X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธีระงับใจก่อน "ระเบิดอารมณ์ใส่ลูก"

22 May, 2014

บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ หากไม่ได้อยู่ในสภาวะจิตใจและร่างกายที่พร้อมรับมือ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจแสดงความเกรี้ยวกราดฉุนเฉียวออกมาได้ บางทีอาจต้องใช้เวลาสักนิดในการทำความเข้าใจว่าอะไรและเพราะเหตุใดที่ทำให้เราโมโหลูกได้ง่าย แล้วคุณจะพบว่าการสำรวจความคิดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้เสียเปล่าเลย แต่จะเป็นผลดีทั้งกับตัวคุณและลูก ลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้นะคะเพื่อหยุดนิสัยการตวาดหรือตะคอกลูก

สัญญาณเตือน

สัญญาณเตือน

การตระหนักถึงสัญญาณของความโกรธที่เกิดขึ้นในตัวเราถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สัญญาณที่มักจะพบบ่อยๆ เช่น ความรู้สึกอึดอัดแน่นหน้าอก ความคิดแย่ๆ ที่พรั่งพรูขึ้นในใจ การขึ้นเสียง อาการกัดฟันกำหมัดแน่น รวมถึงมีเหงื่อออก เมื่อคุณเข้าใจสัญญาณเหล่านี้ การฝึกรับมือกับอาการโกรธเกรี้ยวก็จะง่ายขึ้น
อย่าตะโกนใส่ลูก

อย่าตะโกนใส่ลูก

การทำให้ลูกเข้าใจว่าทำไมหรืออะไรที่ทำให้คุณโมโหย่อมดีกว่าการตะโกนใส่เพื่อให้ลูกหยุด บางครั้งเด็กๆ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องเสียงดัง การค่อยๆ ใช้เวลาอธิบายจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ขอบเขตในการทำสิ่งต่างๆ
ชะลอการระเบิดอารมณ์

ชะลอการระเบิดอารมณ์

การค่อยๆ คิดช่วยชะลอการระเบิดอารมณ์ได้ การพยายามทำความเข้าใจกับสถานการณ์ตรงหน้าช่วยให้คุณได้ไตร่ตรองสิ่งที่เกิดขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะบันดาลโทสะ วิธีนี้ช่วยชะลอความโกรธได้ชะงัดนัก
อย่าเจ้าอารมณ์นัก

อย่าเจ้าอารมณ์นัก

การเรียนรู้ที่จะลดความเจ้าอารมณ์และเจ้าระเบียบกับทุกสิ่งทุกอย่างลงเป็นเรื่องที่ควรฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ดูเหมือนผู้ใหญ่อย่างเราๆ จะโมโหกันได้ง่ายๆ เมื่ออะไรต่อมิอะไรไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ ที่สำคัญก็คือ ลูกๆ จะเรียนรู้นิสัยแบบนี้ไปจากเราด้วย
หายใจเข้าลึกๆ

หายใจเข้าลึกๆ

การฝึกหายใจเข้าให้ลึกและหายใจออกให้หมดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณหยุดแผดเสียงได้ ด้วยลักษณะทางกายภาพแล้ว คุณไม่สามารถจะตะโกนไปพร้อมๆ กับหายใจลึกๆ ได้
มองตาลูก

มองตาลูก

การมองสบตาลูกตรงๆ มีผลทำให้คุณรู้สึก “สงบ” ลงได้อย่างประหลาดซึ่งจะช่วยให้คุณลดระดับเสียงลงได้เยอะเลย อาจเป็นเพราะโดยจิตใต้สำนึกแล้วเราไม่อยากจะทำร้ายแก้วหูของลูกก็เป็นได้
ตั้งกฎสำหรับลูก

ตั้งกฎสำหรับลูก

ถ้าพฤติกรรมบางอย่างทำให้คุณต้องแผดเสียงใส่ลูกอยู่บ่อยๆ ตั้งกฎขึ้นมาเพื่อช่วยให้ลูกหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว คุณเองก็จะต้องเคร่งครัดกับกฎนั้นด้วยเช่นกัน เมื่อลูกไม่ทำตามกฎจะต้องมีการลงโทษตามที่ตกลงกันไว้ โดยคุณจะต้องลงโทษอย่างรวดเร็วและไม่ใช้อารมณ์
ลองนึกถึงว่าถ้าคุณเป็นลูก คุณจะทำอย่างไร

ลองนึกถึงว่าถ้าคุณเป็นลูก คุณจะทำอย่างไร

บางครั้งการคิดโดยเอาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับลูกจะเป็นวิธีการที่ทำให้คุณสงบและหยุดความคิดที่จะตะคอกลูกได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อลูกยังเล็กมากๆ และยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมีความผิดใหญ่หลวงเพียงใด
นอนให้หลับ

นอนให้หลับ

นิสัยการกินที่ดีและการนอนหลับสนิททั้งของคุณและลูกจะช่วยทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจและอารมณ์มากขึ้นในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะสงบผ่อนคลายและมีเหตุมีผลมากขึ้นเมื่อพักผ่อนเพียงพอ
หลับตา

หลับตา

การทำความเข้าใจและการยอมรับว่าคุณไม่ได้สมบูรณ์แบบจะช่วยให้คุณลดความกดดันต่อตัวเองและลูกลง บางครั้งเพียงแค่การปล่อยให้ผ่านไปหรือการหลับตายังดีกว่าที่จะโมโหและกลายเป็นคนขี้บ่นฉุนเฉียวไป
ถัดไป
img

บทความโดย

theAsianparent Thailand Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 10 วิธีระงับใจก่อน "ระเบิดอารมณ์ใส่ลูก"
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว