ลูกกินนมแม่ท้องอืด ได้ไหม? วิธีป้องกันและดูแลเมื่อเด็กนมแม่ท้องอืด

รู้กันดีว่าเด็กที่กินนมผงจะเกิดอาการท้องอืดได้บ่อย แต่กับเด็กนมแม่ คุณแม่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจ ไม่รู้ลูกร้องไห้หลังกินนมหรือเพราะท้องอืดหรือสาเหตุอื่น ต้องมาหาคำตอบกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่ลูกน้อยร้องไห้งอแงแทบทุกครั้งหลังกินนม จากภาวะท้องอืด น่าจะเป็นภาพที่คุณแม่ทุกคนไม่อยากเห็นเลย ใช่ไหมคะ? ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาการท้องอืดในลูกน้อยเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกที่กินนมจากขวด แต่ก็มีเช่นกันที่ลูกกินนมแม่อย่างเดียว กลับร้องไห้โยเยเหมือนไม่สบายตัวเพราะท้องอืด จนเกิดความสงสัยว่า ลูกกินนมแม่ท้องอืด ได้ไหม? ลูกร้องเพราะสาเหตุอื่นหรือเปล่า แล้วมีวิธีป้องกันและดูแลเมื่อเด็กนมแม่ท้องอืดอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยท้องอืด และแนะนำวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยสบายท้องและกินนมแม่อย่างมีความสุขค่ะ

รู้ได้ยังไงว่าลูกท้องอืด สัญญาณบ่งบอกว่าทารกท้องอืด

เด็กทารกนั้นสามารถเกิดอาการท้องอืดได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 2–3 สัปดาห์เลยค่ะ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ไม่สามารถสื่อสารหรือบอกความต้องการใดๆ ของตัวเองได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือสังเกตความผิดปกติเมื่อลูกน้อยแสดงอาการ ดังนี้

  • ร้องไห้
  • ยกขาขึ้นสูงไปทางหน้าท้อง
  • ดิ้นหรือบิดตัวไปมาตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังกินนม
  • กำมือแน่น
  • ใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีแดง

สาเหตุทารกท้องอืด ลูกกินนมแม่ท้องอืด ได้ไหม?

การที่ลูกน้อยมีอาการท้องอืด อึดอัด หรือไม่สบายท้องหลังการกินนม… และใช่ค่ะ ทั้งเด็กที่กินนมชง และเด็กนมแม่ ล้วนมีอาการท้องอืดได้ เพราะเกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • ลักษณะการกินนมของลูก

กินนมช้าเกินไป อาจเนื่องมาจากลักษณะของจุกขวดนม หรือหัวนมของแม่ เช่น หัวนมบอด อาจทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อย หรือไหลช้า ลูกน้อยจึงกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้นในระหว่างดูดนม

กินนมเร็วเกินไป คุณแม่ที่มีปริมาณน้ำนมมาก หรือจุกขวดนมที่น้ำนมไหลออกมาได้มากเกินไป จนทำให้ลูกน้อยต้องกลืนน้ำนมอย่างรวดเร็ว จนเกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารได้มาก

  • นมขวดที่ลูกกิน มีฟองอากาศ

กรณีลูกน้อยเป็นเด็กนมชง กินนมจากขวด มีความเป็นไปได้ว่าในขั้นตอนผสมนมผงกับน้ำอาจมีฟองอากาศเกิดขึ้น ลูกจึงท้องอืดได้เพราะกลืนฟองอากาศมากเกินไป คุณแม่จึงควรทิ้งเวลาสัก 2-3 นาที หลังผสมนม เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัวก่อนให้ลูกกินนมจากขวด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ลูกร้องไห้งอแงเป็นเวลานาน

การที่ทารกร้องไห้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมาก

  • การให้นมไม่ถูกวิธี

โดยเฉพาะเด็กที่กินนมผง หรือกินนมแม่สต็อกผ่านทางขวดนม ซึ่งจุกนมที่ไม่พอดีกับปากของลูก หรือน้ำนมที่ไม่ได้อยู่ท่วมคอขวดนมตลอดเวลา อาจทำให้ลูกดูดเอาลมเข้าไปในท้องมาก และมีลมอยู่ในท้องจนกระทั่งหลับ

  • ระบบย่อยอาหารยังทำงานไม่สมบูรณ์

เด็กวัยแรกเกิด – 3 เดือน นั้นกระบวนการย่อยอาหารหรือระบบย่อยอาหารจะยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ค่ะ การเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารเมื่อนมแม่จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ โดยลูกจะค่อยๆ มีอาการดีขึ้นเองเมื่ออายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป จนเริ่มกินอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะเกิดอาการท้องอืดในช่วงแรก เนื่องจากระบบย่อยอาหารยังไม่คุ้นกับอาหารชนิดใหม่ จึงทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

  • การกินอาหารของแม่

บางครั้งการกินอาหารของแม่ให้นมอาจทำให้ลูกน้อยมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารประเภทพืชตระกูลถั่ว บรอกโคลี กะหล่ำปลี รำข้าว ข้าวโอ๊ตบด ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อีกทั้งมีบางกรณีเช่นกันที่เกิดแก๊สสะสมเนื่องจากแพ้โปรตีนจากอาหารบางชนิด โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอย่างโยเกิร์ต ชีส รวมถึงโปรตีนในนมผงและน้ำนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นอกจากนี้ ทารกตัวน้อยจะยังไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากหากเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เวลาส่วนใหญ่ของลูกจะหมดไปกับการกินและนอน จึงทำให้เป็นช่วงวัยที่เกิดอาการท้องอืดได้มากกว่าวัยอื่นๆ นั่นเองค่ะ

 ท้องอืดแบบนี้… อันตราย!

  • อาเจียน
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • ถ่ายไม่ออก
  • ร้องไห้ไม่หยุดติดต่อกันนานกว่า 2 ชั่วโมง
  • มีไข้ โดยเฉพาะหากลูกน้อยอายุต่ำกว่า 3 เดือน และมีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป

ทั้งนี้ โดยปกติแล้วอาการท้องอืดมักไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย สามารถป้องกันและรักษาได้ แต่ก็มีในบางกรณีเช่นกันที่การมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารกลายเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติทางระบบย่อยอาหารที่รุนแรง ดังนั้น หากสงสัยว่าลูกน้อยท้องอืดร่วมกับมีอาการข้างต้น ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้องกันยังไง ไม่ให้ ลูกกินนมแม่ท้องอืด

ภาวะที่ ลูกกินนมแม่ท้องอืด นั้นสามารถป้องกันได้ โดยคุณแม่ให้นมควรหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และพยายามไม่ให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมากขณะให้นม ดังนี้ค่ะ

  • ให้นมลูกถูกวิธี

ทารกที่ดูดนมแม่อย่างถูกต้องจะมีปัญหาท้องอืดน้อยกว่าเด็กที่ดูดนมจากขวด เพราะปากของลูกจะแนบสนิทกับเต้านมของคุณแม่ ลมจึงไม่ค่อยเข้าท้อง ซึ่งท่าให้นมมีส่วนสำคัญ คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมจากเต้าโดยอุ้มลูกให้ศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนมในท่าราบกับพื้น ส่วนการให้นมขวดโดยน้ำนมไม่ไหลลงมาเต็มคอขวดจนลมเข้าไปอยู่ในช่องว่าง ลูกจึงกลืมลมมากกว่า ดังนั้น ควรยกขวดนมให้น้ำนมไหลเต็มคอขวดไว้เสมอ

  • ป้อนนมในปริมาณที่พอเหมาะ

ขณะป้อนนมลูกน้อย โดยเฉพาะเด็กนมชง และเด็กที่กินนมแม่สต็อก คุณแม่ควรยกขวดนมขึ้นเพื่อป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม รวมทั้งปรับขนาดรูบนจุกนมไม่ให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป หรือใช้ขวดนมที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ลูกกลืนอากาศเข้าไปน้อยที่สุด

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส

ในกรณีคุณแม่ให้นมลูก หรือทารกที่หย่านมแม่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก เช่น รำข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ถั่วต่างๆ รวมถึงอาหารที่ทำจากนม

วิธีดูแลและบรรเทาอาการ ทารกท้องอืด

หากการป้องกันยังไม่ส่งผลอันน่าพอใจ หลังกินนมลูกน้อยยังมีอาการท้องอืดให้เห็น คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีบรรเทาอาการ ลูกท้องอืดจากนมแม่ ต่อไปนี้ไปใช้กันดูนะคะ

  • อุ้มลูกเรอทุกครั้งหลังให้นม

หลังลูกกินนมเสร็จแล้วในทุกๆ ครั้ง ควรจับให้ลูกเรอเพื่อระบายลมออกมา ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ

  1. วางลูกน้อยในท่านอนหงาย แล้วนวดบริเวณหน้าท้องเบาๆ เริ่มจากด้านขวาไปยังด้านซ้าย หรือจับขาทั้ง 2 ข้างของลูกขยับขึ้นลงสลับกันคล้ายการปั่นจักรยาน
  2. อุ้มลูกน้อยขึ้น ให้คางพักอยู่บริเวณไหล่ของแม่ แล้วใช้มือตบหลังลูกเบาๆ
  3. อุ้มลูกนั่งซ้อนบนตัก โน้มตัวลูกไปด้านหน้าเล็กน้อย ใช้มือโอบบริเวณคางเพื่อประคองตัวไว้ จากนั้นใช้มือตบหลังลูกน้อยเบาๆ
  4. ให้ลูกนอนคว่ำบนตัก ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย แล้วใช้มือตบหลังของลูกเบาๆ
  • ทามหาหิงคุ์บริเวณหน้าท้องและฝ่าเท้าลูก

เชื่อว่าคุณแม่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับสมุนไพรบรรเทาอาการท้องอืดอย่าง “มหาหิงค์” กันดี โดยวิธีการคือใช้สำลีชุบมหาหิงคุ์ทาที่หน้าท้อง รอบสะดือ ต้นขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้าของลูก เพื่อระงับอาการปวดท้อง ท้องอืด ซึ่งเมื่อทาไปสักพักลูกก็มักจะผายลมออกมา อย่างไรก็ตาม ควรทาในที่โล่ง อากาศโปร่ง ถ่ายเทสะดวก หรือหลังจากทามหาหิงคุ์ที่ท้องแล้วให้ใช้ผ้าอ้อมห่อบริเวณท้องลูกน้อย เพื่อทำให้ท้องอุ่นและยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ ควรระมัดระวังไม่ให้เข้าตาหรือสัมผัสกับผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลหรือรอยถลอก

ทั้งนี้ หากอาการท้องอืดของลูกน้อยไม่ดีขึ้น ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ยาขับลมแก้ท้องอืดและหาสาเหตุต่อไปค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : พี่กัลนมแม่ กลุ่มแม่และเด็ก คลินิกนมแม่ , bangkokhospitalchanthaburi.com , www.ttmed.psu.ac.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูก 1 เดือน กินนมแม่ แต่ไม่ถ่ายหลายวัน ท้องผูกรึเปล่า ผิดปกติไหม

ไอเท็มบำรุงน้ำนม หาได้ใน 7-11 น้ำนมไหลง่ายด้วยเมนูสะดวกซื้อ

ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม ส่งผลต่อน้ำนมและลูกน้อยหรือเปล่า

แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง ไม่ต้องงด หลังคลอดกินยังไงช่วยบำรุงน้ำนม

บทความโดย

จันทนา ชัยมี