X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ! ประโยชน์ของ จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี

บทความ 3 นาที
ไขข้อข้องใจ! ประโยชน์ของ จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี

หากพูดถึงจุลินทรีย์ คำว่า จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัส หลายคนคงจะเข้าใจว่าจุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่ในนมเปรี้ยวหรือในโยเกิร์ตเท่านั้น แต่จะให้รู้จริงแล้วหลายสายพันธุ์มีอยู่ในน้ำนมแม่ ถามว่าแลกโตบาซิลลัสที่ว่านี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อร่างกาย ที่ว่าช่วยป้องกันโรคท้องร่วงและช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้จริงหรือ? จุลินทรีย์ตัวจิ๋วที่เรามองไม่เห็นนั้นมหัศจรรย์ขนาดไหนกัน มาทำความรู้จักกับ จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัส ให้กระจ่างกันดีกว่านะคะ

Lactobacillus rhamnosus GG หรือ “จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG “เป็นจุลินทรีย์อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่พบว่า มีคุณสมบัติดีต่อสุขภาพ โดย Sherwood Gorbach และ Barry Goldin ผู้ที่ค้นพบจุลินทรีย์สายพันธุ์นี้ได้ทำการวิจัยและพบว่า จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัสสายพันธุ์แรมโนซัสGG หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ

  • เป็นจุลินทรีย์ที่แยกจากลำไส้ของมนุษย์
  • ทนต่อการถูกทำลายด้วยกรดที่กระเพาะและด่างที่ลำไส้เล็ก
  • สามารถปล่อยสารออกมาฆ่าเชื้อดื้อยา ลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคและ/หรือจุลินทรีย์ฉวยโอกาสก่อโรคในโพรงลำไส้
  • สามารถเกาะติดกับผิวเยื่อบุลำไส้เหนือกว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์สายพันธุ์อื่น
  • สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนปูพรมเป็นกำแพงป้องกันผิวเยื่อบุลำไส้

 

กระบวนการทำงานของจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส

การทำงานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG อยู่ตรงตำแหน่งที่ผิวของลำไส้เล็ก ซึ่งใต้ผิวเยื่อบุลำไส้มี Gut Associated Lymphoid Tissue, GALT ที่มีเซลล์ภูมิคุ้มกันอยู่ที่นี่ถึงร้อยละ 80 จึงเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นศูนย์บัญชาการของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ร่างกายได้จัด GALT ของระบบป้องกันไว้ที่ใต้เยื่อบุลำไส้ ทั้งนี้เพราะเชื้อโรคส่วนใหญ่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวเยื่อบุลำไส้ ซึ่งเป็นด่านหน้า(barrier)จึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีจุลินทรีย์ปกป้องที่ผิวเยื่อบุปกป้องการรุกล้ำของเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอม นอกจากนี้มีเซลล์เนื้อเยื่อน้ำเหลืองทำหน้าที่รับรู้ว่ามีเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอม ที่เป็นอันตรายที่ร่างกายต้องกำจัดด้วยการสร้างสารเข้ากำจัด(innate immunity)หรือเกิดกระบวนการภูมิคุ้มกันตอบสนองขึ้นมาทำลาย(adaptive immunity)

 

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG

  • ช่วยย่อยอาหารโดนเฉพาะน้ำตาลแล็กโทสในนม สร้างวิตามิน และช่วยให้ภาวะในโพรงลำไส้เป็นกรด แร่ธาตุดูดซึมได้ดี เช่น แคลเซียมและเหล็ก เป็นต้น
  • ช่วยปกป้องผิวเยื่อบุ จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัส ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตื่นตัว ทำการระแวดระวังโดย กระตุ้นภูมิคุ้มกันและสร้างชั้นเคมีเป็นเกราะป้องกันร่างกายจากเชื้อที่เป็นอันตรายไม่ให้รุกล้ำเข้าเยื่อบุลำไส้
  • หากเชื้อมีสารพิษเข้ามาในโพรงลำไส้เกิดเซลล์บาดเจ็บ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG  จะปล่อยสารเคมีสื่อสารกับเซลล์ที่บาดเจ็บให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เช่น กรณีเกิดการติดเชื้อไวรัสโรต้า เกิดอาการท้องร่วง จึงหายได้เร็วขึ้น
  • กรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงหลายๆวัน ยาจะทำลายเชื้อดีๆ (normal flora) เชื้อฉวยโอกาสก่อโรค เช่น Clostridium difficille เป็นต้นซึ่งปล่อยสารพิษทำให้ลำไส้อักเสบเกิดอาการท้องร่วงที่ร่วมกับการได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotic associated diarrhea) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อฉวยโอกาสก่อโรค Clostridiun difficile  ลงได้

เนื่องจากโรคท้องร่วงเป็นโรคที่พบบ่อยในทารกและเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเป็นโรคท้องร่วงเฉียบพลัน 2 ครั้งต่อคนต่อปี ร้อยละ 40-50`สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า ดังนั้น ในด้านการรักษาและป้องกันโรคท้องร่วงเฉียบพลันจากไวรัสโรต้า นอกจากจะให้เด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 8 เดือนได้รับการฉีดวัคซีนโรต้าแล้ว การได้รับนมเสริมที่มีส่วนผสมของ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG ก็เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและช่วยให้ลูกน้อยไม่เกิดอาการท้องร่วงเมื่อได้รับเชื้อได้อีกทางหนึ่ง 

 

เรียบเรียงโดย ศ. เกียรติคุณ พญ. วันดี วราวิทย์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ไขข้อข้องใจ! ประโยชน์ของ จุลินทรีย์แล็กโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว