อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย สร้างความประทับใจในมื้อแรก กับ The 1 Family

คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คน อาจจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับอาหารที่จะต้องป้อนให้กับลูกน้อยของคุณ เมื่อลูกน้อยเริ่มเติบโต มีพัฒนาการของการเคี้ยว บด อาหาร ได้ตามวัย หลังจากที่ดื่มแต่นมแม่มายาวนานกว่า 6 เดือน แต่คุณแม่รู้ไหมคะว่า นอกจากความสำคัญของอาหารที่เราจะให้กับลูกน้อยในแต่ละมื้อนั้น อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ส่วนอุปกรณ์ที่ว่านี้จะมีอะไรบ้าง และมีความสำคัญยังไง เราเช็คลิสมาให้กับคุณแม่ ๆ กันแล้วค่ะ

 

มื้อแรกของลูกน้อย วัย 6 เดือน

หลังจากที่ลูกน้อยของคุณ ทานนมแม่มาโดยตลอด บางบ้านอาจจะทานถึงช่วง 3 - 6 เดือน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กด้วยค่ะ แต่สาเหตุหลักของการที่กุมารแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กทานนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงแรก นั้น เป็นเพราะระบบย่อยอาหารของเด็กไม่เติบโตไม่เต็มที่ คอ และหลัง ยังไม่สามารถตั้งตรงได้ จึงจะมีผลต่อระบบการกลืน การย่อย อีกทั้งน้ำนมแม่นั้น ยังมีสารอาหารครบถ้วน อีกทั้งยังสามารถสร้างภูมิต้านทาน และพัฒนาการทางร่างกายที่ไม่สามารถหาอาหารใด ๆ มาทดแทนได้อีกด้วย

แต่เมื่อเด็กทารกเริ่มมีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น เหงือกเริ่มแข็งแรง บางรายอาจจะมีฟันน้อย ๆ งอกออกมา จะทำให้เด็กเริ่มมีความต้องการในการเคี้ยวบดอาหารต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยมากคุณพ่อคุณแม่ มักจะให้ความสำคัญไปที่ตัวอาหารที่จะให้กับลูกน้อยเป็นหลัก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อุปกรณ์ที่จะนำไปใช้กับตัวเด็ก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะต้องปลอดภัยกับตัวเด็กแล้ว ยังต้องช่วยส่งเสริมการพัฒนาของเด็กได้อย่างสะดวกอีกด้วย

 

อาหารมื้อแรก สำหรับเด็กทารก ควรเลือกอย่างไร

ทางกุมารแพทย์ส่วนใหญ่ จะแนะนำว่าการเลือกให้ลูกของคุณทานอาหารในมื้อแรก ๆ นั้น ควรที่จะให้ทานไปทีละอย่าง ยังไม่ควรให้อาหารที่หลากหลายทีเดียว เพื่อที่จะสามารถทราบได้ว่า ลูกของเรานั้นแพ้อาหารชนิดไหนบ้าง โดยส่วนใหญ่แม่ ๆ มักจะเลือกนำข้าวมาบดผสมกับน้ำนมแม่ ให้ลูกทานค่ะ โดยจะให้ลองทานเมนูนี้ ไปประมาณ 5-7 วัน หากลูกสามารถทานอาหารได้ดี ก็ค่อยเพิ่มผักเข้าไป จากนั้นค่อยเพิ่มสารอาหารชนิดอื่น ๆ ตามลำดับ

หรือคุณแม่ สามารถนำอาหารประเภทเดียวกัน เช่น หากคุณแม่ต้องการเพิ่มผักลงในมื้ออาหาร ก็อาจจะเพิ่มทั้งแครอท บรอกโคลี ลงไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสารอาหารเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มธาตุเหล็ก ที่จะส่งผลต่อพัฒนาการสมองของลูก ก็จะดีมากค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มักจะพบว่า มีการแพ้ง่ายในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นไข่ขาว อาหารทะเล รวมถึงนมวัว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ใช้ตะแกรงบดข้าวจาก อุปกรณ์บดอาหารเด็ก อันตรายถึงชีวิตลูก!

 

อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย
BEABA ถาดซิลิโคนแช่อาหารช่องพร้อมฝาปิด
Buy now
CAMERA ถ้วยหัดดื่ม3MUGTRE PP
Buy now
BEABA ถาดกันเปื้อนซิลิโคน
Buy now
PIGEON ชุดฝึกรับประทานอาหาร
Buy now
BEABA เครื่องนึ่งปั่นอาหาร
Buy now
CHICCO เก้าอี้ทานข้าวสำหรับเด็ก Pocket Snack
Buy now

อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย

เมื่อได้ส่วนผสมหลักในการประกอบอาหารแล้ว อุปกรณ์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันค่ะ คุณแม่อาจทำเช็คลิสต์เอาไว้ เพื่อสะดวกสบายในการหยิบจับใช้งาน และเลือกใช้ตามความเหมาะสม ได้แก่ 

อุปกรณ์ควรมีอะไรบ้าง? 

  • บล็อกซิลิโคนหรือถ้วย/กล่องเก็บอาหารแช่แข็ง
  • ถ้วยหัดดื่ม
  • ผ้ากันเปื้อน
  • ชามสำหรับใส่อาหาร
  • ช้อนซิลิโคน สำหรับป้อนอาหาร
  • ชุดอุปกรณ์การบดอาหาร
  • เก้าอี้นั่งทานข้าวเด็ก
  • เครื่องนึ่ง และ ปั่นอาหาร
  • น้ำยาล้างผัก

 

บล็อกซิลิโคนหรือถ้วย/กล่องเก็บอาหารแช่แข็ง

ปกติเวลาปรุงอาหาร คุณแม่อาจจะทำไว้เผื่อสำหรับทานได้ 2 มื้อ ฉะนั้นการเก็บไว้ในบล็อกซิลิโคน หรือถ้วยเก็บอาหาร ที่ทนต่อการแช่แข็ง หรือความร้อนได้ดี เพื่อเก็บรักษาอาหาร และนำออกมาใช้งาน จะมีความ สะดวก และช่วยประหยัดเวลาในวันที่เร่งรีบได้

ถาดซิลิโคนแช่อาหารช่อง พร้อมฝาปิด จากแบรนด์ BEABA ใช้สำหรับจัดเก็บอาหาร หรือวัตถุดิบ ทนอุณหภูมิได้ดี ตัวถาดมีความยืดหยุ่นสูง สามารถบิดอาหารออกจากถาดได้ง่าย ทำจากซิลิโคน Food Grade อย่างดี แข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย น้ำหนักเบา ถาดซิลิโคนทนอุณหภูมิ -55 °C ถึง 210 °C สามารถแช่แข็ง ไมโครเวฟ นึ่ง อุ่น เข้าเตาอบได้ เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

 

ถ้วยหัดดื่ม

ในการทานอาหาร คุณแม่ต้องมีถ้วยน้ำดื่มไว้ข้าง ๆ เสมอเพื่อเป็นการสร้างลักษณะนิสัยในการดื่มของลูกให้คุ้นเคย ถ้วยฝึกดูด หรือหัดดื่ม จึงจำเป็นสำหรับลูกน้อยซึ่งจะเป็นตัวช่วยอย่างดีให้ลูก ๆ ได้เริ่มฝึกดื่มน้ำด้วยตัวเอง

ถ้วยหัดดื่มสเตป 3 Mugtre พร้อมหลอดดูด CAMERA สำหรับลูกน้อยที่เพิ่งเริ่มหัดดื่ม ด้วยตนเอง สีสันสดใส ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี พลาสติก PP ไม่หลั่งสารไบสฟีนอล-เอ ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เป็นสาวเร็ว, เบาหวาน, ไฮเปอร์แอคทีฟ, มะเร็งเต้านม และเป็นหมัน และสามารถนึ่งในหม้อนึ่งขวดนมได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฝึกเด็กกินข้าว เริ่มกินข้าวได้ตอนกี่เดือน อาหารมื้อแรกของลูก

 

ผ้ากันเปื้อน

แน่นอนว่าอาหารบดเหลว และการกลืนอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไปของลูก อาจทำให้บางครั้งทำเลอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้ คุณพ่อคุณแม่ จึงต้องเตรียมใส่ผ้ากันเปื้อนให้ลูกก่อนเริ่มทานมื้ออาหารทุกครั้ง ซึ่งปัจจุบันก็ยังมี ถาดกันเปื้อนแบบซิลิโคน ขนาดกะทัดรัด รูปทรงโค้งรับกับสรีระเด็ก และทำความสะอาดเก็บล้างได้ง่ายกว่า และไม่ทำให้เกิดคราบฝังแน่นเหมือนกับการใช้ตัวผ้า แต่ก็จะมีน้ำหนักมากกว่าผ้ากันเปื้อนธรรมดา จึงเหมาะสำหรับเลือกใช้ในเวลาทานอาหารเท่านั้น

ถาดกันเปื้อนซิลิโคนจาก BEABA ทำจากเนื้อซิลิโคนอ่อนนุ่ม น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย สายปรับได้ 5 ระดับ ปราศจากสาร BPA ตะกั่ว และ Phtalate ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารตกค้าง เข้าเครื่องล้างจานได้ เหมาะสำหรับใช้งานกับลูกน้อยที่มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป

 

ชามสำหรับใส่อาหาร และช้อนซิลิโคนสำหรับป้อนอาหาร 

ในวัยที่ลูกเพิ่งเริ่มทานอาหาร ถ้วย ชามสำหรับใส่อาหาร ควรที่จะเลือกอุปกรณ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ ซึ่งปลอดสารเคมีที่ส่งผลอันตรายต่อเด็ก เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยของเราจะปลอดภัยจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ รวมถึงการเลือกใช้ช้อนสำหรับป้อนอาหาร ปัจจุบันคุณแม่สามารถเลือกช้อนที่เป็นซิลิโคนนิ่ม ๆ ที่มีความอ่อนโยนต่อเหงือก และฟันของลูกได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บของเหงือก เนื่องจากการงับช้อนแรงจนเกินไป

ให้ทุกมื้ออาหารของเจ้าตัวน้อย สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยชุดฝึกรับประทานอาหาร จาก PIGEON ที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับปากของลูกน้อย เพื่อป้องกันการกระแทก และหกเลอะเทอะ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ปลอดภัยไร้สารเคมีตกค้าง ชามสามารถอุ่นในไมโครเวฟได้ ฐานชามมีขอบยางกันลื่น ส่วนช้อนนิ่มป้อนอาหาร ออกแบบให้ง่ายต่อการฝึกรับประทานอาหาร โดยไม่มีอาหารเหลือติดช้อน ช้อนนิ่ม สามารถป้อนน้ำผลไม้ หรือน้ำซุป ได้ง่ายไม่หกเลอะเทอะ ปราศจากสาร BPA ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อาหารสำหรับเด็ก วัย 4 - 12 เดือน รวมตัวอย่างเมนูอาหารทารก

 

เครื่องนึ่ง ปั่นอาหาร สำหรับเจ้าตัวเล็กวัย 6 เดือน 

เด็ก ๆ หลายคนอาจจะยังฟันไม่ขึ้น และระบบการย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้น การทานอาหารบดเหลว นิ่ม ๆ หรือมีเนื้อที่ละเอียด จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็ก คุณแม่จึงต้องนำอาหารที่ยังไม่ได้ปรุงรสชาติ มาบดให้ละเอียด สำหรับบ้านที่มีเครื่องปั่น หรือบดแบบไฟฟ้า จะสามารถทำให้อาหารเจ้าตัวเล็กนั้น ถูกนึ่งให้อ่อนนุ่มจึงบดง่าย และกะความละเอียดได้ตามต้องการ 

เครื่องนึ่งปั่นอาหารเด็ก Babycook® Solo 4 in 1 เครื่องเดียว นึ่ง ปั่น อุ่น ละลายน้ำแข็ง ได้ภายใน 15 นาที ระบบนึ่งไอน้ำ Patent ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ BEABA ที่สามารถกระจายความร้อนได้อย่างทั่วถึง และให้อุณหภูมิคงที่ ทำความร้อนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยคงความสดใหม่ของคุณภาพอาหารได้อย่างดี ตะกร้านึ่ง แยกจากโถปั่น เพื่อแยกสัดส่วนของอาหารและน้ำ มาพร้อมไม้พายเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ฟังก์ชันการปั่นอาหารแบบ Manual ช่วยให้ควบคุมความละเอียดของอาหารได้ตามต้องการ และระบบนึ่ง ตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ พร้อมเสียงเตือน ช่วยคุณแม่ประหยัดเวลาในการประกอบอาหารได้ดี

 

เก้าอี้นั่งทานข้าวเด็ก

เก้าอี้ทานข้าวของลูกหรือ High Chair มีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากจะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวสามารถรับประทานอาหารร่วมกันได้อย่างพร้อมหน้าแล้ว เก้าอี้ตัวดังกล่าวยังมีส่วนช่วยประคองลูกน้อยไม่ให้พลัดตกลงไป ในขณะที่กำลังอร่อยกับอาหารมื้อโปรดอีกด้วย วิธีการเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมให้สังเกตุ 3 อย่าง คือ

  1. ต้องมีเข็มขัดล็อกเพื่อความปลอดภัย 
  2. เก้าอี้สามารถปรับถาดเข้า - ออกได้ เพื่อรองรับกับสรีระของลูกที่แตกต่างกัน 
  3. ที่นั่งทำความสะอาดง่าย ลดการสะสมของเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ กับลูกน้อย

เก้าอี้รับประทานอาหารสำหรับลูกน้อย Pocket Snack จากแบรนด์ CHICCO ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ผ่านกระบวนการออกแบบที่เน้นความปลอดภัย และเอาใจใส่ในทุกรายละเอียดดั่งพ่อแม่ใส่ใจในลูกน้อย มีสายรัดตัวเด็กแบบ 3 จุด ปรับระดับความสูงได้ 4 ระดับ ถาดถอดเข้าออกและปรับระดับได้ 3 ระดับ พับเก็บได้เล็ก พกพาสะดวก เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย เหมาะสำหรับเจ้าตัวเล็กวัย 6 เดือน – 3 ขวบ

 

นอกจากการเตรียมตัวในเรื่องของอาหาร และอุปกรณ์ สำหรับมื้อแรกให้กับเจ้าตัวเล็กแล้ว แนะนำให้คุณแม่ทำ Diary food สำหรับลูกด้วย เพื่อจดบันทึกการทานอาหารในแต่ละมื้อ รวมถึงหากลูกมีอาการแพ้ เราจะได้มีข้อมูลในการปรึกษาแพทย์และลดการทำ skin test กับลูกที่ต้องใช้เวลามากเกินไป และเสี่ยงที่ลูกจะเจ็บตัวด้วยค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สูตรอาหารเด็กวัยหย่านม เมนูฟักทองสำหรับเด็กวัยหย่านมสุดอร่อยประโยชน์เน้น ๆ

ควรให้นมลูกถึงเมื่อไหร่ ควรเปลี่ยนจากขวดเป็นแก้วตอนไหน ควรเสริมอาหารเสริมเมื่อไหร่

ปัญหาลูกกินข้าวยาก ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ ทำอย่างไรให้ลูกทานข้าว

ที่มา : The 1 Family

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana