ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกวัตถุดิบ และวิธีทำที่พิถีพิถัน รสชาติหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนให้น่าทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง จึงทำให้ขนมออกมารูปร่างสวยงาม น่ารับประทานเป็นอย่างมาก เรามาดูกันว่า 15 ขนมไทย นั้นจะมีอะไรบ้าง และแต่ละขนมจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร? แต่ละขนมก็มาพร้อม สูตรอาหารขนมไทยเช่นเดียวกันไปดูกันเลย
1. ทองหยิบ ขนมไทย ขนมน่าทาน
ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่จัดอยู่ในชุดงานมงคลต่าง ๆ เช่นกัน เพราะเชื่อว่าขึ้นต้นด้วยทองแล้วลงท้ายด้วยหยิบจะเป็นอะไรที่หยิบจับง่ายได้เงินได้ทองนั้นเอง งานมงคลต่าง ๆ นั้นเช่นงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานประเพณีต่าง ๆ
ส่วนผสมของทองหยิบ
- ไข่แดงของไข่เป็ด 4 ฟอง
- น้ำปล่า 3 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1+1/2 ถ้วย
สูตรขนมไทย ขนมไทยโบราณ
- เติมน้ำตาลทรายลงในกระทะ นำไปตั้งไปอ่อน ๆ คนจนละลาย แล้วปิดไฟพักทิ้งไว้ให้เย็นก่อน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง
- เทน้ำเชื่อมลงในกระทะ ใช้ไปกลางพอน้ำเชื่อมร้อน แต่ไม่ใช้เดือดพล่านนะ
- ตีผสมไข่แดงจนฟู ตักหยอดลงในน้ำเชื่อม พอสุกแล้วทั้งสองด้านให้ตักขึ้น พักทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจับจีบให้สวยงาม แล้ววางใส่ถ้วย พร้อมเสิร์ฟ
บทความที่น่าสนใจ : ลูกติดรสหวาน ทำอย่างไรดี?
2. ขนมไทยโบราณ ขนมชั้นใบเตย ขนมน่าทาน
ขนมชั้น มีหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบชิ้นสี่เหลี่ยมเป็นชั้น ๆ หรือจะแบบรูปดอกไม้ต่าง ๆ แต่บางที่ใครหลาย ๆ คนจะคิดว่าขนมชั้นทำยาก แต่เป็นจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิดเลย ส่วนผสมมีเพียงไม่กี่อย่าง เราไปดูกันว่าจะมีส่วนผสมอะไรบ้าง วิธีทำอย่างไร?
ส่วนผสมขนมชั้นใบเตย ขนมไทยโบราณ
- น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วย
- น้ำกะทิ 4 ถ้วย
- แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วย
- แป้งเท้ายายม่อม 1 1/2 ถ้วย (หรือแป้งถั่วเขียว)
- น้ำหอมกลิ่นมะลิผสมน้ำ 1/2 ถ้วย
- ถาดหรือพิมพ์สี่เหลี่ยมสำหรับนึ่งขนม (ขนาด 10×10 นิ้ว หรือ 8×8 นิ้ว)
วิธีทำ ขนมชั้นใบเตย สูตรอาหารไทยโบราณ
- ใส่น้ำตาลทรายและกะทิลงในหม้อ คนผสมให้เข้ากันแล้วนำขึ้นตั้งไฟกลาง ๆ แล้วรอจนน้ำตาลละลาย หลังจากนั้นยกลงจากเตา พักทิ้งไว้ให้เย็น
- นึ่งถาดหรือพิมพ์ในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือด ประมาณ 10-20 นาที
- ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง และแป้งยายม่อมเข้าด้วยกันแล้วค่อย ๆ เทส่วนผสมของกะทิลงไป ใช้มือนวดแป้งให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน นวดประมาณ 10 นาที จนแป้งไม่จับตัวเป็นก้อน จากนั้นก็นำไปกรองด้วยตะแกรง
- แบ่งแป้งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ผสมกับน้ำใบเตย และส่วนที่ 2 ผสมกับน้ำมะลิ แล้วผสมให้เข้ากัน
- ทำชั้นที่ 1 โดยเทส่วนผสมสีขาว (เทส่วนผสมทุกชั้นประมาณ 1/3 ถ้วย) ลงในพิมพ์ ปิดฝาแล้วนึ่งประมาณ 5 นาที เปิดฝา เทส่วนผสมสีเขียวลงไป ปิดฝา นึ่งประมาณ 5 นาที ทำซ้ำเช่นเดิม สลับชั้นกันจนหมดแป้ง จะได้ประมาณ 9-10 นาที/ชั้น โดยชั้นสุดท้าย ให้นึ่งประมาณ 7 นาที ยกออกจากชุดนึ่ง วางพักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
- นำขนมออกจากถาด จุ่มมีดลงในน้ำร้อน กดลงบนขนมเป็นชิ้น ๆ จัดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ
3. ขนมไทย ขนมเบื้อง
เชื่อว่าทุกคนต้องเคยกินขนมเบื้อง ขนมไทยที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะอยากลองทำดู และวันนี้เราได้นำสูตรของขนมเบื้องชาววังมาฝากถึงแม้ว่าส่วนผสมจะมีเยอะไปหน่อย แต่รับรองว่าคุ้มค่าราคาคุยแน่นอน
ส่วนผสม แป้งขนมเบื้องชาววัง
- แป้งข้าวเจ้า 3 ถ้วย
- ถั่วเขียวคั่วป่นละเอียด 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
- ไข่ไก่ 2 ฟอง
- น้ำปูนใส 2 ถ้วย
ส่วนผสม ครีมขนมเบื้อง
- ไข่ขาว (ไข่เป็ด) แช่เย็นจัด 2 ฟอง
- น้ำตาลปิ๊บ 400 กรัม
ส่วนผสมใส้หวาน
- ฝอยทอง
- งาขาวคั่ว (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ตามใจชอบ)
ส่วนผสมใส้เค็ม
- รากผักชี 2 ราก
- กระเทียม 5 กลีบ
- พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
- มะพร้าวขาวขูด 1 ถ้วย
- เกลือป่น 2 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
- กุ้งสดสับละเอียด 1/2 ถ้วย
- สีผสมอาหารสีส้ม เล็กน้อย
- น้ำมันพืชสำหรับผัด
วิธีทำแป้งขนมเบื้อง ชาววัง
- ผสมแป้งข้าวเจ้า ถั่วเขียวคั่วป่น น้ำตาลทราย และไข่ไก่เข้าด้วยกัน
- ค่อย ๆ เทน้ำปูนใสลงไปทีละนิด แล้วสลับกับนวดแป้งไปเรื่อย ๆ จนส่วนผสมแป้งเป็นเนื้อเดียวกัน และนำน้ำตาลทรายที่ละลายหมด มาเตรียมไว้
วิธีทำครีมขนมเบื้อง
- ตีไข่ขาวกับน้ำตาลปิ๊บด้วยความเร็วสูงสุดจนขึ้นฟูและตั้งยอด ประมาณ 10-15 นาที
วิธีทำขนมเบื้อง ชาววัง
- เปิดเตาขนมเบื้อง (หรือกระทะเทฟลอน) ใช้ไฟอ่อน ๆ แล้วใช้กระจ่าตักแป้งขนมเบื้องแล้วละเลงเป็นแผ่นบาง ๆ (ขนาดตามต้องการ) ลงบนเตารอจนแป้งสุก (จะเป็นสีขาว)
- ใช้กระจ่าตักส่วนผสมครีมทาลงบนแป้ง รอจนครีมร้อนจะเป็นฟองอากาศ
- ตักส่วนผสมไส้หวานและไส้เค็มวางลงบนครีมตามชอบ
- พอแป้งเกรียมและเริ่มกรอบแล้ว ใช้เกรียงแซะแป้งขึ้นแล้วพับเป็นครึ่งวงกลม แซะขึ้นจากเตา จัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
4. ขนมหวานไทย ทองหยอด ขนมไทย
ใครจะไปรู้ว่าเมนูไข่นอกจากการทำ ไข่ดาว ไข่เจียวหรือไข่ต้มแล้วยังสามารถนำมาทำขนมได้อีกด้วย เช่นขนมทองหยอด เป็นขนมไทยโบราณที่ใครหลาย ๆ คนก็ต้องรู้จักเป็นแน่นอน วันนี้เราได้นำสูตรของขนมทองหยอดมาฝาก ไปดูกันได้เลยว่าจะมีส่วนผสมของอะไรบ้าง
- ส่วนผสม ทองหยอด
- ไข่แดงของไข่เป็ด 9 ฟอง
- แป้งทองหยอด 1/2 ถ้วย (หรือแป้งข้าวเจ้า)
- น้ำตาลทราย 2+1/2 ถ้วย
- น้ำลอยดอกมะลิ 2+1/2 ถ้วย
วิธีทำ ขนมทองหยอด ขนมไทยโบราณ
- เทน้ำลอยดอกมะลิกับน้ำตาลทรายลงในกระทะ นำไปตั้งไฟแรงจนน้ำเดือด และเคี่ยวต่ออีกประมาณ 10-20 นาที หรือจนน้ำเชื่อมจะเหนียว ตักส่วนหนึ่งออกมาสำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้ว อีกส่วนหนึ่งตั้งไฟไว้
- นำไข่แดงไปกรองด้วยผ้าขาวบาง ตีจนฟูใส่แป้งลงไป คนผสมจนเข้ากัน เสร็จแล้วนำไปหยอดในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือด
- วิธีหยอดทำโดยใช้ปลายช้อนตักส่วนผสมขึ้นมาแล้วใช้ปลายนิ้วโป้งดันลงไปในกระทะ หรือใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หยิบส่วนผสมขึ้นมาเป็นลูกพอเหมาะ แล้วสะบัดลงในน้ำเชื่อม พอสุกจะลอยขึ้นแล้วใช้กระช้อนตักขึ้นมาพักไว้ในชามน้ำเชื่อม จัดใส่ภาชนะเสิร์ฟ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สูตรทำคาราเมล ป๊อปคอร์น (Caramel Popcorn)
5. ขนมไทย ขนมฝอยทอง ขนมไทยโบราณ
ฝอยทอง ขนมไทยที่มีลักษณะเป็นเส้นสีเหลืองทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ดและไข่ไก่ โรยลงบนน้ำเชื่อม เป็นหนึ่งในขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ถูกปากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ วิธีทำไม่ยากเลย พร้อมแล้วเราไปดูวิธีทำกันได้เลย
ส่วนผสม ขนมไทย ฝอยทอง
- ไข่แดงของไข่เป็ด 3 ฟอง
- ไข่แดงของไข่ไก่ 2 ฟอง
- กลิ่นดอกมะลิ 1/2 ช้อนชา
- ใบเตย 1 ใบ
- น้ำตาลทราย 600 กรัม
- น้ำเปล่า 400 มิลลิลิตร
- เทียนอบ 1 ชิ้น
วิธีทำ ฝอยทอง ขนมไทยโบราณ
- นำน้ำเปล่า น้ำตาลทราย ใบเตย กลิ่นมะลิ ลงต้มในกระทะทองเหลือง เปิดไฟแรง ห้ามคนเด็ดขาดไม่อย่างนั้นน้ำตาลจะตกผลึก
- ตีไข่ไก่และไข่เป็ดให้เข้ากัน นำไปกรองด้วยกระชอนตาถี่ จากนั้นตักไข่ใส่กรวยสำหรับทำฝอยทอง
- ตักใบเตยออก และหยอดไข่ให้เป็นสาย วนให้รอบกระทะทองเหลืองประมาณ 20-30 รอบ ต่อ 1 ชิ้น
- ใช้ไม้ปลายแหลม ค่อยๆช้อนฝอยทองขึ้นมาให้เป็นแผ่น วางพักไว้บนตะแกรง 30 นาที
- จุดเทียนหอมให้มีควันขึ้นมา แล้วจึงดับไฟ นำเทียนหอมและขนมฝอยทอง อบรวมกันด้วยภาชนะปิด 10 นาที ก็จะได้ฝอยทองหอม ๆ ไว้รับประทานแล้ว
6. ขนมกลีบลำดวน ขนมไทย ขนมงานมงคล
เอ่ยถึงขนมกลีบลำดวนแล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาซื้อได้ยากในยุคสมัยนี้เช่นกัน และวันนี้เราได้นำสูตรมาให้ได้ลองทำกันดูนะ เราได้สูตรมาจาก ครัวป้ามาราย์ เรามาดูกันว่าส่วนผสมจะมีอะไรบ้าง และวิธีทำอย่างไร
ส่วนผสม ขนมกลีบลำดวน
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ (แป้งว่าว) 100 กรัม
- แป้งบัวแดง 100 กรัม
- น้ำตาลป่น 120 กรัม
- เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
- น้ำมันพืช 70 กรัม (สามารถเพิ่ม-ลดน้ำมันได้ ถ้าแป้งแห้งไปก็สามารถเพิ่มได้)
- สีผสมอาหาร (ตามใจชอบ)
วิธีทำ ขนมกลีบลำดวน ขนมไทยโบราณ
- ผสมแป้งสาลีอเนกประสงค์ แป้งบัวแดง และน้ำตาลทรายป่นคนให้เข้ากัน
- จากนั้นนำไปร่อนสัก 2-3 รอบ ใส่เกลือป่นลงไปแล้วคนให้เข้ากัน
- ค่อย ๆ ใส่น้ำมันพืชลงไป เอาไม้พายตะล่อม จากนั้นเอามือค่อย ๆ นวดให้เข้ากัน จนแป้งจับตัวกันเป็นก้อน จากนั้นพักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
- พอพักแป้งเสร็จแล้ว แบ่งใส่ชามผสม เติมสีผสมอาหารตามชอบ
- ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ชั่งแป้งลูกละ 10-12 กรัม ผ่า 4 แฉก ทำกลีบลำดวน ปั้นเกสรเป็นลูกกลม ๆ เล็ก ๆ วางตรงกลาง
- ใช้ปลายด้ามของช้อนตวงทำบั้งของเกสร
- พออบเสร็จแล้ว พักให้เซตตัวในพิมพ์ก่อน 10 นาที แล้วค่อยเอาออกมาพักบนตะแกรง
- นำมาอบควันเทียนเป็นเวลา 1 คืน หลังจากนั้นพร้อมเสิร์ฟ
7. ขนมดอกโสน ขนมไทยโบราณ
รู้จักกันไหมนะ! แต่ถ้าใครบ้านอยู่ต่างจังหวัดเชื่อว่าน่าจะเคยเห็น เป็นต้นไม้ล้มลุกที่ขึ้นเองตามแถวแหล่งน้ำ ริมบ่อ ริมคลอง เรียกว่าหาได้ง่าย ดอกโสนนอกจากเอามาทำเป็นของหวานอย่างขนมดอกโสนก็ยังเอามาลวกจิ้มกินกับน้ำพริก เอามาผัด เคยเห็นเป็นแพ็กขายตามห้างด้วยนะ ถ้าเป็นที่บ้านต่างจังหวัดนาน ๆ ก็จะมีแม่ค้าเอามาขายเป็นถุง ถุงละไม่กี่บาท ถ้าใครหาซื้อได้ลองเอามาทำขนมดอกโสนกินดู
ส่วนผสม ขนมดอกโสน ขนมพื้นบ้านไทยโบราณ
- แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย
- แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 2 ช้อนชา
- น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
- กะทิ 3-4 ช้อนโต๊ะ
- มะพร้าวขูด 1 ลูก
วิธีทำ ขนมดอกโสน
- นำแป้งข้าวเจ้ากับแป้งท้าวมาผสมรวมกัน ผสมน้ำตาล กะทิ เกลือลงในแป้ง และผสมน้ำตาลมะพร้าว เกลือ กะทิลงไปนวดกับแป้งผสมให้เข้ากัน
- ใส่มะพร้าวขูดลงไป ผสมให้เข้ากันแป้งกับมะพร้าวขูด ใส่ดอกโสนล้างน้ำตามลงไป
- คลุกเข้ากันเตรียมนึ่งบางสูตรเป็นแป้งแห้งๆคลุกเข้าดอกโสนที่แห้ง ที่เราทำเน้นมะพร้าวขูดนำไปนึ่ง 30 นาที หลังจากนึ่งสุกก็ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
8. ขนมไทยโบราณ ขนมถังแตก
ไปงานวัดทีไรต้องซื้อ “ขนมถังแตก” กินทุกที แต่ตอนนี้แถวบ้านไม่มีขายเลยสักเจ้า เราก็ไม่ต้องง้อเลย แค่มีวัตถุดิบ และหม้อเทฟลอน เราก็สามารถเนรมิตขนมถังแตกสุดอร่อยได้ จะทำกินเองก็ดี หรือจะทำขายก็ได้ มาเข้าครัวไปพร้อมกันดีกว่า
ส่วนผสมแป้ง/ใส้ ขนมถังแตก
- แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 ถ้วยตวง
- ยีสต์ 1 ช้อนชา
- น้ำสะอาด 1 1/2 ถ้วยตวง
- เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันพืชสำหรับทากระทะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
- งาดำคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
- มะพร้าว 1 ถ้วยตวง
วีธีทำขนมถังแตก
- ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งสาลีอเนกประสงค์ ยีสต์ และน้ำตาลลงอ่างผสม คนให้เข้ากัน แล้วทำหลุมแป้งตรงกลางไว้
- เทน้ำลงไป นวดส่วนผสมให้เข้ากัน
- ปิดฝาภาชนะ หมักแป้งทิ้งไว้ 30 นาที (ในอุณหภูมิห้อง)
- พอหมักครบตามเวลา ใส่เบกกิ้งโซดา แล้วตีสวนผสมให้เข้ากัน
- น้ำหม้อตั้งไฟกลาง ใช้ กระดาษทิชชู่ ชุบน้ำมันทาให้ทั่วหม้อ
- ตักแป้งลงในหม้อ กรอกแป้งให้ทั่ว ชอบหนาใส่แป้งเยอะ ชอบบางใส่แป้งน้อย จากนั้นปิดฝา รอให้แป้งสุก
- พอแป้งสุก ใส่น้ำตาลทราย มะพร้าว และงาขาวงาดำคั่ว พับครึ่งแล้วจัดเสิร์ฟ
บทความที่เกี่ยวข้อง : อย่าให้ลูกกินน้ำหวาน ไม่ดีต่อร่างกาย เสี่ยงไม่พัฒนาการ ไม่ดี
9. ขนมไทย ขนมตาล
ขนมตาลเป็น ขนมพื้นบ้านอร่อย ๆ ส่วนผสมและขั้นตอนการทำเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร
ส่วนผสมขนมตาล ขนมไทยโบราณ
- ผลตาลสุก 1 ผล
- ข้าวสารเก่า 2 ถ้วย
- แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
- เนื้อมะพร้าวขูด 2 ถ้วย
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีการทำขนมตาล ขนมไทยโบราณ
- ปอกเปลือกลูกตาลออก จากนั้นขูดเอาแต่เนื้อลูกตาลสีเหลืองออก และนำตัวลูกตาลไปแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมด
- จากนั้นใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาลผูกมัดปากไว้ให้แน่นแขวนไว้ให้แห้ง
- นำข้าวสารไปแช่น้ำไว้ให้เนื้อข้าวสารอ่อน จากนั้นนำไปโม่ให้ละเอียด แล้วทับให้แห้ง
- ผสมข้าวสารที่โม่ไว้แล้วกับ แป้งท้าวยายม่อม และ ลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้ว นวดให้ส่วนผสมนุ่มเป็นเนื้อเดียวกันโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที จากนั้นใส่ น้ำตาล สลับกับ หัวกะทิ ลงไป นวดจนส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นพักแป้งไว้ประมาณ 5-10 ชั่วโมง
- นำแป้งที่พักไว้แล้วใส่แม่พิมพ์ นำไปนึ่งให้สุกฟูจากนั้นโรย มะพร้าวขูด ด้านบนขนมตาล แกะออกจากแม่พิมพ์
- เสิร์ฟ ขนมตาล ใส่จานขนม
10. ขนมไทย ขนมถ้วยฟู
ขนมถ้วยฟู ต้องทำขนมไหว้เจ้ากันเอง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเพิ่มสีสันสดใสให้กับขนมด้วยสีผสมอาหารต่าง ๆ ที่เราสามารถเลือกว่าจะให้เป็นสีอะไรบ้าง ความหมายของขนมดีแบบนี้ รสชาติก็อร่อยไม่แพ้กัน ไปดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลย
ส่วนผสมขนมถ้วยฟู ขนมไทย
- แป้งสาลี 200 กรัม
- ผงฟู 1 ช้อนชา
- ไข่ไก่สด 2 ฟอง
- น้ำ 100 กรัม
- น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
- กลิ่นมะลิ 1/2 ช้อนชา
- น้ำตาล 180 กรัม
- SP 10 กรัม
- นมข้นจืด 50 กรัม
- สีผสมอาหาร สีที่ต้องการ
วิธีทำ ขนมถ้วยฟู ขนมไทย
- เตรียมน้ำเปล่าใส่ซึ้ง 3ใน 5 ของลังซึ้ง แล้วนำผ้าขาวบางมาห่อฝาปิดลังซึ้งเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหยดใส่ขนม
- เตรียมร่อนแป้งและผงฟูเข้าด้วยกัน แล้วพักไว้
- ตีไข่ไก่ น้ำตาล และ SP ตีด้วยความเร็วใช้เวลา 5 นาที ตีจนกว่าจะข้นเหนียว หรือสังเกตด้วยใช้ไม้พายตักขึ้นมาแล้วไม่หยดเป็นอันว่าใช้ได้ และระหว่างนี้ก็เตรียมเตานึ่งสำหรับนึ่งขนม ตั้งไฟแรงสุดให้น้ำเดือดจัด
- เติมแป้งสาลีที่ร่อนกับผงฟูลงไปตี เติมลงไปทีละน้อยๆ ตีช้า ๆ จนเติมแป้งจนหมด แล้วตีต่ออีก 1 นาที
- เติมนมจืด น้ำมะนาวและกลิ่นมะลิลงไปแล้วเปลี่ยนมาตีด้วยความเร็วอีก 5 นาที และก็สลับมาตีเบาๆอีก 1 นาที เพื่อไล่อากาศ
- แบ่งส่วนผสมตามสีที่ต้องการ มีกี่สีก็แบ่งไปตามจำนวนสีนั้น ๆ หยอดสีลงที่ขนมทีละหยด แล้วคนให้เข้ากันหากยังไม่พอก็เพิ่มได้ แต่ความเข้มของสี เมื่อนึ่งเสร็จสีจะเข้มกว่าตอนที่ยังไมนึ่งนะ
- เตรียมถ้วยกระดาษรองด้วยพิมพ์ อลูมิเนียมตักให้เต็มถ้วยไม่ต้องเผื่อ เพราะเราตั้งใจให้มันฟูขึ้นเลยถ้วยกระดาษ
- เราเตรียมลังถึงไว้น้ำเดือดจัดแล้ว วางขนมลงไปในซึ้ง แล้วหรี่ไฟให้เหลือไฟอ่อน ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 นาที แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
11. ขนมหม้อแกง ขนมไทย
เป็นขนมไทยที่แต่ก่อนใช้หม้อดินในการทำ เนื้อขนมมีความนุ่ม เนื้อเนียน เป็นสีน้ำตาล เนื้อให้รสหวานมัน นิยมทำกันมากในภาคกลาง แต่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นต้นตำรับและนิยมมากคือ จังหวัดเพชรบุรี
ส่วนผสมดั้งเดิม ขนมหม้อแกง
- เผือกนึ่งสุก หรือบุกนึ่งสุก 1 กิโลกรัม
- แป้งท้าวยายม่อม 1 ขีด
- แป้งข้าวเจ้า 1 ขีด
- ไข่เป็ด 7 ฟอง
- น้ำตาลโตนด 1 กิโลกรัม
- น้ำกะทิ 3 ถ้วย หรือประมาณ 1 กิโลกรัม
วิธีทำขนมหม้อแกง ขนมไทยโบราณ
- นำมะพร้าวที่ขูดแล้วมาครั้นกะทิ ด้วยการใช้น้ำอุ่นครั้น แล้วกรองแยกเอาเฉพาะหัวกะทิ เมื่อได้กะทิแล้วเทใส่กะละมังไว้ สำหรับการทำเพื่อจำหน่ายที่ต้องใช้น้ำคั้นกะทิมาก มักหาซื้อตามร้านคั้นกะทิหรือคั้นด้วยเครื่องคั้นกะทิเอง ส่วนนมสดให้นำนมสดมาอุ่นให้ร้อนก่อน
- ตอกไข่ใส่กะละมัง พร้อมกวนตีให้ไข่ขาว และไข่แดงผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
- นำน้ำตาลโตนดลงผสมกับไข่ พร้อมกวนหรือขยำให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน หรืออาจใช้เครื่องตีผสม ซึ่งมักนำมาใช้หากผลิตจำนวนมาก แต่หากให้มั่นใจ ให้กรองด้วยผ้าขาวอีกรอบ
- นำเผือกหรือบุกที่นึ่งสุกแล้วมาบดให้ละเอียด หากใช้หลายอย่างให้ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันก่อน
- นำเผือกหรือบุกที่บดแล้วมาผสมกับไข่ และน้ำตาลที่ผสมกันในชามก่อนหน้า พร้อมคลุกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- เทน้ำกะทิ (สูตรดั้งเดิม) หรือนมสด (สูตรนมสด) ลงผสม พร้อมกวนคลุกให้เข้ากัน 15-20 นาที ก่อนเทลงถาด และนำเข้าเตาอบหรือนำไปนึ่ง
12. ขนมไทย ขนมตะโก้ ขนมโบราณ
เสน่ห์ของตะโก้อยู่ที่ตัวขนมที่แบ่งออกเป็นสองส่วน ประกอบด้วยเนื้อตะโก้ซึ่งมีแห้วเป็นส่วนผสม และหน้ากะทิข้น ๆ หวานมันเกินห้ามใจ
ส่วนผสมตัว ขนมตะโก้
- แป้งข้าวโพด 40 กรัม
- น้ำสะอาด 430 กรัม
- น้ำตาลทราย 110 กรัม
- แห้วน้ำเชื่อม (หั่นเต๋า) 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนผสม หน้าตะโก้
- กะทิ 400 กรัม
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 40 กรัม
- แป้งถั่วเขียว 1 1/2 ช้อนชา
- แป้งข้าวเจ้า 28 กรัม
วิธีทำ ขนมตะโก้ ขนมไทย
- เตรียมกระทงใบเตย โดยตัดส่วนปลายของใบเตยยาวประมาณ 2 นิ้ว เพื่อใช้ในการวัดขนาดความกว้างของกระทง พับใบเตยตามความกว้างของใบเตยที่ตัดเป็นแบบ พับสี่ทบ เมื่อคลี่ออกจะได้ห้าตอน ตัดครึ่งใบเตยตามรอยพับให้ถึงส่วนของก้านใบ พับใบเตยโดยให้ด้านเงาอยู่ด้านใน ส่วนครึ่งล่างของใบเตยให้ซ้อนกันไปเรื่อย ๆ จนกลับมาทบกัน กะรัตด้านข้างด้วยไม้กลัด
- ผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำสะอาดในกระทะทองเหลือง นำไปตั้งไฟ ใช้ตะกร้อกวนด้วยความร้อนต่ำจนแป้งข้นและใสขึ้น
- ใส่น้ำตาลทราย และแห้ว กวนต่อให้น้ำตาลละลายดี ยกออกจากความร้อน ใส่น้ำใบเตย คนให้เข้ากัน
- ตักส่วนผสมตะโก้ลงในกระทงใบเตยประมาณครึ่งกระทง พักให้เย็นลง
- ทำหน้ากะทิ โดยนำส่วนผสมทั้งหมดใส่กระทะทองเหลือง คนให้เข้ากัน นำไปตั้งไฟ และกวนจนแป้งสุกดี
- นำหน้ากะทิร้อน ๆ ใส่ถุงบีบ ใส่ถุงมือกันความร้อน บีบหน้ากะทิลงตัวตะโก้ทันทีให้เต็มกระทง (ห้ามพักไว้จนเย็น เพราะหน้ากะทิจะแข็งตัว เมื่อนำไปใส่บนหน้าตะโก้ผิวจะไม่เรียบ)
- พักให้เย็นลง ตกแต่งด้วยกลีบดอกไม้ เช่น กลีบกุหลาบ ดอกอัญชัน หรือดอกเข็ม (ถ้าต้องการ) รับประทานที่อุณหภูมิห้อง
13. ขนมไทย ขนมบ้าบิ่น
ลืมรสชาติขนมบ้าบิ่นขนมไทยโบราณชิ้นกลม ๆ หรือยังเอ่ย ถ้าใครคิดถึงขนมชนิดนี้แม้จะไปหาซื้อก็ยากยิ่งนัก ลองหาวันว่าง ๆ มาทำกินเองกันเถอะ เราขอนำเสนอวิธีทำขนมบ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน เลือกทำได้ทั้งบ้าบิ่นข้าวเหนียวขาวหรือบ้าบิ่นข้าวเหนียวดำ หรือใครจะดัดแปลงเป็นบ้าบิ่นเผือกหรือบ้าบิ่นข้าวโพดก็ได้เช่นกันนะ
ส่วนผสม ขนมไทยบ้าบิ่น
- แป้งข้าวเหนียวขาว 1 ถ้วย (หรือแป้งข้าวเหนียวดำผสมแป้งข้าวเหนียวขาวเล็กน้อย)
- น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย (ปรับความหวานตามชอบ)
- กะทิสด 1/2 ถ้วย
- เกลือป่น เล็กน้อย
- เนื้อมะพร้าวอ่อน (ขูดเป็นชิ้นหยาบ ๆ ) 2 ถ้วย
- น้ำมันพืช (สำหรับทากระทะ)
วิธีทำ ขนมบ้าบิ่น ขนมไทยโบราณ
- ผสมแป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย กะทิ และเกลือป่นให้เข้ากันจนน้ำตาลทรายละลาย
- ใส่เนื้อมะพร้าวขูดลงไปคนผสมให้เข้ากัน
- นำกระทะขึ้นตั้งไฟกลาง ทาน้ำมันพืชที่กระทะบาง ๆ ใช้ช้อนตักส่วนผสมขนมลงจี่ พอสุกให้กลับอีกด้านจนขนมสุกเหลืองสวย จัดใส่กระทงใบตอง พร้อมเสิร์ฟ
14. ขนมครก ของว่างขนมไทย
ขนมครก ที่เราเห็นกันมาตั้งแต่เด็ก สมัยนั้นการแคะขนมครกเป็นกิจกรรมที่เด็กทุกคนใฝ่ฝัน เวลาเล่นขายของก็ชอบจำลองเป็นแม่ค้าขายขนมครก ตอนนี้โตแล้วทำเองได้ทำขายดีรวย กับสูตร ขนมครก ขนมไทยโบราณ ใส่ได้หลายหน้า
ส่วนผสม ขนมครก ส่วนที่ 1 ตัวขนมครก
- กะทิ 1 ถ้วย
- แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
- น้ำอุ่น 1 ถ้วย
- น้ำปูนใส 3 ช้อนโต๊ะ
- ข้าวสุก 1/4 ถ้วย
- กะทิ 1/4 ถ้วย (สำหรับใส่เครื่องปั่น)
- น้ำตาลทราย 4 ช้อนชา
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
ส่วนผสม ส่วนที่ 2 หน้าขนมครก
- กะทิ 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
- เกลือ 1 ช้อนชา
- แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ
หน้าขนม
- ข้าวโพด
- ต้นหอมซอย
- ฟักทอง
- เผือก
- ฝอยทอง
- มะพร้าว
15. ขนมไทย วุ้นกะทิ
วุ้นกะทิเป็นเมนูของว่างที่ทำได้ง่าย ๆ แถมกินแล้วเย็นชื่นใจอีกด้วย เราไปดูกันว่าส่วนผสมของวุ้นกะทิมีอะไรบ้าง วิธีทำอย่างไร
ส่วนผสม วุ้นกะทิ ของว่างไทย
- กะทิ 250 มิลลิลิตร
- น้ำเปล่า 250 มิลลิลิตร
- น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ เล็กน้อย
- ผงวุ้น 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ วุ้นกะทิ ของว่างไทย ทำทานได้ง่าย ๆ
- ผสมน้ำเปล่ากับผงวุ้นคนให้เข้ากัน แล้วแช่ทิ้งไว้ 10 นาทีให้ผงวุ้นอิ่มน้ำ
- เปิดไฟต้มให้เดือด คนจนผงวุ้นละลาย ใส่น้ำตาล และเกลือ(เล็กน้อย)
- เทน้ำกะทิลงไป เคี่ยวให้เข้ากันจนน้ำกะทิเดือดแล้วปิดไฟ
- เทวุ้นกะทิลงไปในแป้นพิมพ์ แล้วนำไปแช่ตู้เย็นเพื่อให้วุ้นกะทิแข็งตัวมากขึ้น
- แกะวุ้นออกจากแป้นพิมพ์ ใส่จานพร้อมรับประทาน
แหล่งที่มา : cooking.kapook.com