เพียงแค่พริบตาเดียว ลูกก็ก้าวเข้าสู่วัย 3 ขวบ และกำลังจะเข้าโรงเรียนเสียแล้ว ในช่วงวัยนี้ บางครอบครัวอาจจะให้ลูกเข้าเตรียมอนุบาลแล้วก็ได้ ถึงแม้ว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่กำลังเรียนรู้โลกใบใหม่อีกใบ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาได้อยู่กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ดี หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนมีความสนใจอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ กิจกรรมอะไรที่ควรจะเล่นกับลูกวัยนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูก มาดู ไอเดียเล่นกับลูกวัย 3 ขวบ ที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ มีกิจกรรมเล่นกับลูกไปทั้งเดือนเลยทีเดียว
ไอเดียเล่นกับลูกวัย 3 ขวบ กิจกรรมง่าย ๆ สนุกได้ทั้งครอบครัว
เด็กวัย 3 ขวบ มีความสนใจอะไรบ้าง
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัย 3 ขวบ ลองสังเกตดู จะพบว่าลูกเริ่มที่จะแสดงอารมณ์ที่หลากหลาย พวกเขามีความคิดเป็นของตัวเอง ขี้เล่น และรู้จักความกลัว สิ่งที่ลูกวัยนี้สนใจเป็นพิเศษ ก็คือ
- สนใจ อยากรู้อยากเห็น และอยากลองสิ่งใหม่ ๆ หรือไปในสถานที่ที่ไม่เคยไป
- เริ่มเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
- ค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะแสดงความห่วงใย และปลอบใจเพื่อน
- พร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องการแบ่งปัน หรือผลัดกันเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
- เอาของเล่นมาใช้แสดงบทบาทสมมติ อย่างเช่น เล่นทำกับข้าว เป็นต้น
- เริ่มรู้จักการแก้ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ
- แสดงอารมณ์หลากหลายที่มากกว่าแค่มีความสุข เสียใจ หรือ โกรธ
ลูกอาจจะยังลังเล และไม่กล้าที่จะลอง หรือรับมือกับสิ่งใหม่ ๆ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมให้กำลังใจ เพื่อให้ลูกมีความกล้ามากขึ้น การให้เวลากับลูก ทำกิจกรรมร่วมกัน และให้โอกาสลูกในการตัดสินใจเรื่องบางอย่าง จะช่วยในการพัฒนาทักษะด้านสังคมให้ลูก มาดูกันมีกิจกรรมอะไรบ้าง ที่พ่อแม่สามารถชวนลูกมาเล่นสนุกด้วยกันได้ทั้งครอบครัว
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัย 3 ขวบ ลองสังเกตดู จะพบว่าลูกเริ่มที่จะแสดงอารมณ์ที่หลากหลาย พวกเขามีความคิดเป็นของตัวเอง ขี้เล่น และรู้จักความกลัว
ไอเดียเล่นกับลูกวัย 3 ขวบ กิจกรรมง่าย ๆ สนุกได้ทั้งครอบครัว
1. เล่นแป้งโดว์กับเส้นสปาเก็ตตี้แห้ง
2. จัดมุมหนังสือแล้วชวนลูกอ่าน อ่าน และอ่าน
3. เล่นเป็นคุณหมอกับคนไข้
4. เล่นเกมทายปัญหาอะไรเอ่ย
5. ชวนลูกดูภาพถ่ายครอบครัว
6. สร้างปราสาททรายหรือสร้างป้อมปราการสูง ๆ
7. กินข้าวกลางวันนอกบ้าน
8. เล่นกล่อง (ลัง)
9. ระบายสี
10. แปะสติ๊กเกอร์
11. เล่นกีฬาในสนามหญ้า
12. เล่นทำขนมหวาน
13. เล่นสระเป่าลม
14. รดน้ำต้นไม้
15. เต้นระบำ
16. เล่นทำกับข้าว
17. เล่นน้ำจากสายยาง
18. แต่งตัวตุ๊กตา
19. ถ่ายภาพด้วยกันด้วยหน้าตลก ๆ
20. เล่นซ่อนแอบ
วิ่งเล่นด้วยกันบนสนามหญ้า
21. เล่นกอดกัน (Cuddle)
22. ปั๊ม ๆ ตราประทับ
23. วาดมือวาดเท้าลูก
24. เขียนบันทึกการเดินทางด้วยดินสอสีหรือตราประทับโดยให้ลูกเป็นคนเล่า
25. ไปทะเล
26. ไปห้องสมุด
27. ชวนลูกทำงานบ้าน
28. เล่นเป็นหมอฟันกับคนไข้
29. ระบายสีนิ้วมือ
30. ใช้ชอลก์ระบายสีบนกระดาษแผ่นใหญ่
31. เล่นแต่งตัว
32. เล่นต่อบล็อก
33. เล่นบทบาทสมมติเป็นคุณครูกับนักเรียน
34. เล่นเป่าฟองสบู (Bubbles)
35. เล่นแปะเศษกระดาษ
36. ต่อตึกสูง ๆ จากวัสดุเหลือใช้
37. ล้างรถ
38. ชวนกันถ่ายรูป
39. อ่านหนังสือนอกบ้าน
40. ทำความสะอาดจักรยาน
41. ไปท่องเที่ยว
42. เล่นเป็นกัปตันขับเครื่องบิน หรือขับรถไฟด้วยเก้าอี้
43. เช็ดหน้าต่าง
ออกไอเดียแต่งตัวสนุก ๆ ด้วยกัน
กิจกรรมเหล่านี้ เป็นการเล่นที่แสนง่ายมาก ๆ สำหรับเด็ก ๆ และนำสิ่งรอบตัวมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสำหรับลูกได้ ในระหว่างเล่นด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสอดแทรกการเรียนรู้เหล่านี้เข้าไปด้วยก็ได้ เช่น สอนลูกนับเลข อ่านชื่อตัวเอง หรือแบ่งแยกสีต่าง ๆ ออกจากกัน จะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี และเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ให้กับลูกด้วย
ตัวอย่างกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้ลูก สู่โลกแห่งการเรียนรู้
-
เรียนคำศัพท์จากชื่อของตัวเอง
คุณพ่อคุณแม่สามารถติดชื่อของลูกตัวโต ๆ เอาไว้ที่ส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เช่น ห้องนอนของลูก ห้องน้ำ โต๊ะทานข้าว ฯลฯ อ่านให้ลูกฟัง และชี้ชวนให้ลูกดูตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นชื่อของเขา เพราะเด็กในวัยนี้สามารถเรียนรู้ภาพอักษรต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นชื่อของตัวเอง รวมถึงสอนคำศัพท์โดยเริ่มจากตัวอักษรในชื่อของลูก เช่น ถ.ถุง จากชื่อ ถิงถิง แล้วก็มาจาก ถ้วย ถัง กระโถน เป็นต้น
-
หัดอ่านเครื่องหมายรอบ ๆ ตัว
เมื่อออกไปข้างนอก สิ่งหนึ่งที่จะพบเห็นได้ก็คือป้ายต่าง ๆ รอบตัว สัญญาณจราจร ป้ายบอกทาง ป้ายลดราคาในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ก็สามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับลูกได้เช่นกัน ชี้ให้ลูกดู พร้อมกับอ่านคำต่าง ๆ ที่พบเห็นบนสัญลักษณ์นั้นให้ลูกฟัง ช้า ๆ ชัด ๆ เด็กจะเชื่อมต่อภาพที่เห็น กับเสียงที่พ่อแม่อ่าน และซึมซับการออกเสียงไปพร้อม ๆ กันด้วย
ลูกอาจจะท่องจำตัวเลข 1 – 10 ได้อย่างแม่นยำ แต่ความสามารถในการนับจำนวนจริง ๆ จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงวัย 3 – 4 ขวบ คุณแม่อาจจะสอนลูกนับเลข ตอนแต่งตัว เช่น ติดกระดุมเม็ดที่หนึ่ง เม็ดที่สอง เม็ดที่สาม หรือนับจำนวนอาหารในจานของลูก อย่าลืมนับนิ้วไปพร้อม ๆ กับการออกเสียงไปด้วย เพราะให้ลูกเข้าใจ และทำตามแบบอย่างที่พ่อกับแม่ทำนั่นเอง
-
แบ่งประเภท รูปทรงต่าง ๆ และสีที่แตกต่างกัน
เด็ก ๆ มีความสามารถในการจัดแยกประเภทต่าง ๆ อย่างคาดไม่ถึง คุณพ่อคุณแม่อาจจะมอบหมายงานจัดแยกประเภทเล็ก ๆ ให้ลูก เช่น มอบหมายให้ลูกแยกประเภทถุงเท้า โดยแบ่งจากสี ลวดลาย หรือขนาด หรือให้ลูกช่วยจัดแยกช้อน กับส้อมออกจากกันก็ได้ นอกจากนี้ ก็ยังสามารถามคำถามเกี่ยวกับจำนวนว่า สิ่งไหนมากกว่าสิ่งไหน หรือถามความคิดเห็นว่า ลูกชอบถุงเท้าสีอะไรมากกว่ากัน
-
สร้างหนังสือประกอบภาพจากรูปทรงต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
แทนที่จะเรียนรู้จากหนังสือที่ซื้อมาจากร้านเพียงอย่างเดียว ลองให้ลูกวาดรูปด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปทรงเรขาคณิตใด ๆ ปล่อยให้ลูกได้ปลดปล่อยจินตนาการอย่างเต็มที่ จากนั้นก็ออกไปตามหาวัตถุที่มีรูปทรง หรือขนาดคล้ายกับผลงานของลูกด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะถ่ายรูปวัตถุ หรือสิ่งของที่ลูกชนิดนั้น แล้วนำมาแปะลงบนสมุด คู่กับรูปทรงที่ลูกวาด เท่านี้ ก็เป็นผลงานศิลปะจากมือน้อย ๆ และจินตนาการของลูกแล้ว
การเรียนรู้ของลูก ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือนิทาน แบบฝึกหัดการอ่าน หรือของเล่นเสริมพัฒนาการลูกเพียงเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นสนุกกับลูก พร้อมกับสอนให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวไปด้วย เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย และเต็มไปด้วยความสุข
นำสิ่งรอบตัวมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสำหรับลูกได้ ในระหว่างเล่นด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสอดแทรกการเรียนรู้เข้าไปด้วย
Credit : www.notimeforflashcards.com , www.understood.org , www.parents.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
13 เหตุผล ทำไมลูกวัย 3 ขวบ ถึงดีจับใจและแสบจับจิต
พัฒนาการเด็กวัย 3 ขวบถึง 3 ขวบครึ่ง และเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!