ทำไม? เด็ก ถึงติดหวาน
ข้อมูล จากทันตแพทย์ สภา ระบุว่า ผลจาก พฤติกรรม ดังกล่าว ทำให้พบฟันผุ ในเด็ก ตั้งแต่ อายุยังไม่ครบหนึ่งขวบ โดยมี จำนวนฟันผุ เพิ่มขึ้นจาก เดิมเฉลี่ย 4 ซี่ต่อคน เป็นคน 6 ซี่ต่อคน นอกจากนี้ ยังพบ ปัญหาโรคอ้วน และ โรคเบาหวาน ซึ่งพบใน ผู้ป่วยที่มี อายุน้อยลงเรื่อย ๆ ผิด กับในอดีต
นิสัย การติด รสหวานของเด็ก มาจากการเลี้ยงดู โดยเฉพาะ ในช่วงเวลา ขวบปีแรก นั้นถือว่า สำคัญมาก หาก คุณพ่อ คุณแม่ ปล่อยให้ เด็กได้รับประทานอาหาร ที่มีรสหวาน โดยเริ่มจาก นม และอาหารเสริม ที่ป้อนให้ เมื่อเด็ก ได้รับอาหารรสหวาน อยู่บ่อย ๆ สมอง ก็หลั่งสาร ที่มีชื่อว่าโอปิออยด์ (opioid) ออกมา ทำให้ เกิดความพอใจ และ อยากกินอาหารหวาน ๆ อีกเรื่อยไป
เด็กติดหวานในแต่ละช่วงวัย
อายุ 0 – 1 ปี เด็กติดหวานที่เริ่มจากช่วงวัยนี้เป็นเด็กทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ แต่กินนมผงดัดแปลง ซึ่งมีจำนวนเด็กทารกมากถึง 50 % ทีเดียว แม้มีการกำหนดมาตรการ 6 เดือนแรกห้ามเติมน้ำตาลในนมผง แต่สามารถเติมได้ในเด็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในระดับที่กระทรวงสาธารณสุขควบคุม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเด็กเล็กติดหวาน ทั้ง ๆ ที่ในวัย 0 – 1 ปี รสชาติที่เหมาะสมสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ คือ รสจืดตามธรรมชาติ นั่นเอง
อายุ 1 ปีขึ้นไป เมื่อลูกในวัยนี้ติดรสหวานจากการดื่มนมแล้ว ต่อไปลูกก็จะชอบทานอาหารที่มีรสหวาน รวมไปถึงน้ำอัดลม ขนม โดยเฉพาะเวลาดูทีวีก็มักจะกินขนมขบเคี้ยวกับน้ำอัดลม หรือน้ำหวานตามไปด้วย กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ที่นี้เด็กก็เข้าสู่กระบวนการติดหวานอย่างเต็มรูปแบบ
อายุ 3 ปีขึ้นไป นอกจากของเล่นล่อใจที่แถมมากับขนม เป็นปัจจัยดึงดูดชี้ชวนให้เจ้าหนูซื้อขนมไว้ในครอบครอง นอกจากนี้การเลียนแบบโฆษณา เลียนแบบผู้ใหญ่ เปิดตู้เย็นมีน้ำอัดลม น้ำหวาน ขนม ช็อกโกแลต เต็มตู้เย็น แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ติดหวานเหมือนกัน
แต่อย่างไรเสีย คุณพ่อคุณแม่ที่รู้ซึ้งถึงโทษของความหวาน ต้องรีบดำเนินการปราบเจ้าเพชฌฆาตความหวานให้ห่างไกลจากลูกน้อยโดยเร็ว มาดูกันค่ะว่าจะทำได้อย่างไร
เชื่อเถอะ!!ปราบ เด็กติดหวาน ไม่ใช่เรื่องยาก
1. เด็กทารกควรให้ดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน สำหรับเด็กโต ควรเลือกนมกล่อง U.H.T. ที่เป็นนมโค 100% เพราะปราศจากน้ำตาล จะปลอดภัยสำหรับเด็กที่สุด
2. คุณพ่อคุณแม่อย่าพยายามยัดเยียดอาหารให้ลูก เช่น เห็นว่าลูกชอบนมหวาน นมช็อกโกแลต ทำให้ลูกดื่มได้มาก ก็ให้ลูกดื่มแต่ที่ชอบเท่านั้น
3. หากลูกติดหวานไปแล้ว ไม่เป็นไรค่ะ ยังแก้ไขได้ ด้วยการให้ลูกลองชิมอาหารหลาย ๆ ชนิด รสชาติแตกต่างกันออกไป พอเด็กชิมบ่อย ๆ ก็จะเริ่มยอมรับอาหารชนิดอื่น ๆ ได้มากขึ้น
4. คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาลปรุงอาหารถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ปริมาณน้อย ๆ หรือเวลาไปทานอาหารข้างนอก เช่น ไปกินก๋วยเตี๋ยวเวลาปรุงรสก็อย่าใส่น้ำตาล เพราะคนขายได้เติมน้ำตาลในน้ำซุปก่อนหน้าแล้ว รวมถึงไม่ดื่มน้ำอัดลม แต่ดื่มน้ำเปล่าแทน
5. อาหารระหว่างมื้อหากลูกไม่หิวก็ไม่ต้องบังคับ หรือลูกหลับไปแล้วก็ไม่ต้องปลุกให้ตื่นมาดื่มนม ควรเน้นอาหารหลักให้เต็มที่จะดีที่สุด
6. ค่อยๆ ลดขนมกรุบกรอบหรือขนมที่มีรสหวานจัด โดยเสริมด้วยผลไม้ตามฤดูกาล เพราะนอกจากจะหาชื้อง่าย ราคาถูกแล้ว ยังมีปริมาณน้ำตาลไม่สูงมากเมื่อเทียบกับผลไม้ที่ออกเฉพาะฤดู
ฝากข้อคิด : เด็กติดหวาน
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะแก้ปัญหาลูกติดหวานได้ ไม่ใช่ใครอื่นที่ไหน คือ คุณพ่อคุณแม่นั่นเอง การจัดอาหารการกินให้ลูกควรหลีกเลี่ยงรสหวาน รวมไปถึงขนมนมเนยต่าง ๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม ที่ซื้อมาไว้ให้ลูกหรือตัวเองก็ตาม ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของลูกและของทุกคนในครอบครัวเสียใหม่ให้ห่างไกลความหวาน โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นแกนนำสำคัญที่จะปฏิวัติความหวานนั่นเองค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
เอกสารหน่วยโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 147
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ
https://th.theasianparent.com/ios-app