ช่วงนี้ทั่วโลก คงต้องเจอสภาวะผันผวน ทั้งเรื่องโรคระบาด เรื่องเศรษฐกิจ และสังคม คงไม่วายจะต้องมีเรื่องกระทบจิตใจกันบ้าง วันนี้เรามาเช็คตัวเองกันก่อน ว่าเป็นโรคเครียดแล้วหรือยัง แล้ว อาการ โรคเครียด เป็นยังไง? อันตรายมั้ย? เพราะหลายคนอาจเป็นโดยไม่รู้ตัวก็ได้
โรคเครียดคืออะไร ?
โรคเครียด (Acute Stress Disorder) ก็คือ ภาวะที่เรา ต้องเผชิญแรงกับแรงกดดัน จากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะนี้จะเกี่ยวข้องกับการตอบสนอง ของร่างกาย และจิตใจ ใครที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด หรือเกิดอาการเครียดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้กลายเป็นโรคเครียดได้
สาเหตุของโรคเครียด คืออะไร?
โรคเครียด มักมีสาเหตุมาจาก การพบเจอ หรือ รับรู้เหตุการณ์ที่อันตราย และร้ายแรงมาก โดยเหตุการณ์นั้นจะต้องทำให้เกิดความรู้สึกกลัว หรือสะเทือนขวัญ เช่น การประสบอุบัติเหตุ หรือการได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง รวมทั้งเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวร้าย ที่มีผลกระทบต่อจิตใจมาก ๆ ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคเครียด ที่พบได้ทั่วไป มักเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับด้าน การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกโจรปล้น ประสบการณ์อุบัติเหตุ หรือการรับรู้ข่าวร้ายที่มีผลรุนแรงต่อความรู้สึก ซึ่งโรคเครียด ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากสาเหตุอื่น ๆ อีกด้วย ดังนี้
- เคยเผชิญเหตุการณ์รุนแรง และอันตรายอย่างรุนแรง
- มีประวัติเป็นโรคเครียด หรือ โรคที่มีภาวะเครียด หลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ
- มีประวัติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต
- มีประวัติวของโรคอื่น ๆ ที่เกิดหลังจากพบเจอเหตุการณ์อันตราย
อาการของโรคเครียดเป็นยังไง?
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียด มักเกิดอาการของโรค ทันทีที่เผชิญกับสถานการณ์ หรือสภาวะที่ทำให้เกิดความเครียด โดยจะเกิดอาการเป็นเวลาหลายวัน หรืออาจนานถึงหลายสัปดาห์ ซึ่งอาการของโรคเครียด สามารถสังเกตได้จากหลายอาการ ดังนี้
-
เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำ ๆ ไปมา
คนที่เป็นโรคเครียด มักจะเกิดเหตุการณ์ฝันร้าย หรือมักนึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรง ที่ไม่ดี ที่เคยเกิดขึ้น และเห็นภาพนั้น ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
-
อารมณ์ขุ่นมัว
คนที่เป็นโรคเครียด มักแสดงอาการทางอารมณ์ และความรู้สึก ในเชิงลบออกมาเสมอ ซึ่งผู้ที่ป่วย จะรู้สึกไม่ดี เหมือนมีความทุกข์อยู่ตลอด ไม่ร่าเริง และรู้สึกว่าตนเอง ไม่มึความสุข
-
พฤติกรรมชอบแยกตัว
คนที่ป่วยเป็นโรคเครียด จะมีพฤติกรรมที่หลงลืม มึน งง มักไม่ค่อยมีสติ หรือ ไม่รับรู้การมีอยู่ของตัวเอง ในบางครั้งอาจรู้สึกว่าตนเอง เดินช้าลง
-
หลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ
ผู้ป่วย มักจะหลีกเลี่ยง สิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้คน สถานที่ สิ่งของ กิจกรรม หรือการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวนั้น ๆ
-
นอนหลับยาก
ผู้ที่เป็นโรคเครียด มักจะมีอาการไวต่อสิ่งเร้า นอนหลับยาก โมโหง่าย หรือก้าวร้าว และไม่สามารถจดจ่อ หรือตั้งสมาธิ กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้
วิธีรักษาโรคเครียด ทำอย่างไร?
การรับมือกับโรคเครียด ต้องเข้าใจสาเหตุของโรคก่อน ว่ามีที่มาจากเหตุการณ์ หรือเรื่องราวอะไรหรือไม่ และพูดคุยกับคนรอบตัว เพื่อระบายความเครียด เบื้องต้นก่อน อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคเครียด ที่มีอาการรุนแรง หรือเรื้อรัง จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
การปรึกษาแพทย์
การปรึกษาแพทย์ เป็นวิธีการรักษา ที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะได้รู้ถึงสาเหตุของอาการ และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
2. การบำบัด
สำหรับคนที่เป็นโรคเครียด แล้วอาการไม่ดีขึ้น การบำบัดความคิด จะช่วยให้ปัญหาสุชภาพจิตต่อย ๆ ดีขึ้นได้ โดยการบำบัดระยะสั้น หรือ ยาว จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการโรค
3. การใช้ยารักษา
เมื่อไปพบแพทย์ สำหรับคนที่เป็นโรคบางคน แพทย์อาจให้ใช้ยาในการรักษา เพื่อช่วยลดอาการต่าง ๆ เช่น อาการปวดของร่างกาย ปัญหาด้านการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า เป็นต้น
การป้องกันโรคเครียด ทำอย่างไร?
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ฝึกทำสมาธิบ่อย ๆ หรือ ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ เช่น โยคะ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
- พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือ พูดคุยกับคนรอบตัวบ่อย ๆ
- หางานอดิเรกทำในยามว่าง
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ครบถ้วน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล เครื่องดื่มคาเฟอีน หรือสารเสพติดอื่น ๆ
ปัญหา โรคเครียด หลาย ๆ คนอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว สำหรับใครที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคเครียด ลองใช้วิธีการป้องกันโรคเครียด หาอะไรทำให้ตนเองลืมความเครียด หรือทำกิจกรรมที่มีความสุข ออกกำลังกาย ฟังเพลงสบาย ๆ พักผ่อนหย่อนกาย ไปเที่ยวบ้าง จะได้ไม่ต้องเป็นโรคเครียด ในสภาวะที่บ้านเมืองเป็นแบบนี้นั่นเอง
ที่มาข้อมูล : พบแพทย์
บทความที่น่าสนใจ :
“โรคกินไม่หยุด” ภัยเงียบที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก
อาการไข้หวัดใหญ่ 2021 Influenza วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่