ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

17หลายคนคงคิดว่าการได้มีลูกสามารถทำให้คุณแม่ทุกคนมีความสุข แต่ในขณะเดียวกัน สำหรับคุณแม่บางส่วนกลับต้องเผชิญกับ ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blue ที่ดูคล้ายกับอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ทำไมคุณแม่ไม่ร่าเริง

นั่นเพราะในช่วงหลังคลอดได้ไม่นาน ร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนความเครียดที่สูงขึ้นและฮอร์โมนอื่น ๆ ที่ลดลงจนส่งผลกับอารมณ์ได้โดยตรง นอกจากนี้ การเพิ่มบทบาทของการเป็นแม่เข้ามาในชีวิตก็อาจทำให้เกิดความกังวล ความคาดหวัง หรือความกลัว รวมไปถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีการดูแลตัวเองลดน้อยลง เช่น นอนน้อย นอนไม่เป็นเวลา กินอาหารได้น้อย ทำกิจวัตรแบบเดิม ๆ ไม่สะดวก สิ่งเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะอารมณ์ซึมเศร้าของคุณแม่ได้เช่นกัน 

อาการ Baby Blue เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคนหรือไม่

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Baby Blue) อาจพบได้บ่อยเป็นจำนวน 2 ใน 3 หรือ 70-80% ของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกได้เพียง 1-7 วัน โดยจะมีอาการตั้งแต่ การมีอารมณ์เศร้า ร้องไห้มากกว่าปกติ สับสน อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิด วิตกกังวล หรือนอนหลับยาก แต่อาการและความรู้สึกเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองในช่วง 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่มีภาวะเบบี้บลูส์ก็อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ถึง 20% เรียกว่า โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression 

สำหรับ Postpartum Depression จะมีอาการที่กินระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ และเป็นอาการที่รุนแรงกว่าภาวะBaby Blue ได้แก่ มีอารมณ์เศร้ามาก ร้องไห้คนเดียวหรือขณะให้นมลูก วิตกกังวลมากหรือกังวลไปทุกเรื่อง นอนไม่หลับ ไม่มีความสุขกับสิ่งเดิม ๆ ที่เคยมีความสุข รู้สึกผิดและโทษตัวเองซ้ำ ๆ รวมทั้งอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือทำร้ายลูกก็ได้

ทั้งนี้ ภาวะBaby Blue และ Postpartum Depression เป็นสิ่งที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้จากทั้งคนรอบข้างและผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ จิตแพทย์และนักจิตวิทยา โดยคนรอบข้างสามารถช่วยสังเกตอาการและให้กำลังใจคุณแม่อยู่เสมอ ขณะเดียวกัน การปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด จัดการแก้ไขปัญหาบางอย่าง และช่วยจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ในบางรายก็อาจมีการใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการปรึกษาแพทย์ในการรักษาด้วยยาที่เหมาะสม 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ควรเข้าใจ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการโรคจิตหลังคลอดเป็นอย่างไร

อีกอาการที่อันตรายแต่พบไม่บ่อยคือ โรคจิตหลังคลอด หรือ Postpartum Psychosis ซึ่งอาจมีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 0.1% เท่านั้น โดยจะมีอาการรุนแรงกว่าโรคซึมเศร้าจนถึงขนาดที่ว่ามีความคิดหลงผิด (Delusion) เช่น คิดว่าลูกไม่ใช่ลูกของตน หรือ มีอาการประสาทหลอน (Hallucination) เช่น หูแว่วได้ยินคนสั่งให้ทำร้ายลูกหรือมีคนจะมาทำร้ายลูก เป็นต้น คนรอบข้างจึงต้องคอยหมั่นสังเกตและนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับแพทย์ในทันที 

นอกจากนี้ คุณพ่อเองก็สามารถเกิดภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ได้เช่นกัน โดยอาจเกิดขึ้นจากความเครียดในบทบาทของชีวิตที่เปลี่ยนไป ความกังวลเกี่ยวกับความรับผิดชอบหรือการเงิน ความคาดหวังต่อตัวเอง กิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการซึมซับภาวะอารมณ์ซึมเศร้าของคุณแม่ด้วย แต่อาจมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน เช่น เป็นการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่พอใจ และหงุดหงิดง่าย มากกว่าอารมณ์เศร้า ดังนั้นการรับมือกับภาวะอารมณ์ดังกล่าวจึงต้องเป็นความสัมพันธ์ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญร่วมกันเมื่อหาทางออกไม่ได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำไมแม่หลังคลอดถึงผมร่วง ปัญหาที่คุณแม่ส่วนใหญ่เจอ และวิธีแก้ผมร่วง

กางเกงสเตย์ จำเป็นสำหรับคุณแม่หลังคลอดจริงหรือไม่ ?

เคล็ดลับ ปรับรูปร่างหลังคลอด และวิธีควบคุมน้ำหนัก หลังหยุดให้นม ฟื้นคืนสุขภาพดีในแบบที่คุณแม่ต้องการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Nattida Koedrith