ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ อาจจะมี สิ่งที่แม่ท้องต้องเจอ และสร้างความประหลาดใจขึ้นได้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะกับคุณแม่ท้องแรก แต่ไม่ใช่ว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่กล่าวถึงนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน หรือในทุก ๆ การตั้งครรภ์
เรื่องนี้อาจไม่มีใครบอกคุณแม่ 20 สิ่งที่แม่ท้องต้องเจอ เมื่อร่างกายเปลี่ยนแปลงตอนตั้งครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสแรกถึงไตรมาสสุดท้าย
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่จะเกิดขึ้นไตรมาสแรก
1. ในความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด : การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว
ตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักตัวของแม่ท้องควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม มีงานวิจัยแนะนำว่าในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรทานอาหารเพิ่มขึ้นอีกแค่ 300 แคลอรี่ต่อวัน (เท่ากับคุกกี้ประมาณ 2 ชิ้น) แต่ก็เชื่อได้ว่าต้องมีบางวันที่คุณแม่อยากกินตามใจปาก ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือ การเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และครบถ้วนไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเสมอ ๆ และพึงระมัดระวังการรับประทานอาหารในแต่ล่ะมื้อ ที่คิดว่าจะมี “ความเสี่ยง” เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำหนักตัวขึ้นด้วยนะ
2. เกิดความเหนื่อยล้า
มันเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยได้ง่ายมากในระหว่างตั้งครรภ์นี้
3. อาการคลื่นไส้ อาเจียน
อาการนี้จะพบได้ในช่วงไตรมาสแรก ช่วง 1 – 3 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่แต่ละท่านจะมีอาการแพ้ท้องแตกต่างกันไป บางคนแพ้มาก บางคนแพ้น้อย แต่ไม่ต้องตกใจ อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนที่หลั่งในช่วงตั้งครรภ์ การพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ในแต่ละวัน ควรทำอะไรช้า ๆ รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ หรือการรับประทานเครื่องดื่มที่ช่วยลดอาการแก้แพ้ท้อง เช่น น้ำขิง จะช่วยลดอาหารคลื่นไส้อาเจียนลงได้
4. มีความนุ่มของหน้าอก
อันเนื่องมากฮอร์โมนเอสโตรเจน และโพรเจสเตอโรนกำลังพัฒนาเนื้อเยื่อในเต้านมสำหรับการผลิตน้ำนม
5. ระดับความดันเลือด
ที่จะลดลงในช่วง 20 สัปดาห์แรก และกลับสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่สอง และเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3
6. นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับ มักเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะความกังวลใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำให้คุณแม่บางคนอาจจะหงุดหงิดง่าย หรือหูไวต่อเสียงรบกวนทำให้นอนไม่หลับ รวมไปถึงปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืนทำให้ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง อาจทำให้นอนไม่หลับได้เหมือนกัน วิธีแก้ไข พยายามออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินเล่น การฝึกโยคะ นอกจากนี้การอาบน้ำอุ่น หรือดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน การฟังเพลง การอ่านหนังสือ ก็ช่วยให้หลับสบายขึ้น
7. หายใจไม่สะดวก
เมื่อฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และฮอร์โมนบางชนิดอาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนตัวลง และขยายหลอดลม เนื่องจากต้องผลิตเลือดให้ปอดมากขึ้น เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น ท้องขยายขนาดโตขึ้น มดลูกที่ขยายนั้นขยายใหญ่ขึ้นไปดันกระบังลม ส่งผลถึงปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก คุณแม่ไม่ควรอยู่ในที่แออัด พยายามหายใจลึก ๆ หายใจช้า ๆ จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น
8. การนอนหลับ
แม้คุณแม่ยังคงนอนหลับได้อย่างปกติในช่วยไตรมาสแรก แต่ในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจจะทำให้คุณแม่มีอาการนอนไม่หลับ นอนน้อยได้
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่จะเกิดขึ้นไตรมาส 2
9. ตะคริวที่ขา
เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากแคลเซียมที่สะสมอยู่ในร่างกายแม่นั้น ถูกนำไปเพื่อพัฒนาโครงสร้างกระดูกของตัวอ่อนในครรภ์ ส่วนใหญ่มาจากการขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น แคลเซียม วิตามินบีรวม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการหมุนเวียนของเลือดที่ลดประสิทธิภาพลง สามารถแก้ไขได้คุณแม่ หมั่นออกกำลังกายเบา ๆ ให้เลือดไหลเวียน ที่สำคัญต้องรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ตามคำแนะนำของคุณหมอ
10. เกิดกรดไหลย้อนหรือแสบร้อนกลางอก
อันเนื่องมากระบวนการย่อยอาหารที่ช้าลง และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนั้นไปลดการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารซึ่งทำให้มีโอกาสที่กรดในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนขึ้นมาในช่องอกได้
11. ปัสสาวะถี่มากขึ้น
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน การขยายตัวของร่างกายทารก ที่ทำให้ของกระเพาะปัสสาวะถูกเบียด จึงทำให้คุณแม่รู้สึกว่าต้องไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
12. ความเสี่ยงของการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุเกิดจากการกลั้นปัสสาวะ ที่ทำให้เกิดการสะสมมากขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ในช่องคลอดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
13. ตกขาวในช่องคลอดมากขึ้น
อาการตกขาวของคนท้องนั้น เป็นของคู่กัน เมื่อผู้หญิงเราตั้งครรภ์ทำให้มี การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ฮอร์โมนเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดมีเลือดมาคั่งมากในช่องคลอด ที่คอมดลูก ต่อมต่าง ๆ ในคอมดลูกทำงานมากขึ้น จะมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น เมื่อหลุดออกมาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นปกติในช่องคลอดของหญิงทุกคน เป็นผลให้เซลล์สลายออกเกิดเป็นตกขาวได้ โดยเฉพาะในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์
โดยจะเป็นเมือกขาว ๆ ออกมาจากช่องคลอด โดยไม่แสบ หรือคันบริเวณช่องคลอดแต่อย่างใด
14. ท้องร่วงหรือท้องผูก
เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นทำให้อุจจาระผ่านได้ลำบาก อุจจาระที่คั่งค้างอยู่นานจะถูกดูดซึมน้ำออกไปมาก เวลาถ่ายอุจจาระมีลักษณะแข็ง และขับถ่ายลำบาก แต่สามารถป้องกันได้ คุณแม่ควรรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยเพื่อช่วยในการขับถ่ายรวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอด้วย
15. เส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอด – บวมและเส้นเลือดสีม่วงเป็นเรื่องปกติ ที่ขา และรอบ ๆ ช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ตอนปลาย ในกรณีส่วนใหญ่เส้นเลือดขอดเกิดจากแรงกดที่ขา และเส้นเลือดในอุ้งเชิงกรานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดจากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น
16. ท้องลาย
เป็นผลมาจากผิวหนังที่ตึงตัว และการที่ร่างกายต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น แต่รอยนี้จะค่อย ๆ จางลงหลังจากคลอดแล้ว แต่หากไม่อยากให้มีรอยดำ หรือรอยแตกลาย คุณแม่ต้องระมัด ระวัง เรื่องการเพิ่มน้ำหนักต้องเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนการทาครีมบำรุงผิว ช่วยให้ผิวยืดหยุ่น ควรเริ่มทาตั้งแต่ตั้งครรภ์เลย แต่ต้องระมัดระวังด้วยสำหรับครีมที่มีส่วนผสมของไวท์เทนนิ่งอาจจะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า
17. เท้าใหญ่ขึ้น สะโพกขยายขึ้น
ฮอร์โมนบางอย่าง เช่น โปรเจสเตอโรนนั้นทำให้เกิดการยืดคลายของเส้นเอ็น ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอดบุตร รวมถึงการยืดคลายของเส้นเอ็นที่กล้ามเนื้อเท้าด้วย แต่ไม่ต้องเป็นห่วงหลังคลอดแล้วก็จะหดคืนกลับมาได้เอง
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่จะเกิดขึ้นไตรมาส 3
18. ผื่น
ผื่น พบมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เฉลี่ยอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากผนังท้องขยายมากทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และ คอลลาเจน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ อาการผื่นมีหลายลักษณะ เช่น ผื่นนูนแดงคล้ายลมพิษ หรือ เป็นตุ่มน้ำขนาดประมาณ 1 – 2 มม. พบมากบริเวณหน้าท้องโดยเฉพาะที่เป็นรอยแตกลาย โดยเว้นรอบสะดือ แล้วจึงกระจายไปที่ ต้นขา ก้น หน้าอก และแขน โดยทั่วไปมีอาการคันมาก ผื่นชนิดนี้ขึ้นนานประมาณ 6 สัปดาห์และหายได้เองหลังคลอดภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ไม่มีอันตรายต่อมารดา และทารกในครรภ์แต่อย่างใด
19. ฝ้า
ฝ้าที่เกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์มีสาเหตุเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ที่มีการสร้างในปริมาณสูงขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนดังกล่าวกระตุ้นให้สร้างเม็ดสีเพิ่ม ทำให้ผิวหนังคล้ำขึ้นจนกลายเป็นรอยดำอย่างฝ้าบนผิวหน้านั่นเอง แต่จริง ๆ แล้วยังทำให้เกิดเป็นรอยดำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแม่ท้องด้วย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ หน้าท้อง หรือ หัวนม เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปหลังคลอดจะหาย หรือดีขึ้น หากฝ้าที่ผิวหน้าตื้น ก็จะหายได้ไวขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฝ้าตื้นหายง่าย หรือ ลึกหายยากคือ แสงแดด
20. เส้นสีดำบนหน้าท้อง
เส้นสีดำบนหน้าท้อง เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับแม่ท้อง พบได้มากถึง 90% เส้นจะกว้างราว 1 ซม. และเป็นเส้นลายแนวตั้งพาดผ่านบริเวณสะดือไล่ไปจนถึงช่วงสะโพก และไม่มีผลอันตรายกับคุณแม่ และทารกในครรภ์แต่อย่างใด
การดูแลตัวเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในขณะตั้งครรภ์ ต้องแน่ใจว่านอกจากการรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดีแล้ว ควรได้พักผ่อน ออกกำลังกาย และควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นเพื่อทุกครั้งที่ไปฝากครรภ์จะได้บอกคุณหมอให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลง และเฝ้าระวังหากมีอะไรที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น หรือมีอาการที่ดูน่ากังวลได้อย่างทันท่วงที
Credit content : medicalnewstoday.com, mindbodygreen.com , stanfordchildrens.org
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
สรีระร่างกายตอนตั้งครรภ์ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?
5 การเปลี่ยนแปลงของแม่หลังคลอดที่คาดไม่ถึง
ครีมทาท้องลาย ยี่ห้อไหนดี? 10 ครีมทาท้องสําหรับคนท้อง มาดูกัน!