จากการศึกษาค้นคว้าของ มหาวิทยาลัย Lund และมหาวิทยาลัย Kristianstad พบว่า ในบรรดาสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด มนุษย์ที่เป็นเด็กแรกเกิดนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เดินได้ช้าที่สุด
มาร์ติน คอว์วิช นักวิจัยและทีมงานได้ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุดังกล่าว โดยเริ่มค้นคว้าตั้งแต่ ขนาดของสมอง และกลไกการทำงานของแขนขาของเหล่าสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนทั้งสิ้น 24 สายพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น ฮิปโป อูฐ แกะ และลิงชิมแปนซี เป็นต้น
จากการศึกษาระบบทางสมองนั้นพบว่า สมองของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมยกเว้นมนุษย์นั้น ได้มีการพัฒนาเต็มที่สมบูรณ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแล้ว ผิดกับลูกมนุษย์ที่จะพัฒนาอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน ทำให้เด็กแรกเกิดนั้น จะสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ก็ต่อเมื่อได้ลืมตาดูโลกแล้วนั่นเอง
และผลการค้นคว้ายังบอกด้วยอีกว่า ศีรษะของเด็กแรกเกิด จะมีขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับร่างกายส่วนอื่น ๆ ทำให้การทรงตัวนั้นเป็นไปได้ยาก กระดูกเชิงกรานยังมีขนาดเล็ก การรับศีรษะเด็กจึงเป็นไปได้ยาก อีกทั้งกว่าที่เด็กจะใช้สองขาเดินได้นั้น จะต้องเรียนรู้การควบคุมสมดุลของร่างกายให้ได้เสียก่อนด้วย
ซึ่งสาเหตุหลักที่สำคัญที่สุดก็คือ ภายหลังจากที่เด็กแรกเกิดลืมตาดูโลกแล้วนั้น พวกเขาไม่ได้เรียนรู้ได้เพียงทีละเรื่อง แต่พวกเขาสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยมีคุณพ่อคุณแม่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำและดูแลอย่างใกล้ชิด
ที่มา: Mom Junction
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
พัฒนาการทารก: 12 เดือนจากแรกเกิดจนหัดเดิน
วิธีสอนลูกหัดเดินให้ลูกน้อยวัยทารกเดินได้ไว ๆ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!