ตรวจคัดกรองในไตรมาสที่ 3 ต้องตรวจอะไรบ้าง ดูแลครรภ์อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องช่วงสุดท้าย ตรวจคัดกรองในไตรมาสที่ 3 กันแล้วหรือยัง สำคัญมากกว่าที่คิดแน่นอน วิธีเดียวที่จะรู้ความเป็นไปของทารกในครรภ์ และความเสี่ยงที่คุณแม่อาจเป็นอยู่ แม่ท้องคนไหนยังไม่เข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองว่าสำคัญอย่างไร คงต้องอ่านในบทความนี้แล้ว

 

การตรวจคัดกรองในไตรมาสที่ 3 จำเป็นไหม

ช่วงของไตรมาสที่ 3 ในการตั้งครรภ์นี้ คือ ช่วง 7 - 9 เดือน (29 – 42 สัปดาห์) เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมากที่สุดแล้ว เพราะกำลังจะถึงกำหนดคลอด ในช่วงนี้มีหลายสิ่งที่แม่ท้องจำเป็นจะต้องทำ นอกจากการดูแลสุขภาพ ดูแลครรภ์อยู่ทุกวันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ คือ การตรวจคัดกรองในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะรู้ว่าร่างกายของคุณแม่เป็นอย่างไร ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนไหม และทารกมีพัฒนาการสมบูรณ์สมวัยหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องแต่ละไตรมาสต้องตรวจอะไรบ้าง ฝากครรภ์อย่างไร

 

วิดีโอจาก : Babygiftretail

 

จะเป็นอย่างไรถ้าไม่ตรวจคัดกรองช่วงไตรมาสที่ 3

ในช่วงของการตั้งครรภ์ มีภาวะความผิดปกติหลายแบบที่อาจเกิดขึ้นกับคนท้องได้มากกว่าที่คิด ทั้งเบาหวาน,เลือดจาง, ครรภ์เป็นพิษ, ภาวะแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ไม่ได้เลือกเวลาที่จะเกิดขึ้น หลายอาการอาจไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจน ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก การรับการตรวจคัดกรองในแต่ละไตรมาส โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงใกล้คลอดมาก ๆ ยิ่งสำคัญมาก

หากคุณแม่ไม่ได้ไปพบแพทย์ตามนัด หรือคิดว่าการตรวจคัดกรองไม่สำคัญ จะเป็นการเปิดทางให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวไปได้ ภาวะที่ว่านี้ไม่ได้สร้างแค่ความอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์ได้อีกด้วย ในทางตรงกันข้าม หากคุณแม่ทำการตรวจ และแพทย์พบความเสี่ยง หรือพบภาวะต่าง ๆ แพทย์จะแนะนำวิธีดูแลตนเอง และพูดคุยเกี่ยวกับการรักษา และวิธีการคลอดที่เหมาะสมต่อไปได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตรวจคัดกรองในไตรมาสที่ 3 ตรวจอะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้วจะมีการทำอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) เพื่อตรวจดูขนาดของมดลูก และตรวจพัฒนาการ รวมถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ เช่น การดิ้น และเสียงหัวใจของทารก เป็นต้น มีการคาดเดาน้ำหนักของทารก เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ส่งผลต่อการคลอดของคุณแม่ ในช่วงนี้จะเป็นช่วงสำคัญมากที่จะพิจารณาการคลอดที่มีความปลอดภัยต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 นี้

นอกจากการทำอัลตราซาวนด์แล้ว ยังอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม กรณีที่คุณแม่มีความเสี่ยง หรือมีอาการผิดปกติ เช่น การตรวจน้ำตาลในเลือด หรือการตรวจการเจาะเลือด เป็นต้น ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ให้รีบบอกแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการตรวจเพิ่ม โดยหลักแล้ว ภาวะที่ต้องระวัง คือ เบาหวานขณะตั้งครรภ์, ครรภ์เป็นพิษ และโลหิตจาง เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คนท้องแต่ละคนจะได้รับการตรวจที่แตกต่างกัน

หากคุณแม่ไปถามคนรอบตัวที่เคยตั้งครรภ์มา อาจได้ข้อมูลมาไม่เหมือนกัน อาจทำให้คุณแม่กังวลว่าทำไมเราไม่ได้ตรวจบางอย่าง และได้ตรวจบางอย่างเพิ่ม แต่คนอื่นไม่ได้ตรวจ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก คุณแม่ต้องเข้าใจว่าคุณหมอจะให้คำแนะนำในการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เพราะคนท้องหลายคนอาจไม่ได้มีอาการ หรือความเสี่ยงที่เหมือนกันทั้งหมด โดยแพทย์จะแนะนำการตรวจ พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลา การปฏิบัติตน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายหากต้องจ่ายเพิ่มเติม เป็นต้น

 

อาการแบบไหนที่อันตรายต่อแม่ท้องไตรมาส 3

หากคุณแม่ได้รับการตรวจคัดกรองไปแล้ว แล้วพบความเสี่ยงใด ๆ หรือไม่พบก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าหลังจากพบแพทย์แล้วคุณแม่จะปลอดภัยแน่นอน 100 % เพราะยังมีอาการหลายอย่างที่ยังต้องระวังอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์ให้ไวที่สุด ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • รู้สึกเจ็บครรภ์ หรือท้องแข็งบ่อย ๆ ทุก 5 หรือ 10 นาที
  • มีมูกเลือด หรือเลือดสดไหลออกผ่านทางช่องคลอด
  • มีอาการปวดศีรษะ จุกแน่นหน้าอก และรู้สึกสายตาพร่ามัว
  • เกิดอาการน้ำเดิน ซึ่งเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอด
  • รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย

 

 

การดูแลตนเองช่วงไตรมาส 3

การไปตรวจคัดกรองในช่วงนี้ หรือแม้แต่การไปตรวจตามที่แพทย์นัดตลอด เป็นการระมัดระวังอาการของภาวะแทรกซ้อน แต่การไปตรวจคัดกรองไม่ได้ทำให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงขึ้น การไปพบแพทย์จะได้รับคำแนะนำเพื่อลดโอกาสเกิดโรคร้ายที่ส่งผลต่อครรภ์ แต่การดูแลตนเองในทุก ๆ วัน เป็นสิ่งที่ยังคงต้องทำต่อไป ช่วงไตรมาสสุดท้ายที่จะคลอดนี้ คุณแม่ควรดูแลตนเอง ดังนี้

 

  • หากแพทย์ทำการนัดตรวจเพิ่มเติม ให้ไปตามนัด ให้ความสำคัญกับการพบแพทย์ทุกครั้ง มีอาการอะไรให้บอกแพทย์ อย่าพยายามเก็บเงียบเพราะความกลัว
  • เน้นการทานอาหารแบบเดิมอย่างที่เคยทาน เราไม่ได้หมายถึงการกินตามปาก แต่เป็นการกินอย่างสมดุล เน้นให้ครบ 5 หมู่ให้ได้มากที่สุด และควรระวังปริมาณในการทานเมนูโปรด ที่ไม่ควรมากเกินไป
  • เต้านมอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ช่วง 2 – 3 เดือนก่อนคลอด อาจมีไขมันบริเวณเต้านม พยายามอย่าอาบน้ำแล้วถูกเต้านมบ่อย เพราะเมื่อไขมันหลุด จะทำให้เกิดอาการแห้ง และแตกได้
  • ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้คลอด ควรระวังสัญญาณของการคลอดให้ดี ควรวางแผนการเดินทางในกรณีฉุกเฉิน หรือบันทึกเบอร์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องไว้ในโทรศัพท์ เพื่อที่จะใช้ติดต่อได้ง่าย

 

การไปตรวจคัดกรอง เป็นวิธีการสำรวจความสมบูรณ์ของครรภ์ และความแข็งแรงของคุณแม่ด้วย หากคุณแม่ยังลังเล อาจหมายถึงความปลอดภัยที่ลดลงเรื่อย ๆ เช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

5 เมนู อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร ?

โรคธาลัสซีเมียคนท้อง โลหิตจาง รักษา หรือป้องกันได้อย่างไร ?

ที่มา : paolohospital, samitivejhospitals

บทความโดย

Sutthilak Keawon