แชร์วิดีโอลูกรักของคุณ คลิกที่นี่
“โตขึ้นหนูอยากเป็นหมอ นักบัลเล่ต์ และเจ้าหญิง”
เมื่อลูกน้อยในวัยเพียง 4 ขวบ เริ่มจินตนาการถึงอนาคตและความฝันในอนาคต คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าฝันของลูกจะเป็นจริง?
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะสามารถเป็นได้ทุกอย่างที่เขาอยากจะเป็นหรอกนะคะ แต่มันย่อมดีกว่าที่ลูกมีหลายตัวเลือกให้เลือก
โครงการ RBC After School Project ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการมีปฎิสัมพันธ์กับคนที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตของพวกเขา อธิบายว่า เด็กเกิดการเรียนรู้และรับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับตัวเองจากบุคคลสำคัญในชีวิต ซึ่งก็คือครอบครัวนั่นเอง
ซึ่งการที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งและสุขภาพดีในอนาคตนั้น เด็กจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตัวเองก่อน รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ไม่ว่าจะเพศอะไร สีผิวใด สภาพร่างกายเป็นอย่างไร พูดภาษาอะไร มาจากวัฒนธรรมอะไร หรือนับถือศาสนาใดก็ตาม
ดังนั้น พ่อแม่มีหน้าที่ในการเจียระไนเพชรในมือ ให้งดงามที่สุดเท่าที่ลูกจะสามารถเปล่งประกายได้ แม้ลูกจะมีความฝันในอนาคตแบบไร้เดียงสา ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ก็ตาม แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งไปปฏิเสธความฝันของลูกนะคะ มาดูกันว่า คุณสามารถสนับสนุนความฝันของลูกได้อย่างไรบ้าง
- สนับสนุนให้ลูกไล่ตามความฝันในอนาคต และทำในสิ่งที่เขาสนใจ
ส่งเสริมให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ มากขึ้นและเห็นจุดแข็งของลูกได้ชัดเจนขึ้น
- ทำทุกอย่างเพื่อช่วยให้สนับสนุนในสิ่งที่ลูกสนใจ
แสดงให้ลูกรู้ว่า คุณพร้อมที่จะช่วยให้ลูกมีความเชื่อมั่น ที่จะมุ่งไปในสิ่งที่เขาต้องการ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคระหว่างทาง แต่คุณจะอยู่เคียงข้างลูกเสมอ
- เชื่อในตัวลูก
เชื่อมั่นในความสามารถของลูก และในสิ่งที่เขากำลังทำ ปล่อยให้ลูกได้ทำผิดพลาด และเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกแย่ เวลาที่เขาทำผิดพลาด
- อย่าตั้งมาตรฐานสูงเกินไป
ลูกของคุณอาจทำผิดพลาดบ่อยๆ คุณควรที่จะยอมรับความผิดพลาดเหล่านั้น และคอยให้คำแนะนำเพื่อที่เขาจะไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก
- พร้อมเสมอเมื่อลูกต้องการ
ให้ความมั่นใจกับลูก ว่าเขาสามารถไว้วางใจและเชื่อใจพ่อแม่ได้เสมอ คุณพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือลูกทุกเวลาที่เขาต้องการ
- กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
ช่วยลูกกำหนดเป้าหมาย สอนเขาว่าจะจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ อย่างไร สอนให้ลูกรู้จักแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเขา
- ให้โอกาส
ให้โอกาสลูกได้ค้นหาพรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่ในตัวของเขา และช่วยลูกพัฒนาทักษะชีวิต โดยการเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร เล่นกีฬา หรือเรียนดนตรี
ไม่ว่าคุณและลูกจะเลือกอะไร ก็ขอให้แน่ใจว่า ลูกทำกิจกรรมเหล่านั้นอย่างพอดี เพราะหากลูกทำกิจกรรมมากเกินไปจนรับไม่ไหว อาจทำให้ลูกล้มเลิกกลางคันได้ง่ายๆ
- ชื่มชมลูกเสมอ
อย่ากลัวที่จะให้ลูกรู้ว่า คุณภูมิใจในตัวเขามากแค่ไหน เพราะการชื่นชมลูกช่วยในการพัฒนาความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเองของลูกได้อย่างดีเยี่ยม
- สอนให้ลูกมุ่งมั่น
หากอยากให้ลูกประสบความสำเร็จ คุณต้องสอนให้ลูกมุ่งมั่นในสิ่งที่เขาได้ตัดสินใจ ไม่ล้มเลิกกลางคัน ทั้งการเรียน และการทำกิจกรรมต่างๆ ความมุ่งมั่นจะทำให้ลูกไล่ตามความฝันในอนาคตของเขาได้สำเร็จในที่สุด
ความฝันของลูกเป็นสิ่งสำคัญเสมอ และพ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าลูกอยากเป็นอะไร หน้าที่ของพ่อแม่หรือให้การสนับสนุนพวกเขา คอยชี้ช่องทางแห่งโอกาสให้แก่ลูก แล้วจากนั้น ปล่อยให้เขาลงมือทำ เพื่อไล่ตามความฝันด้วยตัวเอง โดยยังมีพ่อแม่คอยเป็นกำลังใจ และพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการ การสนับสนุนที่ดีจากครอบครัวจะช่วยให้ฝันของลูกเป็นจริงได้ในที่สุดค่ะ
อาชีพในฝัน 2019
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เด็กและเยาวชนไทยในยุคดิจิทัล” เด็กไทยมี อาชีพในฝัน 2019 อยากทำอะไร มาดูผลสำรวจกันเลย
การสำรวจเรื่อง เด็กและเยาวชนไทยในยุคดิจิทัล ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 – 9 มกราคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,270 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนไทยในยุคดิจิทัล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
อาชีพในฝันของเด็กไทย 2019
จากการสำรวจเมื่อถามถึงอาชีพในฝันที่เด็กและเยาวชนไทยอยากเป็น ในยุคดิจิทัล (5 อันดับแรก) พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่
- อันดับ 1 ร้อยละ 15.83 ระบุว่าเป็น อาชีพส่วนตัว (ค้าขาย เสริมสวย ฯลฯ)
- รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 12.40 ระบุว่าเป็น อาชีพครู/อาจารย์
- อันดับ 3 ร้อยละ 11.87 ระบุว่าเป็น อาชีพรับราชการ (ไม่ระบุสาขา)
- อันดับ 4 ร้อยละ 11.61 ระบุว่าเป็น อาชีพแพทย์/พยาบาล
- อันดับ 5 ร้อยละ 6.86 ระบุว่าเป็น อาชีพวิศวะ/สถาปนิก/นักออกแบบดีไซน์
อาชีพในฝันของผู้ปกครอง
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพที่ผู้ปกครองอยากให้บุตรหลานเป็น ในยุคดิจิทัล (5 อันดับแรก) พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่
- อันดับ 1 ร้อยละ 30.08 ระบุว่าเป็น อาชีพรับราชการ (ไม่ระบุสาขา)
- รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 15.82 ระบุว่าเป็น อาชีพแพทย์/พยาบาล
- อันดับ 3 ร้อยละ 13.36 ระบุว่าเป็น อาชีพอาชีพส่วนตัว (ค้าขาย เสริมสวย ฯลฯ)
- อันดับ 4 ร้อยละ 7.30 ระบุว่าเป็น อาชีพครู/อาจารย์
- อันดับ 5 ร้อยละ 7.18 ระบุว่าเป็น อาชีพนักธุรกิจ
คุณสมบัติที่ดีของเด็กไทย
สำหรับคุณสมบัติที่ดีของเด็กไทยในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.69 ระบุว่า มีระเบียบวินัย เคารพกฎระเบียบ รองลงมา ร้อยละ 38.03 ระบุว่า มีคุณธรรมจริยธรรม ช่วยเหลือสังคม ไม่เห็นแก่ตัว ร้อยละ 36.38 ระบุว่า มีความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 27.17 ระบุว่า รู้จักการคิดวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลที่ได้รับ ร้อยละ 26.69 ระบุว่า มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ ร้อยละ 19.21 ระบุว่า หมั่นศึกษาหาข้อมูลหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียน ร้อยละ 16.61 ระบุว่า มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศได้ดี และร้อยละ 12.83 ระบุว่า ไม่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับโลกอินเทอร์เน็ต
ของขวัญวันเด็กด้านการศึกษา
เมื่อถามถึงของขวัญวันเด็กด้านการศึกษาที่ประชาชนต้องการจากรัฐบาลชุดใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.00 ระบุว่า กระจายโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม รองลงมา ร้อยละ 29.76 ระบุว่า โครงการเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี ร้อยละ 19.69 ระบุว่า ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 6.85 ระบุว่า พัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 3.23 ระบุว่า การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต (จัดหา High Speed Internet ในโรงเรียน) ร้อยละ 2.99 ระบุว่า แก้ปัญหาระบบแอดมิชชั่น ร้อยละ 2.83 ระบุว่า กำจัดค่าแป๊ะเจี๊ยะ และร้อยละ 4.65 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์กีฬา สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ต้องการของขวัญอะไรจากรัฐบาลชุดใหม่
การเลือกโรงเรียนให้ลูก
ส่วนปัจจัย/เหตุผล ของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลาน พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.13 ระบุว่า การเดินทาง รองลงมา ร้อยละ 27.83 ระบุว่า บุคลากรในโรงเรียน (ครู และ ผู้บริหาร) ร้อยละ 24.69 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายการเรียน ร้อยละ 21.66 ระบุว่า สถานที่และสภาพแวดล้อมดี ร้อยละ 20.20 ระบุว่า ความปลอดภัย ร้อยละ 14.93 ระบุว่า ชื่อเสียงโรงเรียน ร้อยละ 12.46 ระบุว่า หลักสูตรมีการสอนภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 12.23 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับความต้องการของบุตรหลานเอง ร้อยละ 11.67 ระบุว่า โรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชน ร้อยละ 10.77 ระบุว่า สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ ร้อยละ 1.12 ระบุว่า เครื่องแบบนักเรียน และร้อยละ 1.01 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการห้ามไม่ให้มีการสอบคัดเลือกเข้าประถมศึกษาปีที่ 1 หากฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 5 แสนบาท เข้ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.41 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 25.25 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 18.86 ระบุว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 2.58 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และร้อยละ 0.90 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.53 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.12 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.07 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.61 เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.31 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 29.84 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 12.68 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 18.74 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 25.43 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 13.31 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 94.10 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.70 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.02 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.18 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 37.08 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 58.90 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.68 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.34 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 22.13 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 37.40 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.71 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.43 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 2.91 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.42 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.87 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.63 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.69 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.15 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.20 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 19.45 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.49 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 31.26 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.37 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.35 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.77 ไม่ระบุรายได้
ไม่ว่าเด็กไทยมีอาชีพในฝัน 2019 ว่าอยากเป็นอะไร อยากทำอาชีพอะไร ก็ขอให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง พูดคุยทำความเข้าใจ และสนับสนุนลูกในทางที่ถูกต้อง เพราะพ่อแม่ทุกคนย่อมหวังดี อยากให้ลูกได้ทำอาชีพที่ดีและมั่นคง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!