X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง อยากมีลูก ตอนหลัก 4 ทำอย่างไรให้สมหวัง?

บทความ 5 นาที
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง อยากมีลูก ตอนหลัก 4 ทำอย่างไรให้สมหวัง?

วันนี้เราจะมาแนะนำ เคล็ดลับสำหรับผู้หญิงที่ อยากมีลูก ตอนอายุ 40+ ทำอย่างไรให้สมหวัง? กับคุณหมอโอ พร้อมไขข้อสงสัยของคุณแม่ใน Ask the Expert

คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก อยากมีลูก ตอนหลัก 4 ควรดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้ตั้งครรภ์สำเร็จและสามารถคลอดบุตรได้ตามกำหนด วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีป้องกันและแก้ปัญหา โดยคุณหมอโอ นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธ์ุ พร้อมไขข้อสงสัยของคุณแม่ใน Ask the Expert ค่ะ

คู่แต่งงานหลายคู่กว่าจะพร้อมมีลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจจะมีอายุเข้าเลข 4 แล้ว

ซึ่งเราก็จะได้ยินบ่อย ๆ ว่าเมื่ออายุมากขึ้นก็ตั้งครรภ์ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกในครรภ์สูง ขอเท็จจริงจะเป็นเช่นไร

ผู้หญิงที่อายุมากมีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จน้อยลงจริงหรือไม่

ปกติเมื่ออายุมากขึ้นผู้หญิงจะมีโอกาสท้องยากขึ้น หาก อยากมีลูก เมื่ออายุเข้าหลัก 4

แนะนำให้ปรึกษาหมอทันที ไม่ต้องรอมีตามธรรมชาติ ทั้งนี้คุณหมอได้ให้คำนิยามของภาวะมีบุตรยากโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์

  • หากอายุน้อยกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ ไม่ได้คุมกำเนิด เป็นเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ท้อง ถือว่า เข้าเกณฑ์มีบุตรยาก
  • หากอายุ 35-40 ปีมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ ไม่ได้คุมกำเนิด เป็นเวลา 6 เดือน แล้วยังไม่ท้อง ถือว่า เข้าเกณฑ์มีบุตรยาก
  • หากอายุ 40 ปี ถือว่าเข้าเกณฑ์มีบุตรยากทันที

 

แนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยาก เมื่อคุณแม่มีอายุ 40+ อยากมีลูก

 หากคุณหมอประเมินแล้วว่ามีบุตรเองไม่ได้ คุณหมอจะใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ดังนี้

  • IUI (Intrauterine insemination) หรือการฉีดเชื้อ เป็นการฉีดอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกของคุณผู้หญิงในวันที่ไข่ตก ซึ่งจะช่วยให้อสุจิได้ผสมกับไข่ง่ายกว่าปกติ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้น วิธีนี้เหมาะกับคู่สมรสที่สุขภาพไข่และอสุจิมีคุณภาพ แต่ติดตรงที่อสุจิกับไข่มาเจอกันในวันที่ไม่เหมาะ
  • IVF (In-Vito Fertilization) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิที่ภายนอกแล้วจึงนำไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนและนำกลับเข้าไปที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป วิธีนี้เรียกว่า เป็นการคัดไข่ และคัดอสุจิที่แข็งแรง พร้อมจะปฏิสนธิให้มาเจอกัน แล้วไข่กับอสุจิจะเลือกกันเอง
  • ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เเป็นการคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผ่านด้วยวิธีการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และฉีดเข้าไป เพื่อให้ผสมกับไข่แบบเจาะจง พอผสมกันแล้วจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาเลี้ยงพิเศษ จากนั้นเมื่อตัวอ่อนพัฒนาไปอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งวิธีนี้เหมาะ กับคู่สมรสที่อสุจิไม่แข็งแรง และอาจจะได้ลองทำวิธีอื่น ๆ แล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

 

สาเหตุที่ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่สำเร็จ

การจะตั้งครรภ์สำเร็จมี 2 ปัจจัย ได้แก่

  1. ตัวอ่อนต้องดี
  2. โพรงมดลูกต้องเหมาะสม

โดยทั้ง 2 ปัจจัย ต้องมีการซิงโครไนซ์กันระหว่างตัวอ่อนกับมดลูก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้  100% ว่าสาเหตุที่ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่สำเร็จได้คืออะไร อาจเป็นความผิดปกติทางกายภาพที่สามารถมองเห็นได้ เช่น มีติ่งเนื้อ มีเนื้องอก หรืออาจมีความผิดปกติในระดับเซลล์ก็ได้เช่นกัน

ดังนั้น แม้เราคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงสมบูรณ์มาแล้ว แต่หากมีความผิดปกติที่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ก็อาจทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่สำเร็จได้

 

เคล็ดลับที่จะช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ IVF หรือ ICSI

  1. คุณแม่ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. คุณแม่ควรทำใจให้สบาย ไม่เครียด
  3. คุณแม่ควรดูแลร่างกายให้ กินอิ่ม นอนหลับ ขับถ่ายสบาย

สิ่งเหล่านี้จะเป็นการปรับพฤติกรรมให้อยู่ในสมดุลที่ดี และมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สำเร็จง่ายขึ้น

 

ท้องผูกส่งผลต่อการฝังตัวอ่อนไหม

ปัญหาท้องผูกทำให้คุณแม่ต้องออกแรงเบ่งเยอะ ส่งผลต่อการเกิดริดสีดวงทวาร บางรายมีเลือดออก ทำให้คุณแม่เกิดความกังวลว่า เลือดที่ออกนั้นเกิดจากภาวะแท้งหรือไม่ นอกจากนี้

หากออกแรงเบ่งมาก ๆ ในช่วง 7 วันแรกของการใส่ตัวอ่อน ก็มีโอกาสสูงที่ตัวอ่อนจะฝังตัวไม่สำเร็จ

ท้องผูกมีผลต่อการฝังตัวอ่อน

วิธีป้องกันและแก้ปัญหาอาการท้องผูก

คุณแม่ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ทำให้ท้องผูก ดื่มน้ำเยอะ ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น คุณแม่ควรเลือกให้ดี ให้เหมาะกับตัวเรา และควรเป็นผลิตภัณฑ์มีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานมารองรับ

LACTIS เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย ที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในประเทศญี่ปุ่นรู้จักกันมานานกว่า 30 ปี เพราะคุณหมอในญี่ปุ่นมักจ่ายให้กับคุณแม่ที่เริ่มฝากครรภ์  ซึ่งในปีที่ผ่านมาในประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์ของ LACTIS ก็ได้รับการโหวตจาก The Asian Parent Thailand 2023 เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็น Best Prenatal Supplement ทำคุณแม่ตั้งครรภ์ มั่นใจ เลือกทานได้อย่างปลอดภัย ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ทำ IVF และ ICSI ที่มีความกังวล และต้องการป้องกันท้องผูกท้องเสีย ในช่วงการฝังตัวอ่อน

Lactis เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ จึงทำให้ปลอดภัย ไม่แพ้ ซึ่งในช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัว ยิ่งต้องดูแลสุขภาพมากเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถรับประทาน Lactis เพื่อเตรียมตัวก่อนไปฝังตัวอ่อนได้ล่วงหน้า

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น เลือดออกทางช่องคลอด กินไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ขับถ่ายไม่ดี ควรรีบไปปรึกษคุณหมอทันทีค่ะ

หากคุณแม่ท่านใดสนใจสามารถขอรับคำแนะนำ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LACTIS ได้ที่นี่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากคุณแม่
  • /
  • Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง อยากมีลูก ตอนหลัก 4 ทำอย่างไรให้สมหวัง?
แชร์ :
  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ความในใจ ตูน บอดี้สแลม เมื่อน้องทะเลชักจนหมดสติ ต้องส่งรพ.ด่วน

    ความในใจ ตูน บอดี้สแลม เมื่อน้องทะเลชักจนหมดสติ ต้องส่งรพ.ด่วน

  • ท้องตอนอายุ 40 กับความหวังที่เหลือไข่ใบเดียว ประสบการณ์จากคุณแม่ EP.1

    ท้องตอนอายุ 40 กับความหวังที่เหลือไข่ใบเดียว ประสบการณ์จากคุณแม่ EP.1

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ความในใจ ตูน บอดี้สแลม เมื่อน้องทะเลชักจนหมดสติ ต้องส่งรพ.ด่วน

    ความในใจ ตูน บอดี้สแลม เมื่อน้องทะเลชักจนหมดสติ ต้องส่งรพ.ด่วน

  • ท้องตอนอายุ 40 กับความหวังที่เหลือไข่ใบเดียว ประสบการณ์จากคุณแม่ EP.1

    ท้องตอนอายุ 40 กับความหวังที่เหลือไข่ใบเดียว ประสบการณ์จากคุณแม่ EP.1

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว