X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 27 เวลามีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บมาก เป็นเพราะแผลฝีเย็บฉีกใช่ไหม ?

บทความ 5 นาที
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 27 เวลามีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บมาก เป็นเพราะแผลฝีเย็บฉีกใช่ไหม ?

คุณแม่หลังคลอด มีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บ เกิดจากอะไร แล้วการที่ มีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บ เป็นเพราะแผลฉีกใช่หรือไม่ วันนี้เรารวบรวมคำตอบมาฝากแล้วค่ะ

 

แผลฝีเย็บ 

โดยทั่วไปแผลฝีเย็บหลังคลอดมักจะสมานโดยใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่ความแข็งแรงของแผลจะใกล้เคียงปกติอาจใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน  ดังนั้นในระหว่างนี้หากมีการเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะ ไอจามแรง อาจทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อยได้ค่ะ ในกรณีนี้ได้ตรวจติดตามหลังคลอดโดยตรวจภายในพบแผลติดแล้ว หากยังเจ็บมากอาจเกิดจากการติดเชื้อบริเวณแผลได้ แนะนำให้ไปตรวจซ้ำเพื่อประเมินแผลฝีเย็บ ไหมเย็บ การติดเชื้อ เพื่อปรับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

อาการแผลฝีเย็บอักเสบ 

หลังคลอดเองตามธรรมชาติ คุณแม่จะเริ่มมีอาการปวดตึงที่แผลฝีเย็บอยู่บ้าง แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้น ในช่วง 1 สัปดาห์ แต่หากแผลมีการติดเชื้อ สัญญาณเตือนที่คุณแม่จะสังเกตได้คือ มีไข้ขึ้นสูง ปวดหัว ปวดตัว เห็นความผิดปกติจากอาการปวดบวมบริเวณแผลฝีเย็บ ปากช่องคลอด และก้น หรืออาจจะมีก้อนหนองหรือฝีบริเวณปากช่องคลอด และมีอาการปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วย

การติดเชื้อบริเวณฝีเย็บเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หากมีอาการรุนแรงจะมีขั้นตอนของอาการอักเสบแสดงให้เห็น เริ่มต้นจากอาการบวมแดง พบเนื้อตายรอบแผล และมีน้ำเหลืองปนเลือดหรือหนองไหลออกมาจากแผล จากนั้นแผลก็จะปริและแยกจากอาการบวม ในอดีตก็จะปล่อยให้แผลหายเองใน 3-4 เดือน ถ้าไม่หายจึงจะรักษาด้วยการซ่อมแซมบาดแผล แต่ในปัจจุบันสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยคุณหมอจะวินิจฉัย และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ จากนั้นจึงเริ่มซ่อมแซมแผลด้วยการเย็บใหม่  และดูแลแผลทำความสะอาด ตัดเนื้อที่ตายรอบแผลออก หรือตกแต่งซ่อมแผลเพื่อให้หายเร็วขึ้น

 

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อปวดฝีเย็บ

การดูแลแผลอักเสบและแผลฝีเย็บหลังคลอด มีข้อปฏิบัติที่ไม่ซับซ้อน เพียงแต่คุณแม่อาจจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ถึงแม้จะเป็นแผลเล็ก แต่ถ้าเกิดภาวะติดเชื้อขึ้น ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลาในการรักษาเพิ่มอีกเท่าตัว

  1. ประคบเย็นที่แผลในช่วงหลังคลอด เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดบวม แต่ถ้าต้องการอาบน้ำขอแนะนำให้เป็นน้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด แต่ควรทำหลังคลอดมาแล้วมากกว่า 24 ชั่วโมง
  2. แช่แผลฝีเย็บในน้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี แผลหายเร็วขึ้น
  3. รักษาความสะอาดบริเวณแผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการติดเชื้อ
  4. ทานยาตามคำแนะนำของคุณหมอเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะแก้ปวด หรือทาครีมแก้ปวดเฉพาะที่
  5. พยายามอย่าให้แผลรับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น การเบ่งอุจจาระ การใช้สายฉีดชำระแรงเกินไป หรือการเช็ดทำความสะอาดแบบรุนแรง
  6. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีเส้นใยสูง และดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายได้ดี ทำให้คุณแม่ไม่ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แผลฝีเย็บแตกได้
  7. สังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง หากมีความผิดปกติ รีบพบคุณหมอก่อนวันนัดหมาย

 

อาการเจ็บเป็นเพราะฝีเย็บฉีกใช่หรือไม่ ?

อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เพราะฝีเย็บจะสามารถฟื้นฟูตัวได้ประมาณ 1 สัปดาห์ และในการมีเพศสัมพันธ์ก็ควรทำหลัง 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แผลและมดลูกได้ฟื้นฟูตัว และรอให้แผลหายดีก่อน ดังนั้นอาการเจ็บจึงไม่ใช่เพราะฝีเย็บฉีกอย่างเดียว อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคน

 

อารมณ์มีผลทำให้เจ็บขณะมี SEX 

เพศสัมพันธ์

เพศสัมพันธ์

เพราะหากเรามีความกังวล กลัว เครียด อาจส่งผลให้อารมณ์ทางเพศลดลง พอมีเซ็กซ์จึงทำให้เกิดอาการเจ็บขึ้นมาได้ ดังนั้น จิตใจก็สำคัญ ถ้าไม่พร้อม เท่ากับว่า น้องสาวของเราก็ไม่พร้อมเช่นกัน ยิ่งถ้าทะเลาะ มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือมีเรื่องกระทบต่อความเชื่อใจกับคนรัก ก็จะมีผลต่ออารมณ์ทางเพศแน่นอน

 

ขณะมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เจ็บบริเวณไหนบ้าง 

  1. เจ็บที่อวัยวะเพศหญิงภายนอก จะมีอาการแสบ ซึ่งมักเกิดจากการไม่มีอารมณ์ อาการระคายเคือง จากสารเคมี สบู่ เครื่องสำอาง/ยา จากการมีถุงน้ำ อักเสบ หรือจากแผลเป็นที่ยังไม่หายดี
  2. เจ็บในช่องคลอด ที่พบบ่อยที่สุด คือ ช่องคลอดแห้ง ซึ่งอาจเกิดจากช่วงที่กระตุ้นเล้าโลมไม่ดี หรือความตื่นตัวยังไม่ดี จากการใส่ยาบางอย่างเข้าไปทำให้ระคายและแห้ง อาจเกิดจากการอักเสบในช่องคลอดจากเชื้อโรค หรืออาการช่องคลอดแห้งจากการขาดฮอร์โมนในวัยหมดระดู หรือหลังคลอดใหม่ๆ และช่วงที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือการเจ็บที่ช่องคลอดอาจเกิดจากอารมณ์กลัวการร่วมเพศ เช่น กังวลว่าจะตั้งครรภ์ เกิดจากประสบการณ์ร่วมเพศที่เจ็บปวดมาก่อน หรือเคยถูกข่มขืน ซึ่งจะรักษาโดยวิธีข้างต้นได้เช่นกัน
  3. เจ็บในอุ้งเชิงกราน คือบริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปหลังหรือก้นกบ

 

อาการเจ็บ…ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

  • ควรใช้สารหล่อลื่นที่ละลายน้ำ หรือเจลหล่อลื่นที่เป็น water base ช่วย ไม่ควรใช้สารหล่อลื่นที่เป็นน้ำมันที่มาจากปิโตรเลียม เพราะจะระคายเคือง หรือทำให้ถุงยางอนามัยเปื่อย ขาดง่าย
  • หากมีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ให้ลองสังเกตดูว่าเป็นเพราะความไม่พร้อมของอารมณ์ หรือร่างกายของเรา แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะปัญหาเรื่องเซ็กซ์อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ของความสัมพันธ์ได้

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 26 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร ?

เซ็กส์ครั้งแรกหลังคลอด ตอนไหนดี ควรมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดนานแค่ไหน รวมเรื่องที่คุณแม่ควรรู้

เซ็กส์หลังคลอด มีเพศสัมพันธ์หลังคลอดแล้วรู้สึกเจ็บ ผิดปกติหรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 27 เวลามีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บมาก เป็นเพราะแผลฝีเย็บฉีกใช่ไหม ?
แชร์ :
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 26  เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 26 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร ?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 26  เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 26 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร ?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ