3 อาการของการตั้งครรภ์ไม่ปกติ
คนท้องผิดปกติ 3 สัญญาณที่บอกว่าการตั้งครรภ์ไม่ปกติ มีคุณแม่ท้องในหลายๆ ราย ที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ลง ก่อนที่จะครบกำหนด 40 สัปดาห์ตามอายุครรภ์ นั่นก็เพราะว่า ในระหว่างอุ้มท้องคุณแม่ อาจจะมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้นมาระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้น เพื่อให้คุณแม่รู้ว่า การตั้งครรภ์ครั้งนี้มีความสมบูรณ์หรือไม่ สามารถเช็กได้จาก 3 อาการของการตั้งครรภ์ไม่ปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกว่า การตั้งครรภ์ครั้งนี้อาจไม่สมบูรณ์ ดังนี้ค่ะ
อาการที่บอกว่าการตั้งครรภ์ไม่ปกติ มักเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัย ดังนี้
เมื่อการตั้งครรภ์เริ่มต้นขึ้น เชื่อว่าทุกครอบครัว ต่างก็เฝ้าทะนุถนอมทารกน้อยในครรภ์ ให้มีพัฒนาการเจริญเติบโตขึ้นอย่างค่อย ๆ สมบูรณ์แข็งแรงไปจนกว่าจะครบกำหนด 9 เดือน แต่บางครั้งการเดินทางของครรภ์น้อย ๆ ก็ต้องหยุดลงกลางคัน โดยไม่ได้ตั้งตัว และคาดคิดมาก่อน ซึ่งก็อาจจะด้วยปัจจัยทางสุขภาพของตัวคุณแม่เอง หรือมาจากอุบัติเหตุบางประการที่ไม่ทันได้ระวัง เป็นต้น เอาเป็นว่า เพื่อให้ได้รู้เท่าทันการตั้งครรภ์ ที่จะทำให้คุณแม่ทราบว่า การอุ้มท้องครั้งนี้ อาจเสี่ยงไปไม่ถึงฝั่งฝันนั้น มีสัญญาณเตือนแปลก ๆ จากร่างกายอะไรบ้าง
สัญญาณหนึ่งที่เราจะคาดเดาได้ว่าฉันท้องแน่ๆ แล้ว ก็คือการที่ประจำเดือนขาดหายไป และเพื่อความตื่นเต้นของคู่รักสามีภรรยาคือ จะซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจกันที่ได้ผลเบื้องต้นจากปัสสาวะของฝ่ายหญิง เมื่อผลตรวจออกมาเครื่องทดสอบชี้ว่าท้อง ก็ดีใจไปแล้วครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อไปตรวจเลือดกับคุณหมอที่โรงพยาบาลกลับพบว่าไม่มีตัวอ่อนของทารก ง่ายๆ คือ “ท้องจริงนะ แต่ไม่มีตัวอ่อน” ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกการตั้งครรภ์ลักษณะนี้ว่า ภาวะไข่ฝ่อ หรือท้องลม (Blighted Ovum) ที่ถือว่าเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ท้องลม มาจากภายหลังที่ไข่ถูกผสมขึ้นมาแล้ว แต่ไม่มีการเจริญเติบโตต่อไป สาเหตุอาจมาจาก ไข่ หรือ อสุจิ ที่ผสมกันนั้นไม่แข็งแรงพอนั่นเองค่ะ
คุณแม่คนไหนที่เคยผ่านเหตุการณ์นี้มาแล้ว ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวทั้งนั้นค่ะ เพราะการแท้งคุกคาม เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกได้ว่า คุณแม่อาจต้องยุติการตั้งครรภ์ เพื่อรักษาสุขภาพของตัวเองไว้ และรอให้มดลูก ร่างกายแข็งแรงใหม่ก่อน จึงจะกลับมาตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง
แท้งคุกคาม (Threatened Abortion) เมื่อตั้งครรภ์แล้ว มีเลือดออกจากทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย มากบ้าง น้อยบ้างอยู่ตลอดเวลา และจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยเป็นระยะ อาการปวดท้องจะเหมือนปวดประจำเดือน ซึ่งการแท้งคุกคามในคนท้องบางคน คุณหมออาจรักษาควบคุมให้มีการตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปได้ จนทารกสมบูรณ์คลอดออกมาได้ปกติ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคนท้องอีกส่วนที่คุณหมอไม่สามารถรักษาควบคุมให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปได้ และท้ายที่สุดทารก ก็จะแท้งหลุดออกมาตามธรรมชาติ และกลไกของร่างกาย
การท้องนอกมดลูก คือการที่ไข่ หลังจากถูกผสมกับอสุจิแล้ว ไม่ได้เดินทางต่อไปยังมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นได้ตามปกติ แต่ไข่กลับไปฝังตัวที่ท่อนำไข่ ซึ่งไม่ใช่ในมดลูก อันเป็นสถานที่หลักในการให้ครรภ์สามารถดำเนินต่อไปได้
และหลังจากที่ไข่ไปฝั่งตัวที่ท่อนำไข่ และตัวอ่อนก็เจริญต่อไปได้ประมาณ 2 เดือน จนท่อนำไข่ ไม่สามารถรับมือได้ จากท่อนำไข่แคบ ๆ ก็จะโป่งออกมาจนทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องมาก ตัวอ่อนที่ไปฝั่งตัวอยู่ที่ท่อนำไข่ เมื่อไปต่อไม่ได้จะตาย และหลุดออกมาในที่สุดค่ะ
คุณแม่ท้องที่รู้ตัวว่าท้อง หรืออาจไม่รู้ตัวว่าท้อง และไม่ได้ไปตรวจฝากครรภ์กับคุณหมอตั้งแต่ช่วงแรก อาจทำให้ไม่ทราบว่า มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้น ซึ่งจะมารู้ตัวอีกที่ก็คือ เมื่อร่างกายมีอาการเตือนออกมา อย่างอาการปวดท้องที่มากกว่าปกติ จนทนไม่ไหวแล้วนั่นแหละค่ะ
ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ จะมีเปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นได้มาก กับผู้หญิงท้องทุกคน แต่ก็มีทางแก้ไขได้ในเบื้องต้น นั่นคือการไปตรวจฝากครรภ์กับคุณหมอที่โรงพยาบาล เพื่อจะได้ตรวจร่างกาย และประเมินสุขภาพครรภ์ได้อย่างละเอียดว่า คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการอุ้มท้องครั้งนี้หรือไม่ เพราะหากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของแม่ ก็อาจต้องยุติการตั้งครรภ์ เพื่อรักษาชีวิตของแม่ไว้นั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายกลับมาพร้อมแข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้นมาใหม่ คุณหมอจึงจะแนะนำให้ตั้งครรภ์อีกครั้ง แต่ต้องอยู่ในความดูแลจากหมอผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดด้วยไปตลอดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ค่ะ
อ้างอิงข้อมูล
รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์.การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ.หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ หน้า 195
_________________________________________________________________________________________
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
อ้างอิง : cwcare.net
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ยากันแท้ง คืออะไร เมื่อไหร่ควรได้รับยากันแท้ง
ครรภ์เป็นพิษอันตรายต่อคนท้องอย่างไร อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นแบบไหน
คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง การตรวจโรคของ คนท้องแต่ละไตรมาส ฝากครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!