X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อสงสัย ทำไมลูกถึงเกิดอาการของโรคภูมิแพ้

บทความ 3 นาที
ไขข้อสงสัย ทำไมลูกถึงเกิดอาการของโรคภูมิแพ้

“โรคภูมิแพ้” ตามความเข้าใจโดยทั่วไป เรามักจะคิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นปกติ โดยเฉพาะสำหรับคนเมืองในปัจจุบันที่มีอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม อาการคันและคัดจมูกเมื่อสัมผัสสิ่งที่แพ้ เช่น อากาศ ฝุ่นละออง ควันรถ อยู่เป็นประจำ แต่แท้ที่จริงแล้ว ความหมายของโรคภูมิแพ้ยังครอบคลุมไปถึงโรคอีกหลายโรค เช่น โรคผื่นแพ้ผิวหนังเรื้อรังอักเสบ (Atopic dermatitis) โรคหอบหืด (Asthma) โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก (Allergic rhinitis) และโรคแพ้อาหาร (Food allergy) ซึ่งรวมไปถึงภาวะแพ้โปรตีนนมวัว (Cow milk protein allergy) ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นไปได้ว่า คนที่เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้โรคใดโรคหนึ่งแล้ว จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดเป็นโรคภูมิแพ้โรคอื่น ๆ เมื่อโตขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า

เนื่องจากปัจจุบันโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นและเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับทารกและเด็กเล็ก จึงมักมีคำถามจากพ่อแม่ บ่อย ๆ ว่าโรคภูมิแพ้คืออะไร และทำไมลูกถึงเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้น

ไขข้อสงสัย, โรคภูมิแพ้

ไขข้อสงสัย ทำไมลูกถึงเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้น

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยจำนวนมาก ที่พบว่าโรคภูมิแพ้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นด้วยสารใดสารหนึ่งแล้วทำให้ปฏิกิริยาการแพ้ (Hypersensitivity) เกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะสารประกอบประเภทโปรตีนที่อยู่ในรูปแบบของโครงสร้างที่ซับซ้อนขนาดใหญ่1 ซึ่งถ้าหากสารประกอบประเภทโปรตีนนั้นไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน แล้วตามมาด้วยอาการต่าง ๆ ของโรคภูมิแพ้ สารประกอบนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น “สารก่อภูมิแพ้” (allergen)2 ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ จากการหายใจ จากการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนัง หรือจากการรับประทานเข้าไป

โดยระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองในลักษณะของโรคภูมิแพ้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทารกทุกคน แต่สำหรับทารกที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ทารกที่พ่อ แม่ หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกันมีประวัติโรคภูมิแพ้จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาการตอบสนองในลักษณะนี้มากขึ้น ซึ่งจุดเริ่มต้นของการแพ้มักเกิดตั้งแต่ในวัยหนึ่งขวบปีแรกโดยเริ่มต้นจากการแพ้โปรตีนนมวัวหรือโปรตีนจากอาหาร และผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ แล้วค่อยตามด้วยการเกิดหอบหืด และภูมิแพ้เยื่อบุจมูกในเวลาต่อมา ซึ่งการเกิดโรคภูมิแพ้ในลักษณะนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Atopic march หรือ Allergic march ซึ่งทำให้ทารกคนนั้นเกิดโรคภูมิแพ้ที่เปลี่ยนลักษณะไปได้จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากคุณสงสัยว่าลูกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ สามารถเช็คความเสี่ยงเบื้องต้นได้ที่ https://goo.gl/HC9gOW

ความสำคัญของโปรตีนกับความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ของทารก

Advertisement

สำหรับสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากการรับประทานเข้าไปนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ เนื่องจากทางเดินอาหารของมนุษย์เป็นอวัยวะที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและเป็นด่านแรกที่ร่างกายจะได้สัมผัสกับโปรตีนชนิดใหม่ที่เข้ามาในรูปแบบของอาหารเกือบตลอดเวลา ดังนั้นร่างกายของเราจึงได้ทำความรู้จักโปรตีนแปลกปลอมตั้งแต่เมื่อนมมื้อแรกเข้าสู่ลำไส้ของทารก

โดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกการป้องกันไม่ให้โปรตีนแปลกปลอมนั้นเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย3 แต่ถ้าโปรตีนนั้นยังสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะถูกกระตุ้นให้จดจำสิ่งแปลกปลอมนี้ไว้ก่อนหรือที่เรียกว่า sensitization ถ้าภายหลังเมื่อร่างกายได้มีการสัมผัสกับโปรตีนแปลกปลอมนี้อีกครั้ง ก็จะเกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และทำให้เกิดอาการของการแพ้ตามมา เช่น การเกิดผื่นลมพิษ หน้าบวม หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตได้ในกรณีที่แพ้รุนแรง (anaphylaxis) หรือในกรณีที่อาการแพ้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเฉียบพลัน สำหรับทารกก็อาจแสดงอาการเป็นลักษณะของผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ถ่ายเหลวเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด มีอาการของโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง หรือเลี้ยงไม่โต เป็นต้น

ไขข้อสงสัย, โรคภูมิแพ้

โปรตีน จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ซึ่งการหลีกเลี่ยงไม่ให้ทารกสัมผัสโปรตีนที่ก่อให้เกิดการแพ้นั้นเป็นไปได้ยาก แต่การทำให้ร่างกายเกิดภาวะทนต่อสารก่อภูมิแพ้ (Tolerance) นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายมีแนวทางในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมอย่างเหมาะสม เมื่อนั้นอาการของโรคภูมิแพ้ก็จะไม่เกิดขึ้น

ดังนั้นนมแม่จึงดีที่สุดสำหรับทารก เนื่องจากโปรตีนในน้ำนมแม่เป็นโปรตีนที่สร้างโดยร่างกายของมนุษย์ จึงมีโอกาสน้อยมากที่ทารกจะแพ้โปรตีนในน้ำนมแม่ แต่ในกรณีที่มารดามีน้ำนมไม่เพียงพอ การเลือกนมผงดัดแปลงสำหรับทารกชนิดที่โปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน มีงานวิจัยพบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภูมิแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้นมผงดัดแปลงสูตรทั่วไป4

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงกุลนิภา กิตติศักดิ์มนตรี กุมารแพทย์โภชนาการ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://goo.gl/E64EdE

เอกสารอ้างอิง

  1. Aalberse RC. Molecular mechanism in allergy and clinical immunology. J Allergy Clin Immunol.2000; 106: 228-38.
  2. Muraro A, Werfel T, Hoffmann-Sommergruber K, Roberts G, Beyer K, Bindslev-Jensen C, et al. EAACI food allergy and anaphylaxis guidelines: diagnosis and management of food allergy. Allergy. 2014; 69: 1008-25.
  3. Sicherer SH, Sampsom HA. Food allergy. J Allergy Clin Immunol. 2010; 124: S116-25.
  4. Bantz SK, Zhu Z, Zheng T. The Atopic March: Progression from Atopic Dermatitis to Allergic Rhinitis and Asthma. J Clin Cell Immunol. 2014; 5(2)pii: 202
บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไขข้อสงสัย ทำไมลูกถึงเกิดอาการของโรคภูมิแพ้
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว