X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 อันตรายที่ลูกมักเจ็บตัวตอนอยู่บ้าน

23 Jun, 2016

บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด คำพูดนี้ไม่จริงเสมอไป เพราะอันตรายมีอยู่รอบตัว คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจลูกตลอดเวลาเพื่อป้องกัน อุบัติเหตุตอนอยู่บ้านให้กับลูก

10 อันตรายที่ลูกมักเจ็บตัวตอนอยู่บ้าน

10 อันตรายที่ลูกมักเจ็บตัวตอนอยู่บ้าน

อยู่บ้านใช่ว่าจะปลอดภัย เพราะอันตรายอยู่รอบตัว เพื่อเพิ่มความระมัดระวังให้กับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ต้องจับตาดูลูกอยู่ตลอด และเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันลองมาดู 10 อันตรายที่ลูกมักเจ็บตัวตอนอยู่บ้าน จะได้ช่วยกันระวังลูกมากขึ้น
1.ทำของตกแตก

1.ทำของตกแตก

เมื่อลูกเดินได้ อันตรายก็เพิ่มขึ้นทันที ช่วงวัยแห่งความอยากรู้อยากเห็นที่เพิ่มขึ้น ทำให้ลูกอยากสำรวจตรวจสอบสิ่งต่างๆ ภายในบ้าน และลูกมักอดไม่ได้ที่จะเอื้อมมือไปหยิบจับข้าวของ พ่อแม่จึงต้องรอบคอบมากขึ้น อะไรที่วางไว้ต่ำเกินไปแล้วสุ่มเสี่ยงที่จะตกลงมาแตกเกิดเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ก็ควรจะวางไว้ในที่สูงที่ลูกเอื้อมไม่ถึง โดยเฉพาะจานชาม หรือแม้แต่ผ้าปูโต๊ะและสายไฟก็ต้องระวัง
2.สะดุดล้ม

2.สะดุดล้ม

การสะดุดล้มเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดกับคนทุกวัย แต่อันตรายที่สุดเมื่อเกิดกับเด็กและคนแก่ แม้การสะดุดล้มจะดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ ก็เป็น แต่ลองคิดดูดีๆ ว่าการบาดเจ็บจากการล้มนั้น สามารถรุนแรงถึงขั้นแขนขาหักได้เลย ถ้าสังเกตเห็นการสะดุดล้มของลูกที่กระแทกแรงๆ จนมีอาการต่อไปนี้ คือ เซื่องซึม อาเจียน หรือไม่รู้สึกตัว ต้องโทรเรียกคุณหมอทันที เพราะนั่นคือสัญญาณอันตราย
3.รอยฟกช้ำ

3.รอยฟกช้ำ

ร่องรอยฟกช้ำเป็นรอยที่เห็นเด่นชัด เมื่อพบว่าลูกเกิดรอยจ้ำๆ ที่ผิวหนัง คุณแม่ก็มักจะประคบเย็นบริเวณรอยช้ำนั้นเพื่อลดบวมและบรรเทาความเจ็บปวดของลูก แต่รู้หรือเปล่าว่า รอยฟกช้ำนั้นอาจเป็นเพียงแค่อาการภายนอก แท้จริงแล้วมันเกิดขึ้นเพราะกระดูกหัก ลองสังเกตว่าถ้ารอยช้ำมีมากขึ้น แล้วลูกยังไม่หายเจ็บสักที ก็ควรจะไปปรึกษาคุณหมอ
4.ข้อเท้าแพลง

4.ข้อเท้าแพลง

เด็กๆ มักจะซุกซน วิ่งเล่น กระโดดโลดเต้นไปมา ทำให้เกิดอาการข้อเท้าแพลงได้ง่ายๆ ข้อเท้าแพลง เกิดจาก เอ็นหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเท้า ยืด บิด หรือฉีกขาด ไม่ใช่แค่ข้อเท้าเท่านั้น แต่หัวเข่าและข้อมือ ก็สามารถเกิดอันตรายเช่นนี้ได้ด้วย หากลูกๆ เกิดอาการแบบนี้ให้ประคบเย็นเพื่อลดความเจ็บปวด ก่อนจะพาลูกไปหาหมอให้ตรวจร่างกายอย่างละเอียด
5.โดนบาด

5.โดนบาด

การโดนบาดมีตั้งแต่รอยบาดเล็กๆ ที่เกิดเลือดซิบๆ ไปจนถึงรอยบาดขนาดใหญ่ที่เป็นอันตรายต่อตัวลูก ถ้าเกิดรอยบาดเล็กๆ ก็ไม่ต้องกังวลมากเพราะบาดแผลจะค่อยๆ จางไปเอง หลังจากที่ลูกถูกบาดจากของมีคม อย่าลืมกดแผลเพื่อห้ามเลือด แล้วฆ่าเชื้อโรคบริเวณบาดแผลด้วย แต่ถ้าบาดแผลขนาดใหญ่เลือดไหลมาก ก็จำเป็นต้องไปหาหมอเพื่อเย็บบาดแผลให้กับลูก
6.รอยไหม้

6.รอยไหม้

ลูกมักอยากรู้อยากลองไปหมด รอยไหม้จึงเกิดขึ้นได้บ่อยพอๆ กับรอยบาด โดยเฉพาะเมื่อลูกสัมผัสกับของร้อนๆ ทั้งการถูกน้ำร้อนลวก หรือไปสัมผัสกับอุปกรณ์ในครัวที่เพิ่งผ่านการทำอาหารมา จึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้ลูกเข้าใกล้สิ่งอันตราย อย่างเตาแก๊ส ไฟแช็ค หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความร้อน เช่น เหล็ก เครื่องครัว หรือแม้แต่เครื่องหนีบผมของคุณแม่ แต่ถ้าห้ามไม่ทัน เกิดโดนน้ำร้อนลวกหรือถูกความร้อนจนผิวไหม้ ก็ให้เปิดน้ำเย็นไหลผ่านบริเวณรอยไหม้สัก 10 นาที ค่อยมาดูแผลอีกทีว่ารอยไหม้นั้นเป็นเยอะหรือเปล่า
7.ลูกสำลัก

7.ลูกสำลัก

เด็กเล็กๆ จะชอบหยิบของใส่ปาก หรือยัดอาหารเข้าไปทีละเยอะๆ จนทำให้ติดคอ แล้วเกิดการสำลัก เพราะอาหารอุดตันหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเอาสิ่งของที่ลูกใส่เข้าปากออกมาได้ ก็ควรจะรีบนำลูกส่งโรงพยาบาลทันที
8.สารพิษรอบบ้าน

8.สารพิษรอบบ้าน

ยาต่างๆ และบรรดาสารเคมีที่ใช้ในการดูแลบ้าน ล้วนเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ควรจะเก็บไว้ให้ห่าง เช่น ลูกเหม็น น้ำมัน ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง น้ำยาทุกชนิด ทั้งน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาปรับผ้านุ่ม แค่ลูกได้สูดดมก็อันตรายแล้ว ไม่กล้านึกเลยว่า ถ้าลูกกลืนลงไปจะเป็นอย่างไร ทางที่ดีควรเก็บไว้ในที่สูงที่ลูกเอื้อมไม่ถึงจะปลอดภัยที่สุด
9.ทุกอย่างที่ทำด้วยแก้วเป็นสิ่งอันตราย

9.ทุกอย่างที่ทำด้วยแก้วเป็นสิ่งอันตราย

ไม่ใช่แค่แก้วน้ำเท่านั้น ที่สามารถทำอันตรายกับลูกได้ หากแต่รวมถึงข้าวของต่างๆ ที่ทำจากแก้ว ทั้งเฟอร์นิเจอร์ หน้าต่าง และเครื่องครัว เพราะสิ่งที่ทำจากแก้วนั้นเมื่อแตกแล้วจะแหลมคม บาดร่างกายลูกให้เกิดรอยแผลได้ บ้านไหนมีลูกเล็กสิ่งที่ควรซื้อคือ child-proof อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกปลอดภัย ซึ่งทำขึ้นให้เหมาะกับสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน คุณแม่ลองไปหาซื้อกันได้
10.ลูกจมน้ำ

10.ลูกจมน้ำ

ในเมืองไทยเอง มีข่าวเด็กจมน้ำเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน วิธีป้องกันคือต้องไม่ปล่อยให้ลูกไปเล่นน้ำเพียงลำพัง แม้ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำของเด็ก หรือสระยางเล็กๆ ก็อย่านิ่งนอนใจ ต้องอยู่ใกล้ๆ ลูกเสมอ
ถัดไป
img

บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 10 อันตรายที่ลูกมักเจ็บตัวตอนอยู่บ้าน
แชร์ :
  • วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

    วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

  • พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

    พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

    วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

  • พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

    พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว