พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 6 ขวบมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี เติบโตแค่ไหน

 

พัฒนาการเด็ก 6 ปี 6ขวบ

จากวันแรก ณ โรงเรียนอนุบาลที่ลูกร้องงอแง จวบจนวันนี้ ลูกได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ใหญ่ไปอีกขั้น ลูกจะไม่ใช่เด็กอนุบาลอีกต่อไป ลูกกำลังจะกลายเป็นเด็กประถมแล้วนะ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ลูกเคยทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ในวันนี้พัฒนาการของลูกพิสูจน์แล้วว่า ลูกจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและฉลาดสมวัย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่ต้องไม่เปรียบเทียบลูกตัวเองกับเด็กคนไหน เพราะลูกของเรามีความรู้ความสามารถเฉพาะตัว เพียงแค่พ่อแม่ต้องหาให้เจอ อย่างไรก็ตาม หากพัฒนาการของลูกช้าจนน่าตกใจ มีข้อสงสัยว่า ลูกมีปัญหาสุขภาพหรือไม่ อย่าลังเลที่จะปรึกษากุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 6 ขวบ

ลูกน้อยวัย 6 ปี มีร่างกายที่แข็งแรง เคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว สนุกสนานกับการกระโดดโลดเต้น พ่อแม่จึงต้องให้ลูกได้ปลดปล่อยพลังงานด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหว ซึ่งสำคัญกับพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ โดยเฉลี่ย

ลูกชายวัย 6 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนสูง : 115.5 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 20.8 กิโลกรัม

ลูกสาววัย 6 ขวบ

ส่วนสูง : 115.0 เซนติเมตร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนัก : 20 กิโลกรัม

ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบที่ทำได้

  • ลูกสามารถผูกเชือกรองเท้าเองได้
  • เตะบอลไปที่โกล หรือยิงประตูได้
  • ขว้างบอลลงตะกร้า หรือปาบอลใส่เป้า
  • ฟันแท้เริ่มขึ้นแล้ว
  • เริ่มใช้อุปกรณ์บางอย่างได้ เช่น กรรไกร หรือจับปากกาอย่างถูกต้อง
  • วาดรูปได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
  • เขียนตัวหนังสือได้อย่างถูกต้อง ไม่ค่อยบิดเบี้ยวแล้ว โดยเฉพาะเด็กที่ฝึกการคัดลายมือ
  • เข้าใจจังหวะและท่องทำนองของดนตรี ขยับตัวตรงจังหวะ เต้นตามจังหวะเพลงได้
  • ใช้ช้อนส้อมอย่างถูกต้อง
  • ทรงตัวได้ดี มีการประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ดีขึ้น
  • ชอบที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วิ่ง กระโดด หรือว่ายน้ำ

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • ให้ลูกเข้าร่วมทีมกีฬา หรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ เพื่อเสริมพัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว เพราะการที่ลูกได้ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬากับผู้อื่น นอกจากจะช่วยพัฒนาทักษะทางร่างกายแล้ว กีฬายังทำให้ลูกเข้าใจทีมเวิร์คหรือการทำงานเป็นทีม พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และยังทำให้ลูกรู้จักจดจ่อตั้งใจทำกิจกรรมอีกด้วย
  • ในทุก ๆ วัน ควรมีเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงที่ลูกได้ทำกิจกรรม เพื่อฝึกทักษะทางร่างกายในวันหยุด
  • การสนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่ลูกก็ต้องเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยด้วย
  • การดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ เล่นมือถือหรือแท็บเล็ต ควรมีช่วงเวลาที่จำกัดไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
  • ถ้าลูกทำกิจกรรมนอกโรงเรียน วิ่งเล่นปีนป่าย หรือว่ายน้ำ พ่อแม่ควรจะคอยสังเกตการณ์อยู่ห่าง ๆ เพื่อไม่ให้ลูกเป็นอันตราย
  • สอนลูกเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการข้ามถนน หรือนั่งอยู่ในรถก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ
  • การกินอาหารเพื่อสุขภาพทั้งครอบครัว จะทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้น ในทุก ๆ มื้อ ควรมีผักและผลไม้วางอยู่บนโต๊ะ

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ ไปพบกุมารแพทย์

  • มีปัญหาในการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ง่าย ๆ
  • เมื่อลูกมีปัญหาในการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการ
  • นอนหลับยากในตอนกลางคืนหรือมีปัญหาในการนอนหลับ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบเสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 

ลูกวัย 6 ขวบมีความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ที่มากขึ้น ทำให้ลูกสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้แล้ว เด็กวัยนี้ยังคงเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ แต่ก็มีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำอะไรด้วยตัวคนเดียว มีความคิดอยากเป็นอิสระ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีความคิดเช่นนี้มากน้อยแตกต่างกันไป

ช่วงวัย 6 ขวบ เด็ก ๆ จะมองทุกอย่างด้านเดียว เช่น ขาวหรือดำ ใจดีหรือใจร้าย ซึ่งเป็นเรื่องของพัฒนาการ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจที่จะสอนลูกในเรื่องราวต่าง ๆ อีกไม่นาน ก็จะเห็นลูกมองอะไรหลายมุมมากขึ้น และเมื่อเติบโตขึ้น ลูกก็จะเรียนรู้ว่า บนโลกใบนี้นอกจากจะมีสีขาวและสีดำแล้ว ยังมีสีเทาอยู่ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบที่ทำได้

  • ลูกเริ่มมีอารมณ์ขัน เข้าใจมุกตลก หรือแม้แต่การเล่นคำ คำผวนตลก ๆ
  • บอกใครต่อใครเรื่องอายุของตัวเองได้
  • ใช้ตรรกะและเหตุผลได้ดี
  • มีสมาธิที่ดีขึ้น สามารถตั้งใจทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้นานกว่า 15 นาที
  • นับเลขได้ดี นับได้เกิน 1-20 แล้ว
  • พอจะนับถอยหลังได้แล้ว
  • บอกเวลาเป็นชั่วโมงได้แล้ว เช่น 10 โมง ทั้งยังรู้ความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • ปล่อยให้ลูกลองแก้ปัญหาด้วยตัวเองเสียก่อน เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งยังช่วยให้ลูกเรียนรู้การแก้ปัญหา แต่เมื่อลูกร้องขอความช่วยเหลือในท้ายที่สุด ก็สามารถเข้าไปช่วยแนะนำได้
  • ให้ลูกได้ลองเลือกหรือตัดสินใจเรื่องง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช่น เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ไปเที่ยว หรือเลือกเมนูที่อยากทาน
  • พูดคุยกับลูกด้วยคำถามปลายเปิด ปล่อยให้ลูกได้แสดงความคิดและปลดปล่อยจินตนาการออกมา เช่น ทำไมลูกชอบสีฟ้า หรือลูกชอบทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียน เพราะอะไรลูกถึงชอบ
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นสิ่งที่ลูกสามารถเรียนรู้ได้ การให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านกิจวัตรประจำวัน จะช่วยให้สนุก ไม่เครียด และเข้าใจได้มากขึ้น เช่น เวลาพาลูกเดินเล่นที่สวนสาธารณะก็สอนเรื่องธรรมชาติ หรือพาลูกไปซื้อของที่ตลาด ก็สามารถสอนคำศัพท์ ด้วยการชี้ชวนให้ดูสภาพแวดล้อม
  • พยายามพูดคุยกับลูก โดยสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ พูดกับลูกให้เหมาะสมกับวัย เพราะลูกเริ่มโตแล้ว ไม่ใช่เด็ก ๆ อีกต่อไป

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกไม่สามารถทำตามคำสั่ง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้ เช่น ตอนถึงบ้านแล้วลูกกินข้าวเสร็จ ให้ทำการบ้าน แล้วแม่ถึงจะให้ออกไปเล่นกับเพื่อน
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

 

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 

เจ้าตัวน้อยจะสนุกสนานกับการมีเพื่อน เล่นกับเพื่อน ลูกจะสร้างมิตรภาพใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในวัยแห่งการเรียนรู้ ลูกจะเข้าใจกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยมากขึ้น ควรมีเวลาที่แน่นอน สำหรับการให้ลูกไปเล่นกับเพื่อน

ทักษะการเข้าสังคมของลูกดีขึ้นแล้ว ลูกเรียนรู้ที่จะประนีประนอมในความสัมพันธ์ ทั้งยังเริ่มมีเพื่อนสนิทแล้วด้วย นอกจากนี้ ลูกก็จะรับฟังความเห็นของเพื่อน ๆ ให้ความสำคัญกับเพื่อน ๆ พยายามทำให้เพื่อน รวมถึงคุณครูพึงพอใจ เพราะเด็กวัยนี้จะเข้าใจเรื่องอารมณ์ และแคร์ความรู้สึกของคนอื่น

ส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ มีดังนี้

  • แสดงความเป็นห่วงผู้อื่น
  • อยากให้คนอื่นชอบ และอยากเป็นที่ยอมรับ
  • ชอบที่จะเล่นกับเพื่อน ๆ
  • เข้าใจความสำคัญของการเป็นทีมเวิร์ค หรือทำงานเป็นทีม
  • ชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน
  • สามารถบอกอารมณ์หรือความรู้สึกในตอนนี้ได้

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • สอบถามลูกเรื่องโรงเรียนทุกวัน โดยเฉพาะเวลาที่ลูกเครียด หรือดูวิตกกังวล ควรให้กำลังใจและช่วยแก้ปัญหา
  • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกกัน สอนให้ลูกรู้จักแก้ไขปัญหา และปลูกฝังอย่าให้ลูกไปแกล้งใคร หรือล้อเลียนคนอื่น
  • ปลูกฝังลูกเรื่องการเคารพผู้อื่น และสอนให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
  • ให้ลูกช่วยทำงานบ้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย งานบ้านจะช่วยฝึกเรื่องระเบียบวินัย เช่น การเก็บที่นอนทุกเช้า
  • การให้ลูกทำงานบ้านจะช่วยฝึกความรับผิดชอบ ทำให้ลูกดูแลตัวเองได้ เอาตัวรอดเป็น รวมทั้งการให้ลูกช่วยทำอาหารตั้งแต่เล็ก ก็เป็นเรื่องดี ช่วยให้ลูกเข้าใจการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย
  • ถ้าลูกทำผิดก็ต้องตักเตือน ถ้าลูกทำดีก็ต้องชื่นชม การอบรมสั่งสอนลูกต้องทำอย่างพอดี ใช้เหตุผลให้มากและลดการใช้อารมณ์
  • ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมในโรงเรียนและนอกห้องเรียน แต่อย่าให้ตารางชีวิตของลูกอัดแน่นจนเกินไป ปล่อยให้ลูกได้พักผ่อนบ้าง

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบไปพบกุมารแพทย์

  • ถ้าลูกยังไม่สามารถทำอะไรเองเพียงคนเดียวได้เลย และวิตกกังวลอย่างรุนแรง เมื่อรู้ว่าพ่อแม่จะไม่อยู่ใกล้ ๆ
  • หากลูกปฏิเสธที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น หรือไม่ยอมยุ่งเกี่ยวกับใครเลย

 

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ

เด็กวัยประถมศึกษามักจะคุยเก่ง ชื่นชอบการพูดคุย ตอบโต้ มีคลังคำศัพท์ใหม่ ๆ มาเถียงให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ความสนใจใคร่รู้ของลูกดูเหมือนจะไม่น้อยลงเลย ยังชอบช่างซักช่างถามอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม วัยนี้ลูกจะเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น แม้ว่ายังใช้ได้ไม่เยอะ แต่พ่อแม่รู้ไหมว่าหนูเข้าใจเรื่องที่คุยกันอยู่ สำหรับพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของลูก เช่น

  • พูดประโยคยาว ๆ ได้มากขึ้น เรียงลำดับประโยคได้ดี แม้จะเป็นประโยคง่าย ๆ แต่ก็ใช้รูปประโยคได้อย่างถูกต้อง
  • ลูกสามารถพูดคุย อธิบายประสบการณ์ บอกเล่าความรู้สึกนึกคิด ได้อย่างชัดเจน และเลือกใช้คำที่ถูกต้อง
  • เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้แล้วว่า ในคำบางคำ มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย
  • หากปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เล็ก พ่อแม่จะเห็นว่า ลูกชอบหนังสือประเภทไหนเป็นพิเศษ
  • เพื่อนที่โรงเรียน และคนรอบตัว มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เด็ก ๆ จึงจดจำคำใหม่ ๆ มาพูดกับพ่อแม่ได้เสมอ

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • ฝึกให้ลูกอ่านหนังสือจนเป็นนิสัย อาจจะเป็นนิทานที่สนุก หนังสือที่เข้าใจง่าย ลองสลับกันอ่านกับลูก แต่อย่ากดดัน ถ้าลูกยังอ่านคำบางคำไม่ได้ เพราะการอ่านหนังสือควรเป็นเวลาที่สนุกร่วมกัน
  • สอบถามลูกเรื่องโรงเรียน เพื่อกระตุ้นให้ลูกพูด และพัฒนาการใช้คำศัพท์ โดยส่งเสริมให้ลูกอธิบายถึงความรู้สึกและเล่าเรื่องราวที่พบเจอในแต่ละวัน วิธีนี้จะทำให้ลูกมั่นใจในการพูดคุย ทั้งยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย
  • อย่าเพิกเฉยกับคำถามของลูก พยายามให้ความสนใจเมื่อลูกพูดคุยด้วย

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกยังไม่สามารถเรียบเรียงคำพูด หรือสร้างประโยคที่สมบูรณ์ได้เลย
  • ไม่ยอมเขียนหนังสือ หรือไม่สนใจการอ่านหนังสือ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบเสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

สุขภาพและสารอาหาร

เด็กในวัยนี้มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับความต้องการพลังงานของเด็กวัยนี้คือ 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน

ส่วนน้ำหนักตัวคือ 19 กิโลกรัม ความสูงอยู่ราว ๆ 115 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานในแต่ละวัน เพศของเด็ก และพันธุกรรม

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบนั้นต้องการอาหารอยู่ที่ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กผู้ชายต้องการ 1,760 กิโลแคลอรี่  ต่อวัน

เด็กผู้หญิงต้องการ 1,644 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

 

สารอาหาร ปริมาณ ไอเดียมื้ออาหาร
แคลอรี่ 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต และกิจกรรมที่ลูกทำ แซนวิชไก่ชีส, ซีเรียลใส่นม, ซุปไก่และผัก
โปรตีน 0.5 ถ้วย ปลานึ่ง หรือไข่ต้ม
ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย มื้อที่กินซีเรียล สามารถใส่ผลไม้หั่นชิ้นพอดีคำใส่ลงไปด้วยได้ หรือใส่ผลไม้หลากชนิดลงในโยเกิร์ต
ผัก 1.5-2.5 ถ้วย เลือกผักที่มีไฟเบอร์และธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม แครอท และบีทรูท
ข้าวและธัญพืช 3/4 ถ้วยตวง ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นพาสต้า
ผลิตภัณฑ์จากนม 2.5 ถ้วย นมสด 1 แก้ว หรือเลือกโยเกิร์ต
  • อาหารของลูกต้องครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้อ จัดตามปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัย
  • ซื้อขนมหรือของว่างที่ดีต่อสุขภาพไว้ในบ้าน ไม่ควรให้ลูกกินขนมหวานบ่อย ๆ และต้องดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่เล็ก
  • การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเด็กที่มีกิจกรรมกลางแจ้งบ่อย ๆ

 

วัคซีนและอาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ

อาการเจ็บป่วยของเด็ก 6 ขวบที่ต้องระวัง เช่น ไข้หวัด โรคอีสุกอีใส โรคหัด โรคคางทูม โรคมือเท้าปาก ดังนั้น ถ้ามีวัคซีนบางชนิด ที่ต้องฉีดทุกปี อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนด้วย

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบแต่ละคนแตกต่างกันไป พ่อแม่ต้องสังเกตให้ดี หากรู้สึกว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบปรึกษาแพทย์

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 11 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 10 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก แต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี [ออนไลน์] เช็กเลย!

 

บทความโดย

Tulya