ข้อดี 10 อย่างของการตั้งท้อง
การตั้งท้องอาจถูกมองว่ามีแต่ข้อเสียเยอะแยะเต็มไปหมด แต่เรามาดูกันดีกว่าว่าข้อดี 10 อย่างของการตั้งท้องมีอะไรบ้าง
1) คุณกินได้มากขึ้น
2) คุณจะได้แยกตัวออกมามีชีวิตอย่างสุขสงบมากขึ้น
3) ไม่มีประจำเดือนไป 9 เดือนแน่ะ! (ถ้าให้นมลูกอีกก็ไม่ต้องปวดท้องเมนส์ไปอีกนานเลย)
4) ทุกคนจะลุกให้คุณนั่งเมื่อคุณอยู่นอกบ้าน
5) ของขวัญรับหลานมากมายจะหลั่งไหลกันเข้ามา
6) ไม่มีอีกแล้วช่วงเวลาเงียบในระหว่างการสนทนา เรื่องการตั้งครรภ์จะเป็นหัวข้อสนทนาที่ดีเชียวล่ะ
7) ผม ผิว และเล็บจะเงางามเปล่งปลั่งเต็มที่
8) ได้ลาคลอดซักที
9) มีเหตุผลที่เวิร์คสุด ๆ ที่จะได้ไปช้อปปิ้ง
10) เอนจอยเมคเลิฟได้อย่างสนิทใจ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะท้องหรือพยายามที่จะต้องท้อง
โดยเฉลี่ยแล้วการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 283 วันโดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงตามระยะการตั้งครรภ์ต่างๆ โดยแต่ละช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดเร็วขึ้นหรือช้าลงกว่าที่กำหนดไว้ไปตามแต่ละบุคคล และอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องหลังจากหมดระยะการตั้งครรภ์ที่อาการได้แสดงออกมาเป็นครั้งแรก
ระยะแรก (สัปดาห์ที่0-12)
ช่วงระยะแรกเป็นช่วงที่สำคัญมากระหว่างคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่
ในระยะนี้ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มเตรียมตัวเองสำหรับอีกเก้าเดือนข้างหน้า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากฮอร์โมนมากมายในร่างกาย คุณแม่จะต้องพบกับประสบการณ์ต่างๆนานา จากอาการของร่างกาย และอารมณ์ของตัวเอง
ในช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายอาจรู้สึกอ่อนเพลียมาก คุณแม่ไม่ควรรู้สึกแย่กับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายกำลังทำงานอย่างหนัก และระบบภายในต่างๆกำลังปรับตัวรองรับระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ควรหาโอกาสพักผ่อนให้ได้มากที่สุด
คุณแม่อาจจะต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องในตอนเช้า ซึ่งอาการจะหนักที่สุดในช่วงอาทิตย์ที่ 8-12 น้ำลายจะเริ่มถูกผลิตออกมามากผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน รำคาญง่าย มีฝ้าบนใบหน้า ตัวพอง และอยากอาหาร หน้าอกจะมีความรู้สึกไวต่อการกระตุ้น หรือรู้สึกอวบและหนักขึ้น หัวนมและพานนมจะมีการขยายขึ้นรวมถึงมีสีที่คล้ำขึ้น
ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญกับอาการปวดหัวในช่วงระยะแรก ซึ่งเกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงเวลาที่มีการยืนหรือนั่งที่เร็วเกินไป ระหว่างระยะแรกน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นมา 1-3 กิโลกรัม
คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงในการแท้งบุตรซี่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้น คุณแม่อาจจะพิจารณาการทำอัลตร้าซาวน์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นด้านหลังของคอทารกและสามารถวิเคราะห์โอกาสที่ทารกจะมีอาการของดาวน์ซินโดรม
โดยเฉลี่ยแล้วการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 283 วันโดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงตามระยะการตั้งครรภ์ต่างๆ โดยแต่ละช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดเร็วขึ้นหรือช้าลงกว่าที่กำหนดไว้ไปตามแต่ละบุคคล และอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องหลังจากหมดระยะการตั้งครรภ์ที่อาการได้แสดงออกมาเป็นครั้งแรก
ระยะแรก (สัปดาห์ที่0-12)
ช่วงระยะแรกเป็นช่วงที่สำคัญมากระหว่างคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่
ในระยะนี้ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มเตรียมตัวเองสำหรับอีกเก้าเดือนข้างหน้า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากฮอร์โมนมากมายในร่างกาย คุณแม่จะต้องพบกับประสบการณ์ต่างๆนานา จากอาการของร่างกาย และอารมณ์ของตัวเอง
ในช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายอาจรู้สึกอ่อนเพลียมาก คุณแม่ไม่ควรรู้สึกแย่กับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายกำลังทำงานอย่างหนัก และระบบภายในต่างๆกำลังปรับตัวรองรับระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ควรหาโอกาสพักผ่อนให้ได้มากที่สุด
คุณแม่อาจจะต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องในตอนเช้า ซึ่งอาการจะหนักที่สุดในช่วงอาทิตย์ที่ 8-12 น้ำลายจะเริ่มถูกผลิตออกมามากผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน รำคาญง่าย มีฝ้าบนใบหน้า ตัวพอง และอยากอาหาร หน้าอกจะมีความรู้สึกไวต่อการกระตุ้น หรือรู้สึกอวบและหนักขึ้น หัวนมและพานนมจะมีการขยายขึ้นรวมถึงมีสีที่คล้ำขึ้น
ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญกับอาการปวดหัวในช่วงระยะแรก ซึ่งเกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงเวลาที่มีการยืนหรือนั่งที่เร็วเกินไป ระหว่างระยะแรกน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นมา 1-3 กิโลกรัม
คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงในการแท้งบุตรซี่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้น คุณแม่อาจจะพิจารณาการทำอัลตร้าซาวน์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นด้านหลังของคอทารกและสามารถวิเคราะห์โอกาสที่ทารกจะมีอาการของดาวน์ซินโดรม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!