลูกเล่น เรียกร้องความสนใจจากลูกก็จะช่วยให้ลูกน้อยมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการกินนมจากเต้าได้ดีขึ้นค่ะ

 

  1. แม่มีน้ำนมพุ่ง หรือน้ำนมมากเกินไป

น้ำนมแม่ที่พุ่งเกินไปก็ใช่ว่าจะดีเสมอไปนะคะ เพราะทำให้ลูกน้อยหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า และ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า เอาดื้อๆ ได้ค่ะ ซึ่งคุณแม่อาจสังเกตได้ว่าเวลาที่ลูกดูดเต้านม ลูกจะดูดสักพักหนึ่งแล้วผละออก แล้วกลับมาดูดใหม่เพราะยังไม่อิ่ม เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ซึ่งจะแตกต่างจากเด็กติดขวดที่จะไม่เข้าเต้าแต่แรก อาการน้ำนมแม่พุ่งลูกจะยอมดูด แต่ดูนิดๆ แป๊บๆ แล้วหงุดหงิดนั่นเอง

 

  1. นมแม่รสชาติเปลี่ยน

คุณแม่บางคนอาจมีรสชาติน้ำนมที่เปลี่ยนไปเมื่อ “มีประจำเดือน” ค่ะ ซึ่งรสนมแม่อาจขมขึ้น ลูกจึงไม่อมเข้าเต้า หรือกินนมแม่น้อยมาก แต่เมื่อประจำเดือนคุณแม่หมดไป ลูกก็กลับมาเข้าเต้าได้ตามปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. คุณแม่เปลี่ยนน้ำหอม

คุณแม่บางคนเริ่มกลับมาใช้น้ำหอม หรือเปลี่ยนกลิ่นน้ำหอม ครีมทาผิว หรือเปลี่ยนสบู่ ฯลฯ เชื่อมั้ยคะว่าเป้นสาเหตุที่ อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ได้เช่นกัน เพราะเมื่อลูกรู้สึกว่ากลิ่นแม่เปลี่ยนไป ก็ไม่คุ้น ไม่ชิน จนไม่ยอมเข้าเต้านั่นเองค่ะ

 

  1. ลูกโตขึ้น

เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้น ความสมามารถในการดูดนมดีขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการดูดนมสั้นลง แต่ได้รับน้ำนมในปริมาณที่เพียงพอก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าจู่ๆ ลูกก็ไม่ยอมเข้าเต้าได้ค่ะ

 

วิธีแก้ไข อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ให้กลับมาดูดนมแม่

สิ่งที่คุณแม่ต้องทำเมื่อ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ก็คือ อดทน และยังคงให้นมแม่ต่อไปค่ะ ช่วงแรกๆ ลูกยังไม่ยอมกินก็ไม่เป็นไร พยายามให้ลูกเข้าเต้าหรือให้นมแม่ตามมื้อนมเดิม อย่าเพิ่งให้ขวดนมแทนนะคะ โดยให้นมตอนที่ลูกง่วงๆ หน่อย ซึ่งจะเป็นช่วงที่ลูกมักจะยอมกินมากที่สุด นอกจากนี้ อาจลองนำวิธีการต่อไปนี้ไปปรับให้ให้เหมาะสมกับลูกน้อยก็ได้ค่ะ

  1. ปั๊มนมบ่อยๆ เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม

การปั๊มนมเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอสำหรับทารก โดยควรปั๊มนมออกทุกๆ 3 ชั่วโมง และปั๊มให้เกลี้ยงเต้า

  1. งดการใช้จุกหลอก หรือขวดนม

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูก สับสนหัวนม ระหว่างเต้านมแม่กับจุกหลอกหรือขวดนม โดยในกรณีคุณแม่กลับไปทำงานและสลับให้ลูกดูดนมจากขวดที่ปั๊มไว้ หลังเลิกงานต้องให้ลูกเข้าเต้า ซึ่งต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับคนช่วยเลี้ยงให้ชัดเจนว่า ประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนคุณแม่เลิกงานกลับบ้าน ต้องไม่ให้ลูกกินนมขวด แต่ให้รอดูดเต้านมคุณแม่ เพื่อให้ลูกได้เข้าเต้ามากที่สุด ทั้งยังเป็นการช่วยคุณแม่เคลียร์เต้าด้วย ส่วนกลางคืนและตอนเช้าก่อนไปทำงาน รวมถึงวันหยุด ลูกต้องได้ดูดเต้าด้วยค่ะ จะได้ไม่เกิดปัญหาสับสนหัวนม หรือลูกติดขวด

  1. ปรับสภาพแวดล้อมการให้นม

เมื่อถึงเวลาให้นมลูกน้อย คุณแม่ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เงียบสงบ หรือเลือกมุมที่ผ่อนคลายสำหรับการให้นมลูกน้อย ไม่มีเสียงหรือคนอื่นมารบกวน ชวนลูกเล่น จะทำให้ลูกรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย จดจ่อกับการดูดนมจากเต้าคุณแม่ได้อย่างมีความสุขและหลับสบาย แถมคุณแม่ได้มีโอกาสพักผ่อนในช่วงนี้ได้ด้วยค่ะ

  1. ปรับท่าทางการให้นม

การอุ้มลูกเข้าเต้าโดยท่าทางการให้นมที่ถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยให้ลูกยอมดูดนมจากเต้าได้ง่ายค่ะ โดยอุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัวให้กระชับกับอก ประคองให้ศีรษะและลำตัวลูกอยู่ในแนวเดียวกัน ให้ลูกอมหัวนมและลานนมให้ลึก คุณแม่จะรับรู้ถึงความรู้สึกว่าลูกดูดนมเป็นจังหวะ รวมถึงได้ยินเสียงลูกกลืนน้ำนมเบาๆ ด้วย

การที่ อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่เกือบทุกคนนะคะ ไม่ต้องวิตกเกินไปค่ะ เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้แน่นอน เพียงแต่ต้องอาศัยความอดทน ความพยายาม และระยะเวลานิดหน่อย ลูกน้อยจะสามารถกลับมากินนมแม่ได้เหมือนเดิมแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกว่าลูกกินนมได้น้อย หรือมีน้ำหนักลดลง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเสริมโภชนาการที่เหมาะสมนะคะ

 

 

ที่มา : เลี้ยงลูกตามใจหมอ , พี่กัลนมแม่ , สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ , www.samitivejhospitals.com , www.rama.mahidol.ac.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ขวด 8 ออนซ์ ใช้ตอนกี่เดือน ? เช็กสัญญาณ! เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนขวดนมลูก

ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ทำไงดี? จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการไหม?

ทารกสะอึก ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก?

บทความโดย

จันทนา ชัยมี