X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกินคาราไมน์ เพราะฉลากยาผิด

บทความ 3 นาที
ลูกกินคาราไมน์ เพราะฉลากยาผิดลูกกินคาราไมน์ เพราะฉลากยาผิด

กลายเป็นเรื่องโด่งดังมากในโลกโซเชียล หลังคุณแม่สมาชิกเฟสบุ๊คท่านหนึ่งแชร์เรื่องราวของตัวเองหลังโรงพยาบาลแปะฉลากยาผิดขวด!!

คุณแม่ท่านนี้ได้โพสต์ภาพและข้อความเพื่อเป็นอุทาหรณ์ หลังจากโรงพยาบาลติดฉลากยาผิด ทำให้ลูกชายที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมต้องกินยาคาลาไมน์แทนยาขยายหลอดลม

ฉลากยา

"อุทาหรณ์เตือน ทุกท่าน .....วันนี้ฉันพาลูกชาย มา รพ.แห่งหนึ่ง เพื่อมาตรวจ ผลตรวจหมอบอกว่าเป็นปอดบวม เลยให้พ่นยา 2 ครั้ง แล้วให้ยากลับไปกินที่บ้าน จากนั้น เมื่อประมาณ 6 โมงเย็น ฉันก็พาลูกชายมาอีกครั้งเพื่อ มาพ่นยาอีกครั้ง โดยยังไม่ดูยาที่อยู่ในถุงของเมื่อเช้า พอใกล้เวลาจะนอน เปิดดูยาที่อยู่ในถุงนั้น เพื่ออ่านว่ามียากินก่อนนอนหรือไม่ สรุปว่า มียากินก่อนนอนประมาณ 3 ตัว โดย 1 ในนั้น คือยาขยายหลอดลม จึงเปิดขวดเพื่อป้อนลูกชาย โดยตามสติกเกอร์ที่ทาง รพ. แปะมา ให้กิน 1 ช้อนชา เช้า เย็น ก่อนนอน โดยได้ป้อนลูกชายตามสติกเกอร์ที่ระบุ จากนั้น ลูกชายก็ตัวสั่น เลยรู้สึกว่ายานี้กลิ่นแปลก ๆ เลยลองชิมเอง รสชาติและกลิ่นเหมือนไม่ใช่ยาของเด็กวัย ไม่ถึง 1 ปี เลยฉีกสติกเกอร์ที่ทาง รพ.แปะไว้ออก เพื่ออ่านสติกเกอร์ที่ติดมากับขวดยา ฉันตกใจมาก เพราะยาที่ทาง รพ.ให้ลูกชายฉันกิน เป็นยาคาลาไมน์ แก้อาการผดผื่น คัน ลมพิษ ซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน ทำไมถึงมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น แล้วจะทำยังต่อไป"

ภายหลังจากการแชร์ข้อความดังกล่าว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก

คารามาย อันตรายมากหากกินเข้าไป

ฉลากยา

ยา 10 ชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกมีดังนี้

แอสไพริน

ห้ามให้ยาแอสไพรินกับเด็กทารกโดยเด็ดขาดเนื่องจากเด็กมี โอกาสเกิดอาการเรย์ซินโดรม (Reye’s Syndrome) ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต คุณควรตรวจสอบยาที่ซื้อจากร้านขายยาทั่วไปเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนประกอบของแอสไพรินและควรสอบถามแพทย์ถึงยาตัวอื่น ๆ ที่จะช่วยลดไข้ให้ลูกน้อยของคุณสบายขึ้นได้

ยาแก้หวัดซึ่งจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป

ไม่ควรให้เด็กทารกทานยาแก้หวัดซึ่งจำหน่ายตามร้านขายยาทั่ว ไป  ผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ว่ายาเหล่านี้ไม่ช่วยบรรเทาอาการของโรคหวัดในเด็กทารก และหากใช้ยาไม่ถูกวิธีก็อาจกลายเป็นยาอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้หลายอย่างเกินกว่าที่ร่างกายเด็กจะ รับไหว

ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน

ห้ามให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนซึ่งแพทย์ไม่ได้เป็นผู้สั่งแก่ ลูกโดยเด็ดขาด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนหลายขนานมีส่วนประกอบของตัวยาต้านอาการคลื่นเหียน (Antiemetic) ซึ่งมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่อเด็กทารกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัวอ่อนในครรภ์ หากได้รับตัวยานี้ ลูกอาจถ่ายเป็นสีดำคล้ำหรือได้ยินเสียงก้องสะท้อนในหู สำหรับผู้ใหญ่ อาการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องหนักหนาสาหัสแต่กับเด็กทารกแล้วนี่อาจสร้างปัญหา ที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้

ยาของผู้ใหญ่

สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรตระหนักอยู่เสมอคือเด็ก ทารกนั้นตัวเล็กกว่าเราหลายเท่า คุณไม่ควรเอายาของผู้ใหญ่ให้ลูกทานอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์สั่งหรือจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทารกบอบบางกว่าของผู้ใหญ่มาก ร่างเล็ก ๆ ของเด็กไม่อาจทนรับสารพัดสิ่งอย่างที่ร่างกายเราทำได้

ยาหมดอายุ

ยาใด ๆ ก็ตามที่หมดอายุแล้วควรเอาไปทิ้งทันที ยาหมดอายุอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ สูตรของตัวยาที่ควรจะช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ สามารถส่งผลในทางตรงข้ามโดยสิ้นเชิง ยาสามารถหมดอายุได้ในเวลาไม่นานนักหากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี

ยาที่แพทย์สั่งให้ผู้อื่น

เมื่อมีการสั่งยา แพทย์จะคำนึงถึงลักษณะร่างกาย น้ำหนักตัวและประวัติสุขภาพของคน ๆ นั้น  แน่นอนว่าลูกของคุณย่อมไม่ได้มีรูปร่างแบบเดียวกัน ยาอาจได้ผลดีกับคนที่แพทย์สั่งให้แต่อาจเป็นยาอันตรายถึงชีวิตกับลูกของคุณ

ยาเม็ดชนิดเคี้ยว

ยาเม็ดชนิดเคี้ยวอาจติดคอเด็กทารกเป็นอันตรายได้ ห้ามให้ลูกทานอะไรก็ตามที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของเหลว

ยาต้านพิษไอปิแคค (Ipecac)

ไอปิแคคเคยใช้เป็นยาขับสารพิษออกจากร่างกายทางการอาเจียน แต่ปัจจุบันแพทย์ค้นพบว่าการอาเจียนอาจไม่ใช่คำตอบ หากใช้ไอปิแคคกับเด็กอาจทำให้เกิดการอาเจียนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลัง จากสารพิษถูกขับออกมาหมดแล้วและก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำในเด็กทารกได้

ยาแก้แพ้

ไม่ควรให้เด็กทารกทานยาแก้แพ้เว้นแต่จะเป็นยาที่แพทย์สั่ง ยาแก้แพ้ซึ่งจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปมีส่วนประกอบของตัวยาต้านฮีสตามีน (Antihistmine) ซึ่งอาจส่งผลตรงกันข้ามในเด็กทารก นอกจากนี้ยังมีเด็กมากมายที่เกิดมาพร้อมอาการแพ้แต่ก็สามารถหายได้เองเมื่อ โตขึ้น

น้ำผึ้ง

แม้ว่าน้ำผึ้งจะไม่ใช่ยา แต่ก็ถูกนำมาใช้ในการบำบัดรักษาเชิงสมุนไพรหลายรูปแบบ น้ำผึ้งมีสปอร์ของสารโบทูลิซึ่ม (Botulism) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง หากเด็กทารกได้รับสปอร์โบทูลิซึ่มเข้าไป สปอร์จะฟักเชื้อในท้องและก่อให้เกิดสารพิษแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ไม่ว่าใครที่ทานน้ำผึ้ง ร่างกายต้องย่อยสปอร์นี้ แต่ร่างกายของผู้ใหญ่และเด็กโตสามารถรับสปอร์ได้ดีกว่า

บทความจากพันธมิตร
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา

สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้ลูกทานยาใด ๆ  ทุกครั้ง แม้ว่าจะเป็นยาซึ่งคุณแม่ของคุณเคยให้คุณทานมาตลอดก็ตาม ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปและผู้ผลิตมักหาหนทางที่ถูกกว่าในการผลิตยาเสมอ อย่าให้ลูกน้อยต้องทรมานจากการใช้ยาผิด ๆ เลยค่ะ

ที่มา: Sanook.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยเป็นหวัดVSไซนัสอักเสบ

สอนลูกให้เป็นเด็กใจบุญ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกกินคาราไมน์ เพราะฉลากยาผิด
แชร์ :
  • ทำอย่างไรให้ลูกกินยา

    ทำอย่างไรให้ลูกกินยา

  • เทคนิคจูงใจให้ลูกกินยา 10 เทคนิคจูงใจให้ตัวเล็กกินยาได้ง่ายขึ้น ลดความดราม่า ป้องกันลูกสำลักยา

    เทคนิคจูงใจให้ลูกกินยา 10 เทคนิคจูงใจให้ตัวเล็กกินยาได้ง่ายขึ้น ลดความดราม่า ป้องกันลูกสำลักยา

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • ทำอย่างไรให้ลูกกินยา

    ทำอย่างไรให้ลูกกินยา

  • เทคนิคจูงใจให้ลูกกินยา 10 เทคนิคจูงใจให้ตัวเล็กกินยาได้ง่ายขึ้น ลดความดราม่า ป้องกันลูกสำลักยา

    เทคนิคจูงใจให้ลูกกินยา 10 เทคนิคจูงใจให้ตัวเล็กกินยาได้ง่ายขึ้น ลดความดราม่า ป้องกันลูกสำลักยา

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ