X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อย่านิ่งนอนใจ 7 อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่ควรรู้ ก่อนที่จะเป็นอันตราย!!

บทความ 5 นาที
อย่านิ่งนอนใจ 7 อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่ควรรู้ ก่อนที่จะเป็นอันตราย!!

คุณแม่ตั้งครรภ์อาจพบเจออาการที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับตัวเองมาก่อนได้ เริ่มตั้งแต่การแพ้ท้อง เหนื่อยง่าย มีอารมณ์แปรปรวน ฯลฯ เหล่านี้ถือเป็นอาการปกติที่สามารถขึ้นได้ตอนท้อง แต่คุณแม่อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ เพราะเรื่องที่คิดว่าปกติบางอย่างอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณแม่อาจไม่รู้ได้

ร่างกายของคุณแม่นับตั้งแต่ตั้งครรภ์ 1-40 สัปดาห์ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างมหาศาล ไม่เฉพาะแค่รูปร่างที่ต้องเปลี่ยนไป ยังส่งผลไปถึงสุขภาพ อารมณ์ ปฏิกิริยาอาการต่าง ๆ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจกับ อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ ที่ควรสังเกตและพึงระมัดระวังเป็นพิเศษ

กุมารแพทย์แนะ อย่านิ่งนอนใจ 7 อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ ก่อนที่จะเป็นอันตราย

อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์

#1 อาการเลือดออกที่ช่องคลอด ที่คิดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

อาการเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหนึ่งช่วงใดถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล ไม่ว่าจะมีปริมาณเล็กน้อยหรือมีมาก ซึ่งเกิดได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวน 1 ใน 3 เลือดออกที่เกิดขึ้นในไตรมาสแรกหรือที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้า” นั้นเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนกับผนังมดลูก หรือความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนก็เป็นสาเหตุของอาการเลือดออกได้ ส่วนอาการเลือดออกในไตรมาส 2 หรือ 3 นั้น เป็นช่วงที่ปากช่องคลอดเริ่มอ่อนไหว สังเกตได้จากสีของปากมดลูกที่จะคล้ำขึ้นกว่าเดิม เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากเป็นพิเศษนั่นเอง

แต่เลือดออกที่ช่องคลอด อาจจะเป็นสัญญาณของการแท้งหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

  • กรณีที่พบว่ามีเลือดออกมากในสัปดาห์ที่ 6-8 อาจเป็นสัญญาณของการแท้งได้ และอาจบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกซึ่งตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตนอกมดลูก ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ด้วยการผ่าตัดหรือรับยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์
  • กรณีที่พบว่ามีเลือดออกร่วมกับอาการปวดท้องในช่วงใกล้คลอด อาจเป็นสัญญาณของการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจเช็กการเต้นหัวใจ และดูท่าของทารก
  • ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คนท้อง 5 % มีโอกาสที่จะเกิดอาการรกพันคอทารกหรือรกเกาะต่ำ ที่ทำให้เกิดเลือดออก โดยสีของเลือดค่อนข้างสด เป็นอาการที่จะเกิดขึ้นก่อนนำไปสู่อาการตกเลือด ซึ่งคุณแม่ต้องรีบเข้ารับการผ่าตัดคลอดโดยด่วน

อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ อย่านิ่งนอนใจ อ่านต่อ >>

อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์

#2 อาการปวดท้องรุนแรง ที่คิดว่าเป็นเพราะอาหารไม่ย่อย

อาการปวดท้องถือเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นกับแม่ท้องได้ เพราะในขณะตั้งครรรภ์ระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานเชื่องช้าลง ทำให้เกิดแก๊สและมีอาการท้องผูก อายุครรภ์ที่มากขึ้นทำให้มดลูกใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อหน้าท้องหนาขึ้นและยืดขยายออก ทารกในครรภ์เริ่มเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บและปวดท้องขึ้นได้ หรือเมื่อใกล้คลอดคุณแม่บางคนมีอาการเจ็บท้องหลอกซึ่งทำให้รู้สึกปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน

แต่ปวดท้องรุนแรง อาจจะเป็นอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

  • ความเปลี่ยนแปลงของมดลูกที่โตขึ้น ทำให้การไหลของปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะช้าลง ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะมีเวลาเจริญเติบโต ที่จะทำให้คุณแม่เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบขึ้นมา และอาจมีการติดเชื้อที่บริเวณไตซึ่งอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้
  • อาการปวดท้องรุนแรงในช่วง 3 เดือนแรก อาจเป็นสัญญาณการแท้งหรือการหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • อาการปวดท้องมากอาจส่งผลให้มีเลือดออกตามมาหรือถึงแม้ไม่มีก็อาจหมายถึง รกมีการลอกตัวจากผนังมดลูก ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงต้องรีบเข้ารับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินโดยด่วน

อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์

#3 อาการปวดหัวบ่อย ๆ ที่คิดว่าเป็นเพราะเพลีย เหนื่อยง่าย หรือขาดน้ำ

ร่างกายของแม่ตั้งครรภ์นั้นจะมีอาการอ่อนแรง เหนื่อย เพลียง่ายกว่าคนทั่วไป จนทำให้รู้สึกปวดหัวเพิ่มง่ายขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ 1-2 % ที่ไม่มีประวัติเป็นโรคไมเกรนมาก่อน ก็สามารถเกิดอาการนี้ขึ้นมาได้ด้วยสาเหตุ เช่น การขาดน้ำ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง เกิดจากความเครียด และเหน็ดเหนื่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น อาการปวดหัว อาจเกิดจากการทรงตัวได้ไม่ดีเพราะน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่อคุณแม่รู้สึกปวดหัวหรือวิงเวียนศีรษะ ควรได้รับการพักผ่อน ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น เพื่อช่วยลดอาการอันเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ พยายามเดินทรงตัวให้ดี งดทำกิจกรรมหนัก และค่อย ๆ ทำอะไรให้ช้าลงนะคะ

แต่ปวดหัวบ่อย ๆ อาจจะเป็นครรภ์เป็นพิษได้

ถ้าคุณแม่รู้สึกปวดหัวอย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ตาพร่า เห็นแสงวูบวาบ และมีเลือดออกมาเป็นจุด อาจเป็นสัญญาณของอาการครรภ์เป็นพิษหรือความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งควรจะไปพบแพทย์เพื่อดูแลรักษานะคะ

#4 อาการกระหายน้ำจัด ที่คิดว่าเป็นภาวะขาดน้ำระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะขาดน้ำ การเกิดขึ้นได้ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากในร่างกายมีเลือดไหลเวียนเพิ่มมากขึ้น และมีเหงื่อออกมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 25 % ระหว่างตั้งครรภ์มาจากของเหลวส่วนเกิน ดังนั้นคุณแม่ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณแม่ท้องควรดื่มน้ำประมาณ 8-12 แก้วต่อวัน จะช่วยป้องกันอาการต่างๆ ขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งความไม่สบายตัวที่มักเกิดขึ้นกับแม่ท้องได้

Read : การดื่มน้ำสำคัญกับแม่ท้องกว่าที่คิด

แต่การกระหายน้ำจัด อาจจะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 3 ของแม่ตั้งครรภ์ หากเกิดขึ้นหลัง 20 สัปดาห์ จะทำให้มีอาการปวดปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นและเหนื่อยง่ายเป็นพิเศษ เนื่องจากฮอร์โมนไปปิดกั้นการทำงานของอินซูลิน ทำให้ร่างกายต้องผลิตมากขึ้นอีก 2-3 เท่า น้ำตาลจึงคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือด โดยแพทย์จะทำการทดสอบเพื่อวัดระดับกลูโคลสที่เพิ่มขึ้น และทำการรักษาโดยฉีดอินซูลิน ซึ่งเมื่อสามารถควบคุมไว้ได้ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อแม่หรือลูกในครรภ์ และอาการจะหายไปเมื่อหลังคลอด ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นอกจากการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายแม่ท้องควรได้รับแล้ว ควรดูแลเรื่องโภชนาการที่ดี และหมั่นออกกำลังกายด้วยนะคะ

รู้ทันอาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ ที่ไม่น่านิ่งนอนใจ อ่านต่อนะคะ >>

มือเท้าบวมระหว่างตั้งครรภ์

#5 อาการมือ เท้าบวม ที่คิดว่าเป็นมีของเหลวในร่างกายมาก

อาการมือหรือเท้าบวม บางกรณีถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีของเหลวในร่างกายมาก การขยายตัวของมดลูก ทำให้การไหลเวียนของเหลวในร่างกายช้าลง วิธีที่ช่วยลดอาการบวมลงได้คือให้นั่งยกขาสูงพาดเก้าอี้ หรือในขณะนอนให้หาหมอนมาหนุนรองเท้า ออกกำลังกายพอประมาณ และดื่มน้ำให้มาก ๆ

แต่อาการมือ เท้าบวม อาจจะเป็นสัญญาณครรภ์เป็นพิษได้

หากมีอาการมือเท้าบวมตอนท้องขึ้นมาแบบปัจจุบันทันด่วน ร่วมกับอาการปวดหัว ตาพร่า หรือมีส่วนอื่นบวมขึ้นผิดปกติ เช่น ใบหน้า ดวงตา มือ ขา ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีนะคะ

อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์

#6 อาการคันหนักมาก ที่คิดว่าเป็นเพราะผิวหนังยืดขยาย

เมื่ออายุครรภ์เริ่มมาก ผิวหนังหน้าท้องก็จะเริ่มขยายแตกลายขึ้น และทำให้เกิดผิวแห้งแตก ซึ่งทำให้เกิดอาการคันสุด ๆ รวมถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและเหงื่อที่ออกปริมาณมากส่งผลให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนังคุณแม่ ทั้งหน้าท้องและข้อพับส่วนต่าง ๆ นอกจากการใช้ครีมทาผิวสำหรับคนท้องหรือใช้เบบี้ออยล์ทาช่วยบำรุงผิวไม่ให้แห้ง คุณแม่ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดแน่น ก็จะช่วยบรรทาอาการคันลงได้ค่ะ

แต่อาการคันสุด ๆ อาจจะเป็นอาการน้ำดีหยุดหลั่งตอนตั้งครรภ์ได้

ถ้าคุณแม่มีอาการคันหนักมากจนถึงขั้นรู้สึกว่าคันผิดปกติ โดยเฉพาะที่มือและเท้า ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับตับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือได้รับอันตรายเพราะน้ำดีอาจเข้าไปปะปนในกระแสเลือดทำให้เกิดอาการคันอย่างมาก จนทำให้นอนไม่หลับ หรือขาดสมาธิ ควรไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการของคุณอย่างใกล้ชิดและอาจทำคลอดเร็วขึ้น (ในช่วง 37-38 สัปดาห์)

#7 อาการลูกไม่ดิ้น ที่คิดว่าเป็นเพราะลูกในท้องนอนหลับสนิท

โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะรู้สึกว่ามีอาการดิ้นดุกดิกของลูกให้รู้สึกครั้งแรกในช่วงสัปดาห์ที่ 16-25 และเมื่อใกล้คลอด ช่วงสัปดาห์ที่ 32 หรือเข้าเดือนที่ 8 คุณแม่จะรู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยเริ่มดิ้นแรงและดิ้นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าสังเกตว่าลูกน้อยดิ้นน้อยลงจนผิดปกติ หรือลูกนอนหลับลึกอยู่โดยไม่เคลื่อนไหวใด ๆ อาจเป็นเพราะขนาดที่เริ่มโตของทารกจึงทำให้มีพื้นที่ในท้องแคบลงและดิ้นลำบากขึ้น จนคุณแม่รู้สึกว่าทารกเคลื่อนไหวเชื่องช้าลง หรือไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นหรือขยับไปมา

แต่ลูกไม่ดิ้น อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายจากทารกได้
โดยปกติในไตรมาสที่ 3 นี้ลูกควรจะมีการดิ้นอย่างสม่ำเสมอแล้ว แต่อาการที่ลูกไม่ดิ้นนานเกินไปหรือไม่ดิ้นติดต่อกัน 1-2 วันหรือมากกว่านั้น เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ อาจเกิดสายสะดือพันคอหรือลูกน้อยขาดอากาศหายใจ และอาจบ่งบอกว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตไปแล้ว

การที่ลูกดิ้นน้อยลงไม่ได้หมายความว่าทารกจะอยู่ในภาวะอันตรายเสมอไป เพียงแต่จัดว่าอาจเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ ดังนั้นหนทางที่ยังรู้ว่าลูกในท้องมีชีวิตดีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ คุณแม่ควรจะใช้วิธีการนับลูกดิ้น เพื่อตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ และถ้าพบว่าลูกไม่ดิ้นควรรีบไปพบแพทย์นะคะ

แม้ว่าในช่วงตั้งครรภ์จะทำให้คุณแม่กังวลมากเป็นพิเศษ แต่โอกาสที่ทารกในครรภ์จะเสียชีวิตมีน้อยมาก หากคุณแม่ดูแลตัวเองให้ดีระหว่างตั้งครรภ์ และขึ้นอยู่กับการปรับตัวของร่างกายคุณแม่ด้วย คอยสังเกตรูปแบบและความถี่ของพัฒนาการตามอายุครรภ์ที่เติบโตขึ้น หากคุณแม่มีความกังวลใจจริง ๆ เกี่ยวกับลูกน้อยในครรภ์ก็สามารถไปให้คุณหมอทำการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อเช็กดูว่าทารกน้อยยังสบายดี อยู่หรือเปล่า ในแต่ละครั้งที่มีการนัดไปตรวจครรภ์ได้นะคะ


Credit content : healthmee.com

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

6 อาการผิดปกติหลังคลอดที่ไม่ควรมองข้าม

7 อาการผิดปกติของตาลูกปัญหาไม่เล็กที่พ่อแม่ควรรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อย่านิ่งนอนใจ 7 อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่ควรรู้ ก่อนที่จะเป็นอันตราย!!
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว