X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีทําให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ

บทความ 8 นาที
วิธีทําให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ

วิธีทำให้ลูกฉลาด สิ่งที่เป็นเครื่องมือสู่การต่อยอดและช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย แต่ผู้ช่วยที่สำคัญที่สุดก็คือ “พ่อแม่” โดยเฉพาะใน 2 ขวบปีแรก ที่พ่อแม่คอยดูแลเอาใจใส่ แค่คำพูด เสียงร้องเพลง เสียงหัวเราะ หรือแม้แต่กิจกรรมเล็ก ๆ ที่ทำกับลูกน้อย ก็จะส่งผลให้ลูกฉลาดได้นะคะ

ว่าด้วยเรื่องสมอง มีอะไรบ้าง ทำงานอย่างไร 

มนุษย์เรามีสมองเป็นอวัยวะที่โดดเด่นมากที่สุดของร่างกาย  สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 

  1. ก้านสมอง (Brain Stem) เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ มีเครือข่ายระบบประสาทที่เกี่ยวกับการหลับ ตื่น เป็นที่อยู่ของประสาทสมองที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ใบหน้า ลิ้น กล่องเสียง การกลืน
  2. สมองน้อย (Cerebelium)ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ รักษาสมดุลการเคลื่อนไหว การกะระยะ การประสานให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ละเอียด และแม่นยำของกล้ามเนื้อแขนขา
  3. สมองใหญ่ (Cerebrum) แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
  • สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) มีหน้าที่เกี่ยวกับการคิด วางแผน ตัดสินใจ สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหา
  • สมองส่วนกลาง (Parietal Lobe) ทำงานเกี่ยวกับการรับรู้และแปลผลข้อมูลที่มาจากประสาทสัมผัสที่มาจากแขน ขา ลำตัว และผิวหนังทั่วร่างกาย เช่น อุณหภูมิ ความร้อน ความเย็น หนัก เบา ความหยาบ ละเอียดของพื้นผิว และมิติทางเรขาคณิตของสิ่งต่าง ๆ
  • สมองส่วนขมับ (Temporal Lobe) ทำงานเกี่ยวกับการรับรู้ แปลผลและตัดสินข้อมูลเสียงที่เข้ามาทางหูทั้งหมดที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก มี Hippocampus ที่ฝังตัวอยู่ด้านในทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Main Memory Circuit ของสมอง
  • สมองส่วนหลัง (Occipital Lobe) ทำงานเกี่ยวกับการรับรู้ แปลผลและตัดสินข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางสายตาทั้งหมดจากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก

สมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก แต่ละซีกทำงานแตกต่างกัน คือ 

  1. สมองซีกซ้าย ทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้ และทำความเข้าใจเรื่องภาษาทั้งหมด การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
  2. สมองซีกขวา ทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้ และทำความเข้าใจเรื่องแผนที่ และมิติทางเรขาคณิตของสิ่งแวดล้อมของตัวเด็ก รวมทั้งทัศนะทางศิลปะ

พัฒนาการสมองของเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ ภายใน 2 ปีแรกนั้นสำคัญที่สุด

เด็กเกิดมาพร้อมด้วยเซลล์สมองจำนวนมากมาย แต่สมองจะเจริญเติบโตได้และทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองและการพัฒนาวงจรปฏิกิริยาของสารเคมีในสมอง เซลล์สมองจะเริ่มทำงานเมื่อได้รับการกระตุ้น โดยสมองจะพัฒนาสูงสุดใน 1,000 วันแรกของชีวิตลูก หรือตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ไปจนถึง 2 ขวบปีแรก จึงเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกอย่างเต็มที่

Advertisement

 

วิธีทำให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ

วิธีทําให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ1. ฉลาดเพราะโภชนาการที่พบในนมแม่ 

ผลการศึกษาในเด็กวัยเรียนพบว่า เด็กที่กินนมแม่ตอนที่เป็นทารกมักจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ เพราะในนมแม่นั้น นอกจากจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของเด็กกว่า 200 ชนิดแล้ว ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM (Milk Fat Globule Membrane) คือ เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด โคลีน แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยพัฒนาด้าน EQ ของลูก ให้พวกเขามีความฉลาดด้านอารมณ์อีกด้วย 

นอกจากนี้ ในนมแม่ยังมี DHA สูง ซึ่งเป็นกรดไขมันในตระกูลโอเมก้า 3 ช่วยสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน

เนื่องจากในช่วง 1,000 วันแรก ของลูกนั้น พัฒนาการสมองจะสามารถไปได้ถึงขีดสุด หากได้รับโภชนาการนมแม่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ลูกฉลาดและมีไอคิวที่ดีได้อย่างแน่นอน แต่สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาการให้นมบุตร น้ำนมไม่พอ หรือต้องทำงานจนไม่สามารถให้นมเองได้ ควรเลือกนมที่มีสารอาหาร  สมองอย่าง MFGM สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โคลีน และฟอสโฟลิปิด รวมทั้งสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นแต่ละช่วงวัย ก็จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูกได้อย่างมาก

2. ตามองตา

เมื่อหนูน้อยลืมตาตื่นขึ้น ให้คุณพ่อคุณแม่ลองมองหน้าสบสายตากับเจ้าตัวน้อย เด็กแรกเกิดจะจดจำใบหน้าของคนได้เป็นสิ่งแรกเสมอ และใบหน้าของพ่อแม่คือใบหน้าแรกที่ลูกอยากจะจดจำ ซึ่งแต่ละครั้งที่หนูน้อยจ้องมองใบหน้า สมองก็จะบันทึกความทรงจำไว้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

3. พูดต่อสิลูก

ตอนคุณแม่พูดกับลูกน้อย ให้ลองเว้นช่องว่างในช่วงคำง่าย ๆ ที่ลูกจะสามารถพูดต่อได้ เช่น พยางค์สุดท้ายของคำ หรือคำสุดท้ายของประโยค ในช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะเงียบและทำหน้างง แต่ถ้าทำแบบนี้บ่อย ๆ ในประโยคซ้ำ ๆ ลูกจะค่อย ๆ จับจังหวะ จับคำพูดบางคำได้ และเริ่มพูดต่อในช่วงว่างที่พ่อแม่หยุดไว้ให้

4. ให้ลูกเป็นตัวเองในนิทาน

เพิ่มเติมจากการเล่านิทานธรรมดา ด้วยการใส่ชื่อลูกแทนชื่อตัวละครตัวสำคัญในนิทานเล่มโปรด เพื่อให้ลูกรู้สึกแปลกใจและสนุกสนานไปกับชื่อของตัวเองในนิทาน เป็นการให้ลูกได้สร้างจินตนาการตามบทบาทนั้น ๆ

5. ทำหน้าตลกใส่ลูก

เช่น การแลบลิ้นปลิ้นตา หรือทำหน้าประหลาด ๆ ตลก ๆ ใส่ลูก เด็กน้อยเพียงแค่อายุ 2 วันก็มีความสามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าอย่างง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้ แถมยังสร้างรอยยิ้มร่วมกันได้อีก

6. กระจกวิเศษ

กระจกถือเป็นอุปกรณ์การเล่นที่แสนวิเศษของลูก ทารกเกือบทุกคนชอบส่องกระจก หนูน้อยจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจก แถมยังมีการขยับแขนขาโบกมือหรือยิ้มแย้มหัวเราะตอบออกมาทุกครั้

วิธีทําให้ลูกฉลาด7. มากกว่าการอาบน้ำ

ช่วงจังหวะที่อาบน้ำให้ลูกน้อยนั้น คุณแม่สามารถสอดแทรกคำศัพท์ลงไปได้ เช่น สอนให้ลูกรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือบรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่ากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อ เช่น แม่กำลังถูสบู่ให้ลูกอยู่นะ เพื่อช่วยให้ลูกได้เรียนรู้กับคำศัพท์และเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันไปในตัวด้วย

8. สองภาพที่แตกต่าง

ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมอง โดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น ภาพรูปบ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูป แต่อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้าน แม้ยังเป็นเด็กทารกแต่ลูกจะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างนี้ได้ เป็นการสร้างความจำที่จะเป็นพื้นฐานในการจดจำตัวอักษรและการอ่านสำหรับลูกต่อไป

9. ชมวิวนอกบ้าน

พาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เช่น ต้นไม้สีเขียวมีนกเกาะเต็มไปหมด ดอกไม้สีแดง การบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ให้กับลูกได้นะคะ

10. ทำเสียงประหลาด

ทำเสียงเป็นสัตว์ประหลาด หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ เป็นเสียงสูง เลียนแบบเสียงเวลาที่ลูกพูด ทารกน้อยจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ จากพ่อแม่ เป็นการเสริมทักษะการได้ยินของลูกได้ดีทีเดียว

11. เป่าลมฟู่ ๆ

การเป่าลมเบา ๆ ไปตาม ใบหน้า มือ แขน หรือท้องของลูก หาจังหวะในการเป่าของตัวเอง เช่น เป่าเร็ว ๆ สลับกับช้า หรือเป่าแล้วตามด้วยเสียงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของพ่อแม่ จะช่วยให้ลูกน้อยกระปรี้กระเปร่าขึ้นและสามารถสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านอารมณ์จากลูกได้

12. พ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุด

เพียงแค่คุณพ่อหรือคุณแม่นอนราบลงไปบนพื้น และปล่อยให้หนูพยายามคลานข้ามตัวไป เพียงแค่นี้ร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ก็จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่ดีและราคาถูกที่สุด โดยไม่ต้องลงทุนไปซื้อของเล่นราคาแพงให้ลูก เพราะการเล่นแบบนี้จะทำให้หนูน้อยรู้สึกผูกพันกับพ่อแม่ และได้พัฒนากล้ามเนื้อให้ทำงานสัมพันธ์กับการเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาไปพร้อมกัน

วิธีทําให้ลูกฉลาดตั้งแต่แบเบาะ13. พาลูกไปชอปปิ้ง

นาน ๆ ครั้งพาลูกน้อยออกไปซื้อของที่ซูเปอร์มาเก็ตด้วยกันบ้าง การพาลูกออกนอกบ้านจะทำให้ลูกได้เห็นใบหน้าผู้คนอันหลากหลาย และเห็นสิ่งอื่น ๆ ทำให้ลูกน้อยได้ตื่นตาตื่นใจมากขึ้น

14. ให้ลูกมีส่วนร่วม

พยายามให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจวัตรต่าง ๆ เช่น ถ้ากำลังจะปิดไฟก็อาจจะบอกลูกว่า แม่กำลังจะปิดแล้วนะ เสร็จแล้วจึงกดปิดสวิตช์ไฟ นี่จะเป็นการสอนให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุและผล ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าเมื่อคุณแม่กดสวิตช์ หลอดไฟจะปิด เป็นต้น

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

15. ปูไต่

การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขัน การเล่นปูไต่ทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดาเหตุการณ์ด้วยว่า นิ้วมือของพ่อแม่กำลังจะไต่ไปไหนต่อ ปูจะไต่จากไหนไปถึงไหนกันนะ เป็นต้น

16. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

มีผลการวิจัยออกมาว่าการอ่านหนังสือช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องภาษาได้จริง ๆ เด็ก 8 เดือนสามารถเรียนรู้จดจำการเรียงลำดับคำในประโยคที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังซ้ำ 2-3 ครั้งได้ ดังนั้น อย่าปล่อยให้โอกาสทองในการจดจำของลูกผ่านเลยไปด้วยการหาเวลาในแต่ละวันอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำนะคะ

วิธีทําให้ลูกฉลาด17. ทิชชูหรรษา

อุทิศทิชชูที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ให้ลูกได้ลองดึงเล่น ลองสัมผัส เพราะการที่เด็กน้อยได้ขยำหรือขยี้กระดาษให้ยับย่น หรือพับให้เรียบนั้นเป็นการฝึกประสาทสัมผัสและการใช้มือของลูกเป็นอย่างดี

18. เล่นจ๊ะเอ๋

การเล่นจ๊ะเอ๋ เพียงแค่พ่อแม่เอามือปิดหน้าตัวเอง แล้วพูด “จ๊ะเอ๋” แค่นี้นอกจากจะทำให้ลูกหัวเราะแล้ว ยังช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าเมื่อสิ่งของหายไปแล้วสามารถกลับคืนมาได้

19. สัมผัสที่แตกต่าง

หาสิ่งของที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ไม้ หรือผ้าฝ้าย ค่อย ๆ นำพื้นผิวแต่ละอย่างไปสัมผัสแก้ม เท้า หรือท้องลูกเบา ๆ ระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็บรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่าความรู้สึกเมื่อถูกสัมผัสเป็นอย่างไร เช่น อันนี้นุ๊ม นุ่ม อันนี้แข็ง ๆ เป็นต้น

20. ให้ลูกผ่อนคลาย และอยู่กับตัวเองบ้าง

ให้เวลาประมาณ 5-10 นาที ในแต่ละวัน นั่งเงียบ ๆ สบาย ๆ กับลูกน้อยบนพื้นบ้าน ไม่ต้องเปิดเพลง เปิดไฟ หรือเล่นอะไรกัน ปล่อยให้ลูกได้สำรวจสิ่งต่าง ๆ ตามใจชอบ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องไปยุ่งกับลูก และรอดูว่าลูกน้อยจะคลานเข้ามาหาพ่อแม่ตอนไหน ถือเป็นการฝึกความเป็นตัวของตัวเองให้ลูกขั้นแรก

21. มื้ออาหารแสนสนุก

เข้าสู่วัยที่ลูกน้อยสามารถกินอาหารเสริมได้หลากหลายขึ้น ลองจัดอาหารที่ลูกสามารถใช้มือจับได้ให้มี ชนิด ขนาด และพื้นผิวที่แตกต่างกันไป เช่น ผลไม้ชิ้นเล็กหรือเป็นแท่ง เส้นพาสต้า มักกะโรนี หรือซีเรียล เพื่อเป็นการให้ลูกฝึกใช้นิ้ว และฝึกใช้ประสาทสัมผัสเมื่อได้สัมผัสกับอาหารที่มีลักษณะแตกต่างกัน

22. ดูรูปครอบครัว

นำรูปลูกตอนแรกเกิด รูปครอบครัว รูปญาติ ๆ มาใส่รวมเป็นอัลบั้มเดียว หรือใส่กรอบแล้วนำออกมาให้ลูกดูบ่อย ๆ เพื่อให้จดจำชื่อญาติแต่ละคน ซึ่งสร้างผลลัพธ์ออกมาได้พอใจเชียวล่ะ เวลาที่คุณปู่คุณย่ามาและหลานจำได้ ก็จะสร้างความประทับใจที่ดีให้กับญาติผู้ใหญ่ด้วย

23. แรงโน้มถ่วงของโลก

ถ้าเห็นลูกมีพฤติกรรมชอบทิ้งของลงพื้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกจากคุณแม่จะคอยสอนให้ลูกเก็บของแล้ว แต่ให้เข้าใจพฤติกรรมแบบนี้ถือเป็นการทดสอบของตัวลูกเรื่องแรงโน้มถ่วงว่าจะตกลงสู่พื้นทุกครั้งหรือไม่

24. กล่องมายากล

เกมฝึกสมองง่าย ๆ สำหรับลูก ด้วยการหากล่องที่เหมือนกันมาสักสามกล่อง แล้วซ่อนของเล่นชิ้นโปรดของลูกไว้ในกล่องใบหนึ่ง สลับกล่องจนลูกจำไม่ได้ แล้วให้ลูกค้นหาของเล่นชิ้นนั้นในกล่องจนเจอ

 

วิธีทําให้ลูกฉลาด25. สร้างอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ

โดยนำเบาะ โซฟา หมอน กล่อง หรือของเล่นวางขวางไว้บนพื้น เพื่อปล่อยให้ลูกลองคลานข้าม หรือคลานรอบ ๆ สิ่งกีดขวาง เพื่อเป็นกระตุ้นทักษะการทำงานของกล้ามเนื้อให้ลูกและใช้กระบวนการคิดว่าเขาจะผ่านอุปสรรคเหล่านี้ได้อย่างไร

26. เลียนแบบลูกบ้าง

เด็ก ๆ ชอบให้พ่อแม่ทำอะไรตามในบางครั้ง เช่น เลียนแบบท่าหาวของลูก แกล้งดูดขวดนมของลูก ทำเสียงเลียนแบบเวลาที่ลูกส่งเสียงอ้อแอ้ หรือคลานในแบบที่ลูกคลาน การทำอย่างนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกแสดงกิริยาท่าทางอื่น ๆ ออกมา เพราะอยากเห็นปฏิกิริยาตอบสนองของพ่อแม่ นี่คือก้าวแรกสู่การมีความคิดสร้างสรรค์ของลูกน้อย

27. จับหน้าเล่น

ปล่อยให้ลูกได้ลองจับต้องใบหน้าที่ทำหน้าตาแปลก ๆ ของพ่อแม่ เช่น ขมวดคิ้ว แยกเขี้ยว แลบลิ้นให้ลูกดู แล้วสร้างเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ถ้าลูกจับจมูกจะทำเสียงแบบนี้ ถ้าจับแก้มจะทำเสียงอีกแบบหนึ่ง ทำแบบนี้ 3-4 รอบ แล้วจึงเปลี่ยนเงื่อนไขไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกแปลกใจและรู้สึกสนุกสนาน

28. คลานตามกันไป

เมื่อลูกคลาน คุณแม่ก็ลองคลานตามลูกดูบ้าน ลองนำให้ลูกตามช้าเร็วสลับกันไป หรือพาคลานเพื่อสำรวจมุมต่าง ๆ ของบ้าน และลองเปลี่ยนมุมบ้างเพื่อให้ลูกได้ใช้ทักษะการสังเกต

29. ศึกษาวันฝนตก

ในวันที่ฝนตก ลองอุ้มลูกน้อยเดินทั่วบ้าน ให้ลูกได้ยินเสียงฝนตก หรือลองสัมผัสกับหน้าต่างที่เย็นชื้น ชวนมองหยดน้ำที่เกาะบนใบไม้ ต้นไม้หลังฝนตก เป็นการเปิดประสาทสัมผัสของลูกสู่ความรู้สึกต่าง ๆ เมื่อได้แตะต้องสิ่งของเย็น เปียก เป็นต้น

30. ร้องเพลงหรรษา

มีนักวิจัยค้นพบว่า จังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูก ดังนั้นการสร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวขึ้นมา อาจจะเป็นเพลงที่คุณแม่แต่งเองขึ้นมาแล้วใส่เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเข้าไป เช่น เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก หรือเปิดเพลงชนิดต่าง ๆ ให้ลูกฟัง เช่น เพลงโมสาสที่เคยเปิดให้ลูกฟังตอนท้อง หรือจะเป็นเพลงลูกทุ่ง บางวันเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงป๊อปทั่วไปให้ลูกฟังทุกวันดูนะคะ

คุณแม่ที่มีข้อสงสัยเรื่องการเสริมพัฒนาการสมอง เสริมความฉลาดให้ลูกตั้งแต่วัยแบเบาะ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

 

ที่มา : พัฒนาการเด็ก.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว

บัญญัติ 8 ข้อสู่การเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ

5 วิธีเลี้ยงลูกให้มีความฉลาดทางอารมณ์

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีทําให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว