X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ

บทความ 8 นาที
6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ

6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อให้ลูกได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย และสร้างการรับรู้ถึงความแตกต่างในโลกใบนี้

เพราะอะไรเรื่องประสาทสัมผัส ถึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในวัยนี้ เพราะ 6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ นั้นทำให้…

  • เด็กๆ รู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในโลก ผ่านประสาทสัมผัสของพวกเขา
  • เด็กๆ ได้สำรวจ ตรวจสอบ และแยกประเภทของสิ่งต่างๆ
  • เด็กๆ รู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
  • สร้างการรับรู้เกี่ยวกับความเป็นมาเป็นไป และกระบวนการต่าง ๆ ในโลก
  • สร้างพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน
  • พัฒนาทักษะในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ช่วยในการปลอบประโลมและมีผลบรรเทาอาการป่วยต่างๆ ได้

แต่การจะทำให้ลูกมีทักษะกล่าวมานี้ จำเป็นต้องพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกให้ดีตั้งแต่วัยแรกเริ่ม ซึ่งจะมีประสาทสัมผัสด้านไหนบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ 

 

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกคืออะไร มีอะไรบ้าง

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 หมายถึง การมองเห็น (รูป – Sight) การลิ้มรส (รส – Taste) การได้กลิ่น (กลิ่น – Smell) การได้ยิน (เสียง – Hearing) และการสัมผัส (สัมผัส – Touch) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านอวัยวะรับความรู้สึกอันได้แก่ ตา ลิ้น จมูก หู และผิวหนัง ประสาทรับรู้ทั้ง 5 นี้ส่งผลอย่างมากต่อความคิดและอารมณ์ รวมทั้งพัฒนาการของลูกน้อยที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะ ส่งเสริมให้สมองและระบบสัมผัสทำงานสอดคล้องกันต่อไป

  • ตา – ใช้ในการสังเกตมองดู สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว 
  • หู – ใช้ในการฟังเสียง 
  • จมูก – ใช้ในการดมกลิ่น
  • ลิ้น – ใช้ในการลิ้มรสชาติว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร 
  • มือ – ใช้ในการหยิบจับสิ่งของ

 

วิธีกระตุ้นสายตาของทารก ประสาทสัมผัสทั้ง 5

6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่คุณพ่อคุณแม่ควรฝึก เพื่อพัฒนาทักษะด้านร่างกาย เพื่อให้มีการเจริญเติบโตที่ดีและเรียนรู้อย่างเต็มที่ วันนี้ theAsianparent ขอนำวิธีการฝึกพัฒนาการลูกน้อย เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาให้คุณพ่อคุณแม่มาฝึกลูกน้อยกัน 

Advertisement
  • วิธีกระตุ้นทักษะการมองเห็น

การฝึกประสาทตาหากลูกยังอยู่ในวัยทารก การฝึกประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นที่ดีที่สุดก็คือ การเล่นกับลูกและให้ลูกได้มองสีหน้าของเราขณะที่เรายิ้มและหัวเราะ โดยปกติเด็กทารกจะมีการตอบรับต่อสิ่งเร้าง่าย ๆ อยู่แล้ว เช่น หากมีผู้ใหญ่หลายคนเล่นกับเด็กพร้อมกัน เด็กจะมีการเบนสายตาไปมองคนที่ส่งเสียงเรียก หรือหันไปมองผู้ใหญ่อีกคนที่อยู่ในการมองเห็น 

ขณะที่คุณแม่และผู้ใหญ่ในบ้านท่านอื่น ๆ ต้องลุกไปกิจธุระอย่างอื่นในบริเวณนั้น ก็สามารถใช้ของเล่นแขวนอย่างโมบายรูปร่างต่าง ๆ แขวนไว้ให้ลูกได้มองเห็น การฝึกประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นและฝึกกล้ามเนื้อตาได้ สามารถเลือกสิ่งของที่มีสีสันตัดกันมาก ๆ เนื่องจากสีสันที่แตกต่างจะสามารถดึงดูดความสนใจได้ดี อย่าง เช่น โมบายสีขาวสลับดำ เป็นต้น

  • วิธีกระตุ้นการลิ้มรส

เป็นหนึ่งในพัฒนาการของทารกน้อย โดยน้องจะได้รับการลิ้มรสสิ่งต่างๆ ผ่านนมแม่ และชื่นชอบรสชาติหวานๆ ดังนั้น ลูกน้อยจะรู้สึกกระวนกระวายอยากจะกินนมแม่ เวลาที่เห็นแม่กินขนมเค้กหรือของหวาน เพราะว่าเขาจะได้ลิ้มรสชาตินั่นผ่านนมแม่ค่ะ

สำหรับวิธีกระตุ้นการลิ้มรสของลูกน้อย พ่อแม่ควรเริ่มเมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 6 เดือน โดยการให้ลูกได้เริ่มรู้จักอาหารที่มีรสชาติต่างๆ จากอาหารที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ต้องระวังอาหารกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกแพ้ได้ เช่น ไข่ อาหารทะเล เป็นต้น

  • วิธีกระตุ้นการได้ยิน

โดยปกติแล้วพัฒนาการการได้ยินของทารกเกือบจะสมบูรณ์อยู่แล้วหลังจากที่ทารกคลอดออกมา และที่สำคัญ ทารกจะคุ้นเคยกับเสียงแม่อยู่แล้ว เพราะได้ยินเสียงของแม่ตลอดเวลาอยู่ในท้อง และเมื่อน้องอายุได้ 2 เดือน เขาก็จะเริ่มพยายามเลียนแบบเสียงจากสิ่งรอบข้างที่ได้ยิน ไม่ว่าจะเสียงพ่อแม่ หรือเสียงสัตว์ค่ะ

วิธีกระตุ้นการได้ยินของทารก พ่อแม่ควรหานิทานอ่านให้ลูกน้อยฟังบ่อยๆ รวมถึงควรพยายามพูดคุยกับน้องเป็นประจำด้วย หากมีเวลาก็อย่าลืมร้องเพลงด้วยนะคะ เพราะทั้งหมดนี้จะช่วยในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เมื่ออายุ 4 เดือน น้องก็จะเริ่มพูดเจื้อยแจ้ว ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นภาษาก็ตามค่ะ

  • วิธีการกระตุ้นการได้กลิ่น

ถึงแม้ว่าทารกจะยังมองไม่เห็นพ่อแม่ในช่วงแรกๆ แต่ “กลิ่น” จะทำให้เขารู้ได้ทันทีว่าใครอยู่ๆ และสามารถรับรู้ได้ว่าตัวเองอยู่ที่ใด อยู่ที่บ้าน รถ หรือที่อื่น เพราะกลิ่นเหล่านี้เอง

วิธีกระตุ้นการได้กลิ่นของทารก ให้พ่อแม่อยู่ใกล้ๆ กับลูกน้อย ให้น้องได้สัมผัสกลิ่นของพ่อแม่ให้มากที่สุดค่ะ และแนะนำว่าพ่อแม่ไม่ควรใช้กลิ่นน้ำหอมที่มีกลิ่นฉุนหรือรุนแรงมากเกินไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ อีกทั้งน้องจะได้คุ้นชินกับกลิ่นกายพ่อแม่ค่ะ ในระหว่างนั้นพ่อแม่อาจโอบกอดด้วยความรัก เพื่อที่น้องจะได้รู้สึกถึงความปลอดภัย

  • การฝึกประสาทสัมผัส 

การฝึกประสาทผ่านการสัมผัสเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย เริ่มจากการสัมผัสลูกด้วยการโอบกอด จับมือของลูกมาจับส่วนต่าง ๆ บนใบหน้าของเรา หรือการให้ลูกจับเนื้อหาที่มีสัมผัสที่แตกต่างกันก็สามารถทำได้ เมื่อลูกโตพอทีจะหยิบของเล่นและสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ด้วยตัวเองแล้วนั้น การปล่อยให้ลูกใช้มือหยิบจับของเล่นต่าง ๆ ที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น วัสดุนิ่มหรือแข็ง ผิวเรียบหรือขรุขระ อุ่นร้อนหรือเย็น

 

1. Sensory Board หรือ กระดานหลากสัมผัส

Sensory-Board

หากระดานไม้ หรือแผ่นโฟมแข็ง ที่ใหญ่สักหน่อยนึง ติดผิวสัมผัสแบบต่างๆ เช่น ผ้า กระดาษ พลาสติก ผ้าขนสัตว์ เชือก สร้อย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่สัมผัสแล้วรู้สึกแตกต่างกัน เวลาที่ลูกจับ คุณพ่อคุณแม่ก็บอกชื่อสิ่งนั้นกับลูก (ช่วยลูกเพิ่มคำศัพท์) แต่ก็มีสิ่งที่ควรระวังด้วยเช่นกัน ไม่ควรติดสิ่งที่บาด หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่หลุดได้ง่าย เนื่องจากเด็ก ๆ ในวัยนี้ยังชอบที่เอาของทุกสิ่งอย่างเข้าปาก

 

2. บล็อกน้ำหลากสี

Colored-Ice-Cubes

ที่ทำน้ำแข็งที่ทุกบ้านมี เอามาให้ลูกเช่นได้ค่ะ เอามาใส่สีต่างๆ เช่น สีแดง ฟ้า เหลือง ส้ม แล้วลองให้ลูกใช้ที่หยดทีละหยด เพื่อดูความแตกต่างกันของความเข้มของสี หลังจากที่เอาเข้าช่องแช่แข็ง ก็สามารถให้ลูกมาลองสังเกตได้เช่นกันค่ะ อย่าลืมบอกชื่อสีต่าง ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ จากนั้นให้ลูกดูเวลาที่น้ำแข็งละลาย นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสอนเรื่องของอุณหภูมิได้อีกด้วยนะคะ

 

3. ต่อบล็อก

Building-Blocks

การต่อบล็อกไม่เคยเอ้าท์ค่ะ หาบล็อกที่แตกต่างทั้งเรื่องรูปทรง สี และผิวสัมผัส เป็นไม้บ้าง พลาสติกบ้าง ผ้าบ้าง ยางบ้าง ช่วยให้พัฒนาการในเรื่องการมองเห็น การใช้เหตุผล การวางแผน และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อของลูกด้วยค่ะ

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

 

4. สารพันบอลบอล

Texture-Balls

ส่วนใหญ่เด็กผู้ชายจะอินกับลูกบอลแต่เด็กผู้หญิงก็ชอบเช่นกัน ลูกบอลบาง ลูกบาสลูกเล็ก ๆ ลูกเทนนิส ลูกบอลผ้า ต่างสี ต่างขนาด ต่างรูปร่าง ต่างน้ำหนัก ช่วยให้เด็กๆ ได้รู้ถึงความแตกต่างได้อย่างดีค่ะ แต่ก็มีสิ่งที่ควรระวังเช่นกัน ในเรื่องของการขว้างปาต่าง ๆ จัดพื้นที่ให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ โดยเอาของที่เสี่ยงพัง เสี่ยงแตกหักออกไปจากบริเวณนั้นด้วยนะคะ

 

5. อาหารก็เล่นได้

Foods

แม้อาจจะขัดใจคุณพ่อคุณแม่หรือคนรุ่นเก่าไปบ้าง และแม้ว่าอาจจะดูเหมือนการเอาอาหารมาให้ลูกเล่น แต่นั่นก็คือกระบวนการเรียนรู้ของลูกค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าผ่านการเล่น อาหารนั้นเนื่องจากเอาเข้าปากได้ จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้สอนเรื่องศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรสสัมผัส รสชาติ อุณหภูมิ เช่น เส้นพาสต้า เส้นก๋วยเตี๋ยว แพนเค้ก ข้าว ขนมปัง ขนมปังกรอบ ขนมอบ ธัญพืช และต่างๆ อีกมากมาย นอกจากนี้เรื่องกลิ่นก็ด้วยนะคะ อย่างกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็น หรือบางทีกลิ่นสมุนไพรต่าง ๆ ก็ทำให้เจ้าหนูแปลกใจได้เหมือนกัน

 

6. ตะกร้าหลากเสียง

Sound-Basket

หาตะกร้าใบเล็ก ๆ รวบรวมของเล่นที่ส่งเสียงได้มาไว้ในตะกร้า จากนั้นลองดูว่าของเล่นแต่ละอย่างให้เสียงยังไงบ้าง เช่น ขวดน้ำพลาสติกที่ไม่มีน้ำแล้ว แก้วพลาสติก เครื่องดนตรีชิ้นเล็กหน่อย ช้อนพลาสติก ช้อนสเตนเลส แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเตรียมใจแล้วว่า ของที่อยู่ในตะกร้านี้ โดนเคาะกันแน่ ๆ ค่ะ

 

นอกจากการฝึกฝนดังข้างต้นแล้ว แม่รู้มั้ยคะว่า สารอาหารสมองก็มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการ ให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาประสาทสัมผัสด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่การให้ลูกได้ทานนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย หรือนานกว่านั้นเท่าที่จะให้ได้ เพราะในนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการสมอง อย่าง DHA และ MFGM (Milk Fat Globule Membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ ผลิตจากต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมให้คงรูปอยู่ได้ อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพมากกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด โคลีน และแกงกลิโอไซด์ ช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณของประสาท และช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อสมองของลูกน้อยมีพัฒนาการดี คิดได้เร็ว คิดได้ไว ก็จะเป็นผลดีต่อการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้อย่างไม่สะดุดนั่นเองค่ะ 

 

หากคุณพ่อคุณแม่สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ MFGM และการเสริมพัฒนาการสมองของลูกเพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ ที่นี่ 

 

ที่มา Momjunction

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว

10 วิธีเล่นเพื่อพัฒนาสมองลูก เล่นอะไรกับลูกแล้วลูกฉลาดบ้าง

รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

วิธีเล่นกับลูกยังไง ในวัย 0-3 เดือน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว