ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่สงสัยหรือไม่ น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน บ่งบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด ยิ่งปล่อยไว้จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น และอาจเสี่ยงต่อโรคร้าย เช่น โรคขาดโปรตีนและแคลอรี ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงของเด็ก และเป็นการเปิดประตูให้โรคอื่น ๆ ตามมา การเพิ่มพลังงาน และโปรตีนให้กับร่างกายของลูกจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้

 

เด็กเล็กหนักเท่าไหร่จึงเลือกว่าตามเกณฑ์ ?

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกให้ใช้ตารางเทียบวัดสากล ที่มีการสำรวจอย่างเหมาะสม โดยกราฟการวัดนั้นจะพบได้ในประวัติสมุดสุขภาพของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถนำมาเทียบ หรือปรึกษาแพทย์ได้เลย โดยเราจะยกตารางเบื้องต้นของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ว่าควรมีน้ำหนักเท่าใด ถึงเรียกว่าปกติ

 

ตารางเทียบน้ำหนักเด็กแรกเกิด – 5 ปี

อายุเด็ก น้ำหนักตามเกณฑ์
แรกเกิด ประมาณ 3 กิโลกรัม
4-5 เดือน 4-5 กิโลกรัม
อายุ 1 ปี ประมาณ 9 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากน้ำหนักช่วงวัยแรกเกิด
อายุ 2 ปี ประมาณ 12 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากน้ำหนักช่วงวัยแรกเกิด
เด็กเล็ก 2-5 ปี เพิ่มขึ้น 2.3-2.5 กิโลกรัม / ปี โดยประมาณ

 

น้ำนมเหลือง ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้ทารกแรกเกิด

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะน้ำนมแม่ในช่วงหลังคลอด 1-3 วันแรก เป็นระยะของนมแม่ที่งมีสารอาหารมากที่สุด มีประโยชน์สูงสุด เรียกว่า “น้ำนมเหลือง (Colostrum)” สารอาหารที่พบในน้ำนมเหลืองมีหลากหลายทั้ง MFGM, DHA รวมถึงแลคโตเฟอร์ริน ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย จากการดึงธาตุเหล็กของแบคทีเรีย จนไม่สามารถเติบโตได้ น้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์รินจึงเปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ อีกทั้งยังช่วยเสริมพัฒนาการรอบด้านของทารกอีกด้วย
การให้น้ำนมเหลืองตั้งแต่ช่วงทารกแรกเกิด ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการดูแลน้ำหนักของลูกน้อยตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้สมบูรณ์แข็งแรงต่อไป นอกจากนี้ทารกยังควรได้รับนมแม่ต่อเนื่องไปอย่างต่ำ 6 เดือนอีกด้วย

 

ลูกน้ำหนักน้อยเกิดจากอะไร ?

เจ้าตัวน้อยอาจเสี่ยงภาวะน้ำหนักตัวน้อย แม้ว่าอาจจะทานอาหารเป็นปกติแล้วก็ตาม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักตัวลูกน้อยต่ำกว่าเกณฑ์ เกิดได้จากหลายปัจจัย ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการขาดโปรตีน และมีพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยมีปัจจัยที่เราสรุปมาให้ คือ ลูกได้รับพลังงานไม่เพียงพอ หรือขาดโปรตีน, พฤติกรรมการทานอาหารน้อย, เกิดจากระบบย่อยอาหารผิดปกติ, ลูกแพ้อาหารจนน้ำหนักลด และโรคร้ายเรื้อรังต่าง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

1. ลูกได้รับพลังงานไม่เพียงพอ หรือขาดโปรตีน

การได้รับสารอาหารที่มีพลังงานไม่เพียงพอต่อร่างกาย รวมถึง “โปรตีน” ซึ่งถือเป็นสารอาหารหลักอย่างหนึ่งของร่างกาย และมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก หากเด็กได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวไม่ได้มาตรฐาน และสามารถส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ไม่สามารถเผาผลาญอาหาร และนำพลังงานมาใช้ได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และมีโรคอื่น ๆ ตามมาได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. พฤติกรรมการทานอาหารน้อย

เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่เด็กทานอาหารได้น้อยลง โดยอาจเกิดจากการเบื่ออาหาร หรือทานอาหารที่ไม่ชอบ ไปจนถึงการอดทานอาหารที่ตนเองชอบ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ส่วนมากจะเกิดจากการได้รับอาหารที่ไม่หลากหลายพอ เพราะอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเสริมพัฒนาการของลูกน้อย บางเมนูอาจมีรสชาติที่หนูน้อยไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องหาตรงกลางระหว่างความอร่อยที่เด็ก ๆ ชอบ และประโยชน์ที่เด็กควรจะได้รับควบคู่ไปด้วย

 

3. เกิดจากระบบย่อยอาหารผิดปกติ

การทำงานที่ผิดพลาดของระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้ร่างกายได้สารอาหาร และพลังงานไม่ครบถ้วนตามที่ลูกทานเข้าไป จนส่งผลให้น้ำหนักลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเกิดได้จากภาวะผิดปกติ หรือโรคที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เช่น  โรคตับเรื้อรัง,  ภาวะกรดไหลย้อน, โรคซิสติกไฟโบรซิส, โรคท้องร่วงเรื้อรัง โรคเซลิแอค และโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ที่ยากจะหลีกเลี่ยง นอกจากนี้หากร่างกายมีการติดเชื้อเกิดขึ้น จะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานอย่างมาก เพื่อต่อสู้กับอาการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการไม่อยากอาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ลูกแพ้อาหารจนน้ำหนักลด

การไม่สามารถทานอาหารบางประเภทได้เหมือนกับเด็กคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อน้ำหนักของลูกได้เช่นกัน เนื่องจากต้องทานอาหารประเภทอื่นทดแทน ซึ่งอาจไม่ได้พลังงาน หรือสารอาหารเท่ากับเมนูที่เด็กแพ้ โดยเฉพาะการแพ้โปรตีนบางชนิด เช่น โปรตีนจากนม เป็นต้น แน่นอนว่าการทานนมกล่องสำหรับลูกน้อยที่หย่านมแม่ไปแล้ว การหาสารอาหารอื่นเพื่อทดแทนโปรตีนจากนม อาจหาได้ยากและมีราคาที่สูงกว่า หากเลือกไม่ถูกต้อง เป็นต้น

 

5. โรคร้ายเรื้อรังต่าง ๆ

โรคใดก็ตามที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ที่สามารถส่งผลต่อน้ำหนักของลูกน้อยได้ เช่น หัวใจ, ปอด และต่อมไร้ท่อ เป็นต้น เนื่องจากอวัยวะเหล่านี้หากเกิดความผิดปกติ หรือมีโรคเรื้อรัง จะทำให้อวัยวะต้องการพลังงานมากกว่าปกติ เพราะจะใช้พลังงานมากขึ้นกว่าเดิม จะยิ่งทำให้เด็กที่ทานอาหารไม่เพียงพอ หรือทานอาหารเท่าเดิม อาจไม่สามารถสร้างพลังงานได้มากพอต่ออวัยวะเหล่านี้นั่นเอง

 

 

ลูกน้ำหนักน้อยอาจเสี่ยงโรคขาดโปรตีน และแคลอรี

เมื่อลูกมีน้ำหนักน้อย สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ ความเสี่ยงต่อภาวะร้าย หรือโรคต่าง ๆ ที่จะตามมามากยิ่งขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งเราคงเคยได้ยิน เกี่ยวกับการขาดสารอาหารในเด็ก แต่อีกโรคที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก คือ “โรคขาดโปรตีน และแคลอรี” ซึ่งเป็นผลกระทบจากที่ร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน และร่างกายมีพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถพบได้บ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  • ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) : ประเภทที่มีการขาดโปรตีนอย่างมาก เด็กมีอาการบวมที่ขา, เส้นผมมีบางหลุดง่าย, มีอาการซึม, ผิวบางลอกหลุด และตับโต
  • มาราสมัส (Marasmus) : ประเภทที่ขาดทั้งพลังงาน และโปรตีน เด็กจะมีแขนขาลีบ เพราะไขมัน และกล้ามเนื้อ ถูกเผาผลาญมาใช้แทนเป็นพลังงาน จนมีหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่น จะไม่มีอาการบวมแบบ และตับไม่โตเหมือน ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor)

 

โรคร้ายนี้ส่งผลให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการให้ลูกทานอาหารตามโภชนาการ ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถใช้ “นมเสริมโปรตีน” เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายนี้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

  

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ตอนนี้เราคงรู้แล้ว ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ และไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการให้ทานอาหารมากขึ้นเพียงอย่างเดียว อาจเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุด การเลือกนมที่เหมาะกับเด็กมีโปรตีนที่เพียงพอ ประกอบกับการรักษาโรคที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงการทำเมนูอาหารที่หลากหลายขึ้น อาจเป็นทางออกที่คุณพ่อคุณแม่กำลังมองหา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คัมภีร์แม่มือใหม่! ป้อนนมลูก แบบไหน ไม่ให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้

ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง อาหาร 6 อย่าง บรรเทาอาการทารกท้องเสีย

ที่มา : Bumrungrad International Hospital, BabyCentre, Cleveland Clinic

บทความโดย

Sutthilak Keawon