ท่าทารกในครรภ์ ท่าไหนคลอดยาก แม่ท้องรู้ไหมท่าไหนต้องผ่าคลอด?

ท่าของทารกก่อนคลอดมีความสำคัญมาก เพราะหากทารกมีท่าที่ผิดท่าไป อาจทำให้คุณแม่คลอดยาก จนต้องผ่าคลอดได้ มาดูกันว่า ท่าไหนที่คลอดยากและท่าไหนของลูกที่คลอดง่ายบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่าทารกในครรภ์ มีผลต่อการคลอดของคุณแม่ เรามักจะได้ยินว่า แม่ท้องไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ หากทารกยังไม่กลับหัว นี่คือภาวะฉุกเฉินหนึ่ง ว่าทำไมแพทย์ส่วนใหญ่จึงตัดสินใจผ่าคลอด แม้จะเตรียมตัวคลอดธรรมชาติมาแล้วก็ตาม เราไปดูกันว่า ท่าของลูกน้อย ท่าไหนยาก ท่าไหนง่าย ต่อการคลอดบ้าง

 

ท่าทารกในครรภ์ หมายถึงอะไร

คุณแม่จำภาพอัลตร้าซาวด์ ท่าทารกในครรภ์ ครั้งแรกได้ไหมคะ คงจำได้ดีกับภาพท่าของลูกน้อยที่ยังตัวเล็กๆ อยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ลูกจะเริ่มดิ้นแรงขึ้น ขยับไปมาจนคุณแม่รู้สึกบางครั้งอาจจะทำให้นอนไม่หลัยกันเลยทีเดียว แต่เชื่อว่า นั่นคือความภูมิใจและความตื่นเต้นที่ทราบว่าลูกยังแข็งแรงดี

เมื่อเวลาใกล้คลอด คุณหมอจะนัดอัลตร้าซาวด์เพื่อดูว่า ทารกอยู่ในท่าใด พร้อมสำหรับการคลอดธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน (สำหรับคุณแม่ที่ตั้งใจคลอดธรรมชาติ) ซึ่งจะมีทั้งท่าที่คลอดง่าย และท่าที่คลอดยาก ลองไปดูว่ามีท่าอะไรบ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกในท้องเริ่มกลับหัวตอนไหน ทำอย่างไรให้ลูกในท้องกลับหัวเร็วๆ

 

 

ท่าทารกในครรภ์ ที่คุณแม่คลอดลูกง่าย

1. ท่าทารกเอาศีรษะลง

Left Occiput Anterior (LOA) หรือท่าทารกเอาหัวลง ท่านี้จะทำให้คุณแม่คลอดง่ายมาก เนื่องจากส่วนหัวลงมาอยู่ปากช่องคลอด โดยที่บริเวณท้ายทอยอยู่ตรงด้านซ้ายของอุ้งเชิงกราน ท่านี้ลูกน้อยจะรู้สึกปลอยภัยและสบาย รวมไปถึงคุณแม่ด้วย สามารถคลอดธรรมชาติได้ง่ายและปลอดภัย

 

2. ทารกมีศีรษะพุ่งเตรียมคลอด

Right Occiput Anterior (ROA) ท่านี้คล้ายๆ ลูกเอาศีรษะลง แต่หัวเด็กจะพุ่งนำมาก่อนท้ายทอย ไม่ขดเล็กน้อยเหมือนท่าแรก ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านขวาของอุ้งเชิงกราน เป็นท่าที่ทำให้คุณแม่คลอดง่ายเช่นกัน และสามารถคลอดธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย (หากมีไม่มีการติดเชื้อจากบริเวณปากมดลูกทั้งสองท่า)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ท่าทารกในครรภ์ ที่คุณแม่คลอดยาก (อาจต้องผ่าคลอด)

1. ทารกนอนแนวขวางเบี่ยงซ้าย

Left Occiput Transverse (LOT) หากท้ายทอยลูกของคุณแม่อยู่ในลักษณะนอนแนวขวางบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยเบี่ยงร่างไปทางซ้ายของท้อง ท่านี้จะสร้างความเจ็บปวดให้คุณแม่มากเวลาคลอดธรรมชาติ อาจกินเวลานานจนถึงขั้นทรมานเลยทีเดียว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ทารกนอนเบี่ยงไปทางซ้าย

Left Occiput Posterior (LOP) เป็นท่าที่ทารกจะเบี่ยงท้ายทอยไปยังบริเวณด้านซ้ายของอุ้งเชิงกรานคุณแม่ แต่หันหน้าออกไปทางด้านขวา นั่นหมายความว่า ท่าทางไม่สัมพันธ์กันทารกไม่อยู่ในท่าทีขดตัวพร้อมจะออกอย่างง่ายๆ ท่านี้จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังทั้งก่อนคลอดและทำให้การคลอดยาวนานขึ้น ซึ่งสร้างความทรมานต่อมารดาไม่น้อย

 

3. ทารกนอนแนวขวางเบี่ยงขวา

Right Occiput Transverse (ROT) เป็นท่าที่ทารกนอนแนวขวางไปทางขวาของบริเวณอุ้งเชิงกราน ท้ายทอยจะขวางแนวช่องคลอด ทำให้คลอดยาก ท่านี้คล้ายท่าที่ 1 (LOT) แต่สลับคนละด้าน ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดทรมานให้แม่ท้องเช่นกัน

 

4. ท่าศีรษะพุ่ง

Right Occiput Posterior (ROP) ท่าศีรษะลูกน้อยพุ่งนำ ดูเหมือนจะคลอดง่าย แต่ติดอยู่ตรงที่บริเวณท้ายทอยของทารก ไปติดอยู่บริเวณด้านหลังขวาของอุ้งเชิงกรานคุณแม่ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม คุณแม่มีอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งท่านี้จะทำให้คลอดยาก และหากเด็กตัวใหญ่อาจต้องตัดสินใจผ่าคลอดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ทารกเอาก้นกบนำ หรือ ท่าก้น

Breech Position หากอยู่ในท่าเอาก้นลงแล้ว ทางเดียวคือ แพทย์ต้องตัดสินใจผ่าคลอดเพื่อรักษาชีวิตเด็ก เนื่องจากเขาไม่ยอมกลับหัวแม่จะถึงกำหนดคลอดแล้วก็ตาม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ

  • งอก้นกบทั้งสองข้าง (Frank Breech) จะมีลักษณะการงอของข้อสะโพกขดก้นทิ่มลง และข้อเข่าเหยียดออก
  • งอก้นกบและเข่า (Complete Breech) ลักษณะของการขดตัวของทารกจะพร้อมไปกับเข่าทั้งสองคล้ายม้วนตัว แต่เอาก้นและสะโพกลงสู่ปากช่องคลอด
  • เอาขาลง (Incomplete Breech) ยังเป็นท่าที่เอาก้นลงและ ขาของทารกข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อยู่ต่ำกว่าสะโพก หรือที่เราเข้ากันว่าทารกเอาขาออก ซึ่งอันตรายมากเพราะท่านี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำแตกนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกไม่กลับหัว แพทย์ช่วยกลับหัวอย่างไร

 

ท่าทารกในครรภ์ ผิดท่า แพทย์จะทำอย่างไร

เมื่อถึงเวลาคลอด พบว่า ทารกมีลักษณะของท่าทางที่จะออกจากครรภ์มารดานั้นผิดท่าไปจากปกติ เรามาดูว่า คุณหมอจะแก้ปัญหาในเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

  • ทารกท่าก้น ท่านี้พบบ่อยที่สุด เพราะลูกจะเอาก้นนำอย่างที่กล่าวไปในเบื้องต้น คือ ไม่ได้เอาศีรษะลงตามปกติ บางท่าเอาเท้าลงก่อน ซึ่งคุณหมอจะตัดสินใจผ่าคลอดทันทีเพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก แต่หากไม่ได้เอาเท้าลงอาจจะพิจารณาให้คลอดธรรมชาติได้แต่ต้องอยู่ในความวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนและปลอดภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะปลอดภัยและรอดชีวิตถึง 80 %
  • ทารกท่าขวาง ท่านี้พบรองลงมาจากท่าก้น ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ 2 ทางคือ ตัดสินใจผ่าคลอดหรือ พยายามหมุนตัวทารกให้ศีรษะลงมาบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งหากทำสำเร็จก็จะเป็นวิธีหนึ่งที่ปลอดภัยโดยไม่ต้องผ่าคลอด
  • ท่าพุ่งศีรษะ จริงๆ แล้วท่านี้ดูเหมือนจะไม่อันตรายเพราะเอาหัวลง แต่การที่ทารกเอาหัวลงแต่เงยหน้าขึ้นทำให้อันตรายมาก ต้องทำการผ่าคลอด เนื่องจากเขาไม่ขดศีรษะลง ถ้าคางของทารกที่ชี้ไปทางหัวหน่าวของแม่ (พุ่งตรงแต่ไม่เงย) ก็สามารถคลอดธรรมชาติได้
  • ท่าหน้าผากนำ ท่านี้จะคล้ายกับเอาศีรษะพุ่งลง แต่ทารกจะเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย จนหน้าผากมาอยู่บริเวณช่องคลอด ลักษณะไม่ขดท้ายทอย (ซึ่งปลอดภัย) ท่านี้ แพทย์มักจะทำการผ่าคลอดเท่านั้น

 

 

คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่า ทารกเอาหัวหรือก้นออก

ปกติแล้วเวลาคุณแม่ไปตรวจครรภ์ คุณหมอจะคลำหน้าท้องบ่อยๆ ประกอบการใช้หูฟังเพื่อพิจารณาว่าทารกอยู่อยู่ท่าไหน การไปตรวจทุกครั้งอาจเป็นปกติ แต่เมื่อถึงวันคลอด ทารกอาจจะไม่อยู่ในทารกที่พร้อมคลอดก็เป็นไปได้ ดังนั้นในช่องก่อนคลอด คุณแม่ต้องพบคุณหมอเพื่อปรึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด เพราะนอกจากการตรวจมดลูกแล้ว ยังมีการตรวจเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อดูลักษณะของทารก เช่น ศีรษะ ใบหน้า หรือก้น ที่อยู่ใกล้ช่องคลอดมากที่สุด

  • ช่วงไตรมาสแรก ท่าทารกในครรภ์ จะอยู่ในท่าที่ไม่แน่นอนเนื่องจากยังตัวเล็ก และมีน้ำคร่ำมาก
  • ช่วงตั้งครรภ์ 6 เดือน ทารกจะอยู่ในท่าก้นประมาณ 33% แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีก ครรภ์เริ่มใหญ่ขึ้น ทารกจะค่อยๆ กลับตัวมาอยู่แนวตั้ง
  • ไตรมาสสุดท้าย ทารกจะค่อยๆ กลับตัวเอาหัวลง มีเพียง 4-6 % เท่านั้น ที่ทารกจะยังอยู่ในท่าก้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุการผิดท่าทางของทารกในครรภ์

  • เกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อของปากมดลูก
  • ตั้งครรภ์แฝด ซึ่งทารกต้องเบียดร่างกายกัน 2 คน อาจทำให้มีท่าทางที่ผิดไป
  • มีเนื้องอกในมดลูก ซึ่งเนื้องอกไปเบียดร่างกายของทารก
  • ปริมาณน้ำคร่ำน้อย หรือน้ำคร่ำมากจนเกินไป
  • คุณแม่มีกระดูเชิงกรานไม่สมบูรณ์ อาจจะเล็กไป หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณอุ้งเชิงกรานมาก่อน
  • คุณแม่เคยตั้งครรภ์และคลอดมาแล้วหลายครั้ง

 

สาเหตุการผิดท่าทางของทารกระหว่างคลอด อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แพทย์มักจะพบเจอ ซึ่งยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้การคลอดของคุณแม่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเปลี่ยนวิธีคลอดกะทันหัน อย่างไรก็ตาม ระหว่างคลอด คุณแม่ควรหมั่นเช็คร่างกายตนเองบ่อยๆ ถามคุณหมอบ่อยๆ ซึ่งในที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแผนการคลอด คุณหมอก็จะเลือกวิธีที่ดีที่สุดสำหรับมารดาและทารกน้อยแน่นอนค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ

ลูกในท้องเริ่มกลับหัวตอนไหน ทำอย่างไรให้ลูกในท้องกลับหัวเร็วๆ

แม่ท้องน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องอย่างไร ผลวิจัยมีคำตอบ

อาการแม่ท้องใกล้คลอด ตรงตามตำราเป๊ะๆ แม่ท้องไตรมาสสุดท้าย แชร์ประสบการณ์สิ่งที่ต้องเจอ

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท่านอนทารก ได้ที่นี่!

ท่าทารกในครรภ์ ท่าไหนที่ทำให้คลอดยากคะ แล้วท่าไหนต้องผ่าคลอดคะ

ที่มา:  Mamaexpert , Huggies

บทความโดย

Tulya