theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 29 ควรเริ่มกินยาคุมเมื่อไร ?

บทความ 5 นาที
•••
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่  29 ควรเริ่มกินยาคุมเมื่อไร ?100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่  29 ควรเริ่มกินยาคุมเมื่อไร ?

หลังคลอดลูกคุณแม่มีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่ม กินยาคุม เมื่อไหร่ แล้วแบบไหนดีแบบไหนเหมาะ เรามาดูกันค่ะว่าคุณแม่ควรเริ่ม กินยาคุม ช่วงไหนหลังจากคลอดแล้ว

 

ยาคุมกำเนิด

การกินยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้กันมากที่สุด มีความปลอดภัยสูง มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ หาซื้อง่าย มีตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีถ้ากินอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ บางยี่ห้อก็มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย ช่วยลดสิว ฝ้า หน้ามันได้ด้วย

 

เริ่มกินยาคุมเมื่อไหร่ ? 

สามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 6 สัปดาห์หลังคลอด ยาคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ดีกว่าถุงยางอนามัย แต่ขณะที่ใช้การคุมกำเนิดวิธีนี้ระดูมักไม่สม่ำเสมอ บางรายระดูมาห่างๆ บางรายไม่มีระดู ซึ่งเป็นผลข้างเคียงปกติจากฮอร์โมน ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือความสามารถในการเจริญพันธุ์เมื่อหยุดใช้ยาระดูจะกลับเป็นปกติ

 

การคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ยา หรือฮอร์โมน 

คุมกำเนิด

คุมกำเนิด

  • ถุงยางอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สามารถหาซื้อได้ง่าย และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของสามีและต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ห่วงคุมกำเนิดที่มีทองแดง เป้นการคุมกำเนิดที่มีประสิธิภาพสูง คุมกำเนิดได้ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วง ไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมน ระดูจึงมาสม่ำเสมอ แต่ในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังใส่ห่วง อาจจะมีระดูมากขึ้นและปวดระดูมากขึ้นได้
    • ข้อเสีย คือบางรายอาจมีประจำเดือนมามากกว่าปกติ และอาจมีเลือดออกกระปริบกระปรอยในระหว่างรอบได้ บางรายก็อาจมีอาการปวดประจำเดือนมากกว่าเดิมได้ อาการเหล่านี้มักเป็นในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นอาการเหล่านี้มักดีขึ้นแล้วหายไปเอง
  • การทำหมัน เป็นการคุมกำเนิดถาวร เหมาะกับครอบครัวที่มีลูกเพียงพอแล้ว สามารถทำหมันได้ขณะผ่าตัดคลอดบุตร หรือหลังคลอดบุตรทางช่องคลอด 24-48 ชั่วโมง
    • ข้อเสีย หากเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา ก็ต้องไปผ่าแก้หมันใหม่อีกที แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตอนทำหมันทำแค่ 10 นาทีเสร็จ แต่เวลาแก้หมัน จะต้องผ่าท้องเข้าไปใหม่ และแก้ยากกว่า ใช้เวลามากกว่ามาก

 

การคุมกำเนิดที่ใช้ยา หรือฮอร์โมน 

  • การฉีดยาคุมกำเนิด  การฉีดยาคุมก็เป็นที่นิยมเป็นอันดับสองรองจากการกินยาคุม มีประสิทธิภาพดี ไว้ใจได้ โอกาสพลาดมีน้อยมากถ้าฉีดตรงเวลา เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ เนื่องจากไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนม ยาฉีดคุมกำเนิดจะเริ่มฉีดใน 4 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าฉีดช้ากว่านี้ก็ไม่ดีนัก เพราะคุณแม่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่อาจมีไข่ตกเร็วเกินคาดก็ได้ การฉีดยาคุมแต่ละครั้งสามารถคุมกำเนิดไปได้นาน 12 สัปดาห์ ฉีดครั้งต่อไปควรฉีดตามกำหนดที่คุณหมอนัด ถ้าลืมหรือไม่ว่างก็ไม่ควรเกินนัดไปกว่า 14 วัน
    • ข้อเสีย คือ บางคนอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ มีประมาณ50 เปอร์เซนต์ ที่ไม่มีประจำเดือนมาเลย อีก 25 เปอร์เซนต์มีประจำเดือนมากระปริบกระปรอยตลอด บางทีก็อาจมีเลือดออกทั้งเดือน ถ้าเลือดออกไม่มากนัก พอยอมรับได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าออกมากออกนานจนมีผลต่อสุขภาพก็เปลี่ยนไปคุมวิธีอื่นจะดีกว่า
      คนที่ฉีดยาคุมแล้วไม่มีประจำเดือนมา ต่อมาก็หยุดฉีดยาประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ สามารถตั้งครรภ์ได้ก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4-6 เดือน หลังหยุดฉีดไปแล้ว
      ข้อเสียอีกอย่างคือฝ้าขึ้นง่ายเวลาโดนแดดจัดๆ เพราะเม็ดสีใต้ผิวหนังจะไวแสงมากขึ้นกว่าปกติ

 

  • ฝังยาคุมกำเนิด ยาคุมชนิดฝังหน้าตาจะเป็นแท่งซิลิโคนอันเท่าหลอดยาคูลป์ ยาวประมาณ 4 ซม. ตัวยาที่บรรจุข้างในเป็นยาชนิดเดียวกันกับยาคุมกำเนิดแบบฉีด แต่เอายานี้มาฝังไว้ใต้ท้องแขนท่อนบน ตัวยาก็จะค่อยๆ ปล่อยออกมา มีผลคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วชนิดและจำนวนหลอด พอครบกำหนดแล้วก็ต้องผ่าเอาออกหรือเปลี่ยนเอาชุดใหม่ใส่เข้าไป
    • ข้อเสีย เนื่องจากเป็นยาคุมแบบเดียวกับยาฉีด คือทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติเหมือนกัน และไม่สามารถเปลี่ยนใจได้เพราะยามีผลนานถึง 3-5 เดือน

 

  • ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย การกินควรกินอย่างสม่ำเสมอ ถ้าลืมมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่าย เนื่องจากมีฮอร์โมนขนาดต่ำ
    • ข้อเสีย มีหลายคนที่กินยาคุมแล้วมีอาการคลื่นใส้อาเจียน ปวดหัว อ้วนบวม ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ถ้าเรียกกันภาษาชาวบ้านก็เรียกกันว่า “แพ้ยาคุม” ซึ่งก็มักพบในยาคุมรุ่นแรกๆ ที่มีปริมาณฮอร์โมนสูง ยาคุมรุ่นใหม่ๆ มักมีปริมาณฮอร์โมนที่ต่ำลง แต่ยังคงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดี แต่ก็มีราคาแพงกว่ารุ่นเก่าๆ มาก ยาคุมชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำก็คืออาจมีปัญหาเรื่องเลือดออกกระปริบกระปรอยในช่วงกลางรอบได้ในบางรายในคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ปวดหัว ไมเกรน โรคตับ เนื้องอกของเต้านม เนื้องอกของระบบสืบพันธุ์ก็ไม่ควรกินยาคุม เพราะฮอร์โมนจากยาคุมก็อาจจะทำให้เนื้องอกโตขึ้นได้

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

ยาคุมกำเนิดแม่ให้นม ลูกดูดนมแม่ปลอดภัย น้ำนมไม่หด ไม่ลดปริมาณ

ยาคุมฉุกเฉิน ใช้อย่างไร วิธีกินที่ถูกต้อง ยาคุมฉุกเฉินป้องกันการท้องได้จริงหรือ?

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 29 ควรเริ่มกินยาคุมเมื่อไร ?
แชร์ :
•••
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 30 ลืมกินยาคุมกำเนิด 3 วัน ควรทำอย่างไร ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 30 ลืมกินยาคุมกำเนิด 3 วัน ควรทำอย่างไร ?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

app info
get app banner
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 30 ลืมกินยาคุมกำเนิด 3 วัน ควรทำอย่างไร ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 30 ลืมกินยาคุมกำเนิด 3 วัน ควรทำอย่างไร ?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป