อาหารป้อนลูกน้อย ที่คุณพ่อและคุณแม่ต้องระวังและควรหลีกเลี่ยง
อาหารป้อนลูกน้อย ควรเริ่มหลังอายุ 6 เดือน ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ และเมื่อลูกเริ่มทานอาหารอย่างอื่นได้นอกจากนม คุณแม่อาจตื่นเต้นและอยากให้เจ้าตัวน้อยได้ลองชิมอาหารที่หลากหลาย จนอาจจะลืมนึกไปถึงอันตรายจากอาหารบางชนิด
1.เนยถั่ว
เนยถั่วมีปริมาณโปรตีน โปแทสเซียม และไฟเบอร์สูง ซึ่งสารอาหารดังกล่าว ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เนยถั่วเป็นอาหารที่มีความเสี่ยที่จะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ อีกทั้งความเข้มข้นของเนยถั่วก็อาจส่งผลเสียต่อฟันของลูกน้อยได้ครับ
2.ไข่ขาว
ไข่ขาวเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง แต่หากลูกน้อยของคุณยังมีอายุไม่ถึง 1 ขวบ แบคทีเรียบางตัวในไข่ขาวก็ทำให้ลูกน้อยของคุณเกิดอาการท้องเสียได้
3.ผักดิบ
ผักเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย แต่ผักบางชนิดหากให้ลูกน้อยกินดิบๆก็อาจส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร อีกทั้งผักบางชนิดเช่นแครอท หากกินดิบๆก็อาจติดคอลูกน้อยได้
ติดตามอาหารที่คุณแม่ต้องระวังต่อ คลิกหน้าถัดไป
4.ถั่วหลากชนิด
ถั่วเป็นอาหารที่มีไฟเบอร์ และวิตามินอี ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายสูง อย่างไรก็ตามการให้ลูกกินถั่วก็อาจทำให้เกิดการติดคอและเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณได้นะครับ
5.อาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋องอาจเป็นอาหารที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว แต่ด้วยความที่ลูกน้อยของคุณยังอยู่ในวัยที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆรวมทั้งยังเสี่ยงต่อโรคโบทูลิซึม หรือโรคผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นเฉียบพลันได้ครับ
6.ปลา
ปลาบางชนิดมีปริมาณสารปรอทค่อนข้างสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อระบบประสาทของลูกน้อย และอาจทำให้ลูกน้อยมีปัญหาด้านพัฒนาการและทักษะด้านการพูด โดยปลาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ ปลาอินทรี ปลาดาบหรือปลาฉนาก ในขณะที่อาหารทะเลบางชนิดอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มให้ลูกกินอาหารทะเล เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยนะครับ
ติดตามอาหารที่คุณแม่ต้องระวังต่อ คลิกหน้าถัดไป
7.น้ำผึ้ง
เป็นที่รู้กันมาอย่างยาวนานถึงประโยชน์ของน้ำผึ้ง แต่คุณแม่ทราบหรือไม่ครับว่าในน้ำผึ้งนั้นอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม และในลำไส้ของเด็กทารกที่ยังมีอายุไม่ถึง 1 ขวบนั้น ยังไม่มีจุลินทรีย์ที่สามารถช่วยต้านทานเชื้อเช่นในเด็กโตและผู้ใหญ่ จึงอาจนำมาซึ่งสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษในทารกได้
8.น้ำผลไม้ผสม
นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว น้ำผลไม้ยังอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในน้ำผลไม้ผสมอาจมีส่วนผสมของสารกันบูดซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยได้ครับ
9.ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเช่นส้ม หรือมะนามนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างวิตามินซี แคลเซียม และโปแทสเซียมซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย แต่กรดที่มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวก็อาจส่งผลเสียต่อกระเพาะอาหารของลูกน้อยที่ยังมีอายุไม่ถึงขวบ
การให้ป้อนอาหารแก่ลูกน้อย ควรเริ่มหลังอายุ 6 เดือน ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ โดยคุณพ่อและคุณแม่ควรป้อนอาหารทีละอย่าง เริ่มจากอาหารอ่อน โดยควรป้อนอาหารชนิดเดียวกันเป็นเวลา 3 – 4 วัน และสังเกตว่าลูกแพ้อาหารนั้นๆ หรือไม่ เพื่อป้องกันการแพ้อาหารครับ
ที่มา momjunction.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
9 สารอาหาร ช่วยพัฒนาการลูกน้อย
ผ้าเช็ดตัว แหล่งเชื้อโรคสู่ลูกน้อยที่คุณไม่คาดคิด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!