เด็ก 2 ขวบวาดรูป พ่อแม่สุดทึ่ง ! พรสวรรค์วาดรูปขั้นเทพ เรื่องราวจะน่าสนใจเพียงใด มาดูกัน มีผลงานวาดรูปที่สวยมาก จนได้รับการถูกยกย่องว่าเป็น “โมเนต์” รุ่นเยาว์ สำหรับหนูน้อยวัย 5 ขวบ “ไอริส เกรซ” ที่ใครได้เห็นฝีลายมือในการเพ้นท์ภาพของเธอต้องยกนิ้วให้ โดยคิดไม่ถึงว่าเด็กหญิงคนนี้จะมีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ล่าช้า หรือที่เรียกว่า อาการออทิสติก
เด็ก 2 ขวบวาดรูป พ่อแม่สุดทึ่ง ! พรสวรรค์วาดรูปขั้นเทพ
คุณแม่ได้สังเกตเห็นอาการผิดปกติของหนูน้อยเมื่อตอนอายุได้ 2 ขวบ เพราะว่าลูกไม่ยอมพูดซักคำ จึงพาไปพบแพทย์และได้ทำตามคำแนะนำในการบำบัดด้วยกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เพื่อช่วยพัฒนาทางการพูด การใช้กล้ามเนื้อ และสมาธิ จึงเป็นที่มาที่ทำให้ไอริสได้จับพู่กันเพ้นท์ภาพ ซึ่งทำให้คุณแม่ได้พบกับพรสวรรค์ของลูกสาวตัวน้อย เมื่อไอริสสามารถจดจ่ออยู่กับการเพ้นท์ภาพได้นานถึง 2 ชั่วโมง และมีทักษะในการใช้สีได้อย่างละเอียดอ่อน สวยงาม ซึ่งการได้จดจ่อกับงานศิลปะทำให้ไอริสมีสมาธิและมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ขึ้นมาตามลำดับ
พรสวรรค์ในการเพ้นท์ภาพของไอริสได้มาแทนที่ส่วนที่บกพร่องในจุดนี้ไปเลย เพราะผลงานภาพเพ้นท์ของหนูน้อยได้กลายมาเป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมศิลปะ สร้างรายได้ให้กับตัวเอง คุณแม่บอกว่า ได้นำรายได้เหล่านี้มาเป็นค่าอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะรวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการทำบำบัดเพื่อรักษาอาการออทิสติกของลูกต่อไป ทั้งนี้นอกจากการถูกยกย่องในฝีมือขั้นเทพแล้ว หนูน้อยไอริสยังได้เป็นแรงบันดาลใจและเป็นกำลังใจให้กับผู้ปกครองที่มีลูกน้อยประสบปัญหาในอาการเดียวกัน
รูปเด็ก2ขวบ ถูกเป็นที่จับตามองของอาจารย์เฉลิมชัยทันที เมื่อได้เห็นผลงานการวาดรูปลายเส้นในลวดลายไทยแบบต่าง ๆ อาทิ ภาพวาดองค์เทพและมหาเทพต่าง ๆ ภาพวาดพระยานาคยักษ์พระฤาษี พระพิฆเณศวรปางต่าง ๆ ของน้องภูผา หรือ เด็กชายชายปรวุธ จิรมิตรมงคล ที่อาจารย์ได้ชื่นชมและกล่าวว่า ไม่คาดคิดว่าเด็กอายุเพียง 8 ขวบจะรังสรรค์ลายเส้นได้สวยงามตามจินตนาการอย่างไม่น่าเชื่อ และได้รับน้องเป็นลูกศิษย์ที่ตั้งใจจะสอนให้ถึงที่สุด
แม่ของน้องภูผาได้กล่าวว่า ลูกชายได้เริ่มจับดินสอ ปากกาและวาดรูปตามประสาเด็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และสังเกตว่าน้องมีความชอบในการวาดรูปที่ออกมาจากจินตนาการ จึงได้สนับสนุนเพราะถือว่าศิลปะเป็นสิ่งช่วยขัดเกลาจิตใจ ช่วยให้น้องภูผาเข้าใจตัวเอง มองโลกในแง่ดี และถือเป็นการเสริมสร้างทักษะของลูก โดยไม่ได้มุ่งหวังที่จะให้ลูกต้องเข้าประกวดหรือมีชื่อเสียงแต่อย่างใด และไม่คิดว่าลูกชายจะวาดภาพได้สวยงามจนไม่มีใครเชื่อ
ทุกครั้งที่วาดภาพน้องภูผาจะมีความตั้งใจสูงและมุ่งมั่นในการวาดภาพงานจิตรกรรมไทยในแบบของตนเอง เช่น ชอบคิดลายกนกเปลว และหางไหลออกมาใหม่ ๆ และจะนำมาอวดคุณแม่เสมอ ซึ่งอาจจะมีถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่เห็นได้ชัดว่าหัวใจของน้องมีความตั้งใจในการวาดภาพ และการรักษาศิลปะไทยในงานจิตรกรรมไทยแน่นอน
โลกแห่งจินตนาการของเด็ก
คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมีลูกที่อยู่ในวัยเตรียมอนุบาล จะเห็นว่าเด็กวัยนี้ ชอบที่จะอยู่ในโลกแห่งจินตนาการของตนเอง เช่น อาจจะเล่นสมมุติว่า ตนเองเป็นหมอ ทำท่าทางตรวจคุณตาคุณยายอย่างแข็งขัน หรือ เอาชุดอุลตราแมนมาใส่ แล้วทำท่าทางเตะต่อย เหมือนกับที่เขาเห็นในทีวี ส่วนเด็กผู้หญิงก็อาจจะเอาตุ๊กตาหมีมากอด ทำท่าป้อนนมให้ เปลี่ยนผ้าอ้อม เหมือนกับเป็นคุณแม่ที่กำลังเลี้ยงลูก บางคนอาจจะเล่นทำกับข้าว ยกจานมาเสริฟ คุณพ่อคุณแม่ และบอกคุณแม่ว่า ระวังนะคะ ข้าวผัดกำลังร้อนๆ ลองชิมดูซิคะ (ทำเสียง และท่าทางเหมือนคุณแม่เปี๊ยบเลย)
ซึ่งพฤติกรรมการเล่นสมมุติของลูกนี้ อาจจะเริ่มเห็นได้ ตั้งแต่ในช่วงอายุ 1-2 ปีแล้ว เช่น เด็กอาจทำท่าเอาช้อนเปล่าป้อนข้าวตนเอง และทำท่าทางอร่อย แต่จะเป็นช่วงวัยเตรียมอนุบาลนี้เอง ที่การเล่นสมมุติ หรือการสร้างจินตนาการ จะเกิดขึ้นอย่างมากที่สุด
องค์ประกอบที่สำคัญ ในการเล่นสมมุติ หรือการสร้างจินตนาการ จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. Props คือ วัตถุ หรือวัสดุที่ใช้ประกอบฉาก เช่น ถ้วยกาแฟ เด็กอาจจะเล่นสมมุติว่ากำลังดื่มกาแฟจากถ้วยจริงๆ เหมือนคุณพ่อ หรืออาจจะทำมือแกล้งทำเป็นถือถ้วยดื่มกาแฟ (ทั้งๆ ที่ไม่มีถ้วย)
2. Plot ส่วนใหญ่ในการเล่นสมมุติของเด็ก มักจะมีการสร้าง story line เป็นเค้าโครงเรื่องอย่างง่ายๆ ซึ่งมักจะเป็นการเลียนแบบที่เด็กเห็นอยู่ทุกๆวัน รอบๆตัวของเขา เช่น เล่นเป็นคุณครูที่โรงเรียน หรือเล่นเป็นพ่อแม่ เล่นเป็นหมอ หรือพยาบาล ฯลฯ ในบางครั้งอาจเป็นเค้าโครงเรื่อง จากหนังสือนิทานที่อ่าน หรือจากละครโทรทัศน์ ที่ดูอยู่ทุกวัน
3. Roles คือ บทบาทที่เล่นเลียนแบบของจริง เช่น เล่นเป็นตำรวจ วิ่งไล่จับผู้ร้าย เล่นเป็นหมอ ฯลฯ หรือ จากจินตนาการ เช่น เล่นเป็นอุลตราแมน หรือ เป็น ซินเดอเรลลา เป็นต้น
พลังแห่งจินตนาการ พอเริ่มเข้าวัยเตรียมอนุบาล เด็กเริ่มพ้นออกจากอกพ่อแม่ เช่นไปเล่นกับเด็กอื่นข้างบ้าน ไปโรงเรียน ไปสนามเด็กเล่น ฯลฯ ซึ่งทำให้อาจไปเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เช่น ถูกเพื่อนแกล้ง ถูกครูดุ ไม่มีคนเข้าใจ ฯลฯ ซึ่งเด็กเองไม่เข้าใจ และไม่รู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไร และไม่มีคุณพ่อ คุณแม่อยู่แถวนั้นคอยช่วยเหลือ ดังนั้น เด็กจึงมีกลไกในตัวเอง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหา หรือความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง โดยการสร้างจินตนาการ และการเล่นสมมุติ เช่น สมมุติว่าตนเองใหญ่โต และมีอำนาจ เป็น ตำรวจ เป็นซุปเปอร์แมน ที่จะจัดการกับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบได้ ทำให้ตนเองรู้สึกว่าปลอดภัยขึ้น ส่วนใหญ่พระเอกในใจของเด็ก ที่เด็กรู้สึกว่าเก่ง และมีอำนาจ อาจไม่ใช่ อุลตราแมน หรือซุปเปอร์แมน เสมอไป
ส่วนใหญ่พระเอก( หรือนางเอก) ในใจของเด็ก คือ คุณพ่อคุณแม่ของเด็กเอง เด็กได้เห็นคุณพ่อคุณแม่ ทำสิ่งต่างๆได้หลายอย่าง ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กอยากทำได้ อย่างนั้นบ้าง เด็กๆ จึงชอบที่จะเล่นสมมุติ เป็นตัวคุณพ่อ หรือ คุณแม่ เช่น เล่นเป็นคุณพ่อไปทำงาน หรือ คุณแม่ทำกับข้าว ฯลฯ
บางครั้ง การเล่นสมมุติ ทำให้เด็กได้คลายความเครียด เช่น เด็กที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลเนื่องจากต้องทำผ่าตัด อาจจะเล่นสมมุติว่าตนเองเป็นหมอ ทำการผ่าตัดตุ๊กตา หรือ เด็กที่เพิ่งมีน้องใหม่เข้ามาในบ้าน หลังจากคุณแม่ไปคลอดน้องที่โรงพยาบาล และทุกคนให้ความสนใจ เห่อน้องใหม่กัน เด็กเองเกิดความสับสนในบทบาทของตนเอง อาจมีความรู้สึกอิจฉาน้องบ้าง ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็ก ในการปรับตัวเมื่อมีน้องใหม่ ก็อาจจะเล่นโดยเอาตุ๊กตามาสมมุติว่า เป็นน้องเล็ก แล้วมาโยนเหวี่ยงทิ้ง ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็น และเข้าใจเด็ก ก็จะสามารถช่วยให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับการมีน้องใหม่ได้ โดยการให้เวลากับเขามากขึ้น และอาจจะใช้ตุ๊กตาตัวเดียวกันนั้น เป็นสื่อในการแสดงความรักน้อง เช่นให้เขาอุ้มป้อนนม, เปลี่ยนผ้าอ้อม ฯลฯ แทนที่จะดุว่าเด็ก ว่าทำไมเอาตุ๊กตามาโยนลงกับพื้น เป็นต้น
การเล่นสมมุติตามจินตนาการของเด็ก ทำให้เด็กได้รู้สึกว่า
1. ตนเองมีความเข้มแข็ง และมีความมั่นใจมากขึ้น (stronger and more confident)และจะช่วยลดความเครียด หรือความกลัวที่ตนเองมีอยู่
2. Happiness คือมีความสุขกว่า, active กว่า, มีความก้าวร้าวน้อยกว่า
3. Self-entertainment เช่น ขณะกำลังรอคอยคุณแม่แต่งตัว เขาได้เล่นสมมุติตามจินตนาการจนเพลิน ทำให้ไม่หงุดหงิดมาก
4. Roots of sensitivity การเล่นบทบาทที่สมมุติเป็นคนอื่นๆ ทำให้มีความเข้าใจในบทบาทของแต่ละคน ทำให้เข้าใจ และเห็นใจคนอื่นๆมากขึ้น
5. Creativity ทำให้เด็กได้ลองคิดในมุมกว้างที่หลากหลาย เช่น เล่นเป็นคนดี คนไม่ดี คนจน ขอทาน ฯลฯ ทำให้เด็กเริ่มมีทัศนะคติ ต่อโลกรอบตัวเขาในแง่มุมที่กว้างขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการทางด้านทักษะอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น พบว่าเด็กที่ได้มีโอกาสเล่น ตามจินตนาการของตนเองบ่อยๆ จะมีทักษะในการคิด (Thinking skills) ดีกว่า, มีสมาธินานกว่า และมีไอเดียใหม่มากกว่าเด็กที่อยู่เฉยๆ ดูแต่ทีวี ฯลฯ อาจจะเป็นเพราะว่าเด็กที่ชอบเล่นตามจินตนาการ มักจะเป็นเด็กที่มีแววฉลาดกว่าเด็กทั่วไป โดยตัวของตัวเองอยู่แล้ว หรือ อาจจะเป็นว่าการเล่นตามจินตนาการของเด็กได้เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดสำรวจและมองในมุมมองอื่นที่กว้างขึ้น มีความยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวเด็กเองเมื่อโตขึ้นอีกด้วยนะคะ
ที่มา : www.kapook.com
www.news.mthai.com
https://www.esantoys.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
20 สัญญาณ บ่งบอกว่าลูกคุณคือเด็กอัจฉริยะ
สุดทึ่ง! คลิปเด็กอัจฉริยะ อายุเพียง 16 เดือน หยิบบัตรคำได้อย่างแม่น
เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร ทำไมเด็ก ๆ ถึงสร้างเพื่อนในจินตนาการขึ้นมา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!