X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 เรื่องของ “นมแม่” ที่คุณแม่ป้ายแดงไม่เคยรู้

25 Jul, 2016

ตั้งแต่ตั้งท้องคุณแม่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและอารมณ์แล้ว หลังคลอดยังมีเรื่องเกี่ยวกับ “นมแม่” ที่คุณแม่ป้ายแดงอาจยังไม่เคยรู้รออยู่นะคะ

10 เรื่องของ “นมแม่” ที่คุณแม่ป้ายแดงไม่เคยรู้

10 เรื่องของ “นมแม่” ที่คุณแม่ป้ายแดงไม่เคยรู้

ยังมีอีกหลายเรื่องที่ทั้งว่าที่คุณแม่และคุณแม่ป้ายแดงต้องเรียนรู้อีกมากเลยค่ะ เมื่อเริ่มตั้งท้องเบบี๋ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีหน้าอกขยายใหญ่ขึ้น หัวนมจะสีคล้ำลง ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่จะต้องเจอแน่ ๆ และหลังจากคลอดลูกแล้ว ยังมีเรื่องแปลก ๆ เกี่ยวกับ “นมแม่” ที่บางเรื่องอาจไม่เคยรู้ รอคุณแม่อยู่นะคะ
#1 การให้นมแม่ช่วยให้คุณแม่สตรองขึ้น

#1 การให้นมแม่ช่วยให้คุณแม่สตรองขึ้น

ได้มีการวิจัยพบว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกจะมีความแข็งแกร่งขึ้น และรับมือจากสภาวะเครียด และความกดดันได้ดี เช่น ในกรณีที่จะทำให้แม่เกิดภาวะเครียด เมื่อวัดความดันโลหิตหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพบว่า แม่ที่ให้นมลูกจะมีระดับความดันโลหิตที่ต่ำกว่าแม่ที่ไม่ได้ให้นมลูก ที่เป็นเช่นนี้เพราะฮอร์โมนออกซิโทซิน และโปรแลคติน จะช่วยทำให้ร่างกายแม่ทนต่อความเครียดหรือสภาวะกดดันได้ดีขึ้น
#2 ให้ลูกดูดนมทำให้แม่ง่วงและหลับง่าย

#2 ให้ลูกดูดนมทำให้แม่ง่วงและหลับง่าย

หากคุณแม่ลองสังเกต ทารกจะมีอาการเคลิ้มหลับได้ง่ายในขณะที่ดูดนมแม่ ซึ่งก็ไม่ใช่แค่เบบี๋เพียงอย่างเดียวแต่ก็ทำให้คุณแม่รู้สึกง่วงด้วยเช่นกัน เพราะในขณะร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมจะมีการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย ทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย มีความสุข รู้สึกสบายและง่วงในขณะให้นมลูกได้
#3 น้ำนมเยอะหรือน้อยลูกเป็นผู้กำหนด

#3 น้ำนมเยอะหรือน้อยลูกเป็นผู้กำหนด

คุณแม่ที่กังวลเรื่องกลัวน้ำนมน้อย ลองให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้าบ่อย ๆ น้ำนมจะผลิตออกมาตามความต้องการของลูก ถ้าลูกดูดนมเยอะน้ำนมก็จะเพิ่มขึ้น ถ้าลูกดูดน้อยน้ำนมก็จะลดลง ซึ่งคุณแม่อาจต้องใช้การปั๊มเป็นตัวช่วยเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยอีกทาง นอกจากนี้ ลูกยังช่วยให้น้ำนมไหลออกมาง่ายขึ้น โดยอาศัยปฏิกิริยาน้ำนมไหลออกมาเอง เพียงแค่ได้ยินเสียงร้องไห้ของลูกหรือคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านได้ดูรูปลูกขณะกำลังปั๊มนม ก็จะช่วยให้น้ำนมไหลออกมาง่ายขึ้น
#4 อย่าตกใจกับหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น

#4 อย่าตกใจกับหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น

เต้านมของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนมาถึงช่วงที่ให้นมลูกอย่างน้อย 1-2 คัพ ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่น่าเชื่อถึงความเปลี่ยนแปลงของหน้าอกหน้าใจที่ใหญ่ขึ้น และบางครั้งก็จะเจอกับน้ำนมที่ไหลออกมาเอง จนปั๊มแทบไม่ทัน ยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของคุณแม่มือใหม่ที่ทำอะไรก็ไม่ถูก แม้กระทั่งตอนเอาลูกเข้าเต้าที่ดูเคอะ ๆ เขิน ๆ ติดขัดไปหมด นั่นเป็นเพราะคุณแม่กับลูกน้อยกำลังเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่ ถึงแม้มันจะดูเลอะเทอะในช่วงแรก ๆ แต่มันก็จะเข้าที่เข้าทางได้เองในที่สุด
#5 ลูกไม่ได้กัดนมแม่ในขณะดูดนม

#5 ลูกไม่ได้กัดนมแม่ในขณะดูดนม

เข้าใจว่าคุณแม่ป้ายแดงบางคนอาจกังวลว่าลูกจะกัดหัวนมตอนให้นม จึงรีบเลิกให้นมตั้งแต่ลูกมีฟันขึ้นซี่แรก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในขณะที่ดูดนมอยู่นั้นลูกจะไม่กัดนมแม่ แต่จะกัดหลังจากที่ดูดเสร็จแล้วต่างหาก ดังนั้นถ้ากลัวลูกจะกัดหัวนมระหว่างให้นมลูก คุณแม่คอยสังเกตว่าลูกดูดนมอิ่มแล้วหรือยัง แต่ถ้าถูกลูกกัด อย่าเพิ่งรีบดึงนมออกหรือดุใส่ลูก ให้ใช้วิธีเอานิ้วสอดเข้าปากลูกอย่างเบา ๆ เพื่อเอาหัวนมออกจากปากลูก และไม่ให้ลูกกินต่อจนกว่าจะถึงมื้อถัดไป

Read : ลูกกัดหัวนมแม่ ทำไงดี
#6 ใช้สบู่ล้างบ่อย ๆ จะทำให้หัวนมแตก

#6 ใช้สบู่ล้างบ่อย ๆ จะทำให้หัวนมแตก

ในช่วงที่คุณแม่ลูกอ่อนให้นมลูก เวลาอาบน้ำไม่ควรใช้สบู่ล้างทำความสะอาดหัวนมบ่อย ๆ เพราะจะทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย ควรใช้เพียงน้ำสะอาดล้าง ส่วนในระหว่างวันไม่ต้องใช้สำลีเช็ดหัวนมหรือล้างหัวนมก่อนลูกดูดหรือก่อนปั๊มนม เพราะจะเป็นการรบกวนผิวหนังมากเกินไป ทำให้สูญเสียสารเคลือบผิวซึ่งเป็นตัวช่วยให้ผิวหนังแข็งแรง จะทำให้หัวนมแตกง่ายขึ้นด้วย
#7 ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้น

#7 ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้น

อย่าหลงเชื่อกับคำพูดว่า การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้น้ำนมลดลงต่างหาก ดังนั้นหากคุณแม่ที่มีน้ำนมอยู่แล้ว ก็ไม่ควรดื่มแอกอฮอล์ในขณะให้ลูกดีที่สุดค่ะ

Read : สูตรเด็ดเพิ่มน้ำนมแม่ทำได้ไม่ยาก
#8 หลังให้นมลูกคุณแม่จะรู้สึกหิว

#8 หลังให้นมลูกคุณแม่จะรู้สึกหิว

สังเกตตัวเองไหมคะ หลังจากคุณแม่ให้นมลูกเสร็จทีไรจะมีความรู้สึกหิวทุกครั้ง เป็นเพราะคุณแม่ให้นมต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 500 แคลอรี่/วัน ดังนั้นอาหารที่คุณแม่กินควรเน้นประเภทที่ให้สารอาหารแคลเซียมสูง หรือธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก และ อาหารที่มีธาตุเหล็ก
#9 ช่วงให้นมหลังคลอดประจำเดือนจะมาช้า

#9 ช่วงให้นมหลังคลอดประจำเดือนจะมาช้า

อย่าตกใจหากให้นมลูกในช่วงแรกหลังคลอดแล้วพบว่าประจำเดือนยังไม่มา เป็นเพราะฮอร์โมนโปรแลคตินจะยับยั้งการตกไข่ ยิ่งเป็นคุณแม่ที่ให้นมแม่อย่างเดียวล้วน ๆ อาจจะไม่มีประเดือนเป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยจะมีประจำเดือนหลังคลอดประมาณ 14 เดือน

Read : คุมกำเนิดระหว่างให้นมลูกอย่างไรดี
#10 พ่อคือ ผู้สนับสนุนคนสำคัญของการให้นมแม่

#10 พ่อคือ ผู้สนับสนุนคนสำคัญของการให้นมแม่

การให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่อย่างเต็มที่ที่สุด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณแม่เพียงคนเดียว ซึ่งบทบาทของคุณพ่อ ก็คือผู้สนับสนุนหลักเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ มีงานวิจัยแสดงให้ได้เห็นว่า คุณแม่จะให้นมแม่ได้ไม่สำเร็จถ้าพ่อไม่ช่วยสนับสนุน ดังนั้นสิ่งที่คุณพ่อจะมีส่วนร่วมในการให้นมลูกได้ เช่น สามารถช่วยป้อนนมแม่จากขวดหรือถ้วยดื่มนมได้ หรือแบ่งเบาให้คุณแม่หายเหนื่อยหลังให้นม ด้วยการอุ้มลูกเรอ เล่นกับลูก เช็ดก้นลูก ล้างขวดนม เป็นต้น และคุณแม่สามารถช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ต่าง ๆ ของนมแม่ได้โดย การชวนคุณพ่อไปร่วมสัมมนาหรือเข้าอบรมเรื่องนมแม่ แท็กบทความที่เกี่ยวกับเรื่องนมแม่ให้คุณพ่อได้อ่าน ซึ่งก็จะช่วยให้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทั้งพ่อแม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 10 เรื่องของ “นมแม่” ที่คุณแม่ป้ายแดงไม่เคยรู้
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว