X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบกัด เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกกัด? พร้อมวิธีแก้ปัญหา

บทความ 5 นาที
ลูกชอบกัด เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกกัด? พร้อมวิธีแก้ปัญหา

ลูกชอบกัดคนอื่น ชอบกัดของ กัดนมแม่ระหว่างกินนม หรือกัดไหล่ กัดบ่าขณะแม่อุ้ม โดยเฉพาะในช่วงวัย 1-2 ปี เป็นพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเจอบ่อยมากค่ะ แม้จะเป็นพฤติกรรมที่ดูธรรมดาของเด็กก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลได้ เพระานานวันเข้าอาจจะกลายเป็นต้องเจอกับคำว่า ลูกชอบกัด ทำอย่างไรดี? เป็นแน่ ดังนั้น มาดูสาเหตุและวิธีแก้ปัญหากันค่ะ

 

เมื่อครั้งลูกน้อยของเรายังเป็นทารก เกิดอาการคันฟันแล้วชอบกัดสิ่งต่างๆ ก็อาจจะยังดูน่ารักน่าชังในสายตาพ่อแม่ แต่พอลูกโตขึ้นแล้วยังติดนิสัยชอบกัดอยู่ กลับดูไม่น่ารักเสียแล้ว ที่สำคัญตอนเป็นทารกแล้วชอบกัด อาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปากไม่มาก เพราะภายในช่องปากยังมีแต่เหงือก แต่ยิ่งลูกโตขึ้น ฟันเริ่มงอกออกมา การกัดสิ่งของบ่อยๆ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพฟันอย่างแน่นอน คุณแม่จึงต้องใส่ใจและหาทางลดพฤติกรรมชอบกัดของลูกให้ได้

นอกจากการชอบกัดสิ่งของแล้ว เด็กบางคนยังมีพฤติกรรมชอบ กัดคนอื่น ซึ่งไม่น่ารักเอาเสียเลย ยิ่งลูกชอบกัดมากเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกเพื่อนๆ ล้อมากเท่านั้น และการล้อนี้เองที่จะสร้างความหงุดหงิด รวมถึงกระตุ้นให้ลูกชอบกัดมากขึ้นไปอีก เกิดเป็นสัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ ก่อนลูกจะพัฒนาความรุนแรงจนเกิดเรื่องไม่ดีได้ในอนาคตนะคะ

 

 

ลูกชอบกัด เป็นเพราะอะไร?

การกัดสิ่งของคงไม่ส่งผลอะไรมาก แต่เมื่อลูกเริ่มกัดเด็กคนอื่น ๆ นี่สิ เริ่มเป็นปัญหาใหญ่แล้ว เพราะการที่ ลูกชอบกัดคนอื่น นั้นมีเหตุผลที่ต่างจากการชอบกัดของทารก ที่เกิดจากการคันเหงือกเพราะฟันเริ่มขึ้น แต่ในเด็กโตนั้นมีเหตุผลที่ต่างออกไป ได้แก่

  • ลูกรู้สึกว่าเวลากัดไปแล้วได้รับการตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นเสียงกรีดร้อง หรือการตกใจ ซึ่งการกัดของเด็กนั้นอาจไม่ได้ตั้งใจให้คนอื่นเจ็บปวด เพียงแค่อยากเห็นปฏิกิริยาของคนโดนกัดเท่านั้นเอง
  • เมื่อรู้สึกหงุดหงิด ลูกก็อาจจะแสดงพฤติกรรมโดยการกัดได้เช่นกัน นั่นก็เพราะลูกคุ้นเคยกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจด้วยการกัดมากกว่าการพูด
  • การกัดเรียกร้องความสนใจได้ เด็กบางคนจึงชอบกัดเพื่อให้คนอื่นสนใจ แม้ว่าความสนใจนั้นจะเป็นการดุด่าว่ากล่าว ก็ยังดีกว่าที่ไม่ได้รับความสนใจเลย ยิ่งรู้สึกว่าการกัดทำให้ได้รับความสนใจจากอื่นสนใจมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำพฤติกรรมนี้ไปเรื่อยๆ

 

Advertisement

สาเหตุของการกัด

  • ด้านร่างกาย จากการศึกษาวิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบกัด มาจากด้านร่างกาย คือ ฟันเริ่มขึ้น หรือหิว
  • ด้านจิตใจ เด็กมีความคับข้องใจ ไม่พอใจ หรือระบายความเครียด เนื่องจากขาดทักษะที่ดีในการสื่อสารเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ มีการเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็น แสดงความเป็นอิสระ เป็นทักษะพัฒนาการด้านสังคมอย่างหนึ่งของเด็ก

 

บทความน่าสนใจ : ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม

 

ลูกชอบกัด

 

ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นเด็กชอบกัด

  1. ถ้าลูกเริ่มรู้เรื่องแล้ว ลองสอนให้ลูกบอกความรู้สึกต่างๆ สอนให้ลูกรู้จักกับความรู้สึกโกรธ ย้ำเวลาลูกไม่พอใจว่านี่คือความรู้สึก พอลูกเริ่มเรียนรู้ ลูกจะพูดเมื่อรู้สึกไม่พอใจ แทนการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พอใจออกมา
  2. ในวันที่ลูกจะไปเล่นกับเพื่อนๆ คุณแม่ต้องเตรียมของว่างและให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะการนอนไม่พอและความหิว จะส่งผลให้ลูกเกิดความรู้สึกหงุดหงิด จนอาจเผลอไปกัดเพื่อนๆ เอาได้
  3. ใส่ใจลูกอยู่เสมอ ให้ลูกรับรู้ว่ากำลังได้รับความสนใจ ลูกก็จะไม่ใช้การกัดเพื่อเรียกร้องความสนใจ ซึ่งการแสดงออกถึงความใส่ใจให้ลูกรับรู้อยู่ตลอด จะช่วยให้ลูกรับมือกับความเครียดหรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ได้

 

ลูกชอบกัด ควรหยุดอย่างไรให้เลิก

  • อย่างแรกที่ไม่ควรทำคือ สะท้อนกลับพฤติกรรมที่ลูกแสดงออกมา ไม่ใช่ว่าลูกกัดแล้วลงโทษลูกแรงๆ หรือตอบโต้กลับในแบบเดียวกัน เพราะวิธีนั้นจะทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมรุนแรง และอาจส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในอนาคต
  • ถ้าลูกเกิดกัดใครสักคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต้องสอนให้ลูกรู้ว่าการกัดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และการกัดนั้นทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บ หากลูกโตพอจะเข้าใจ ก็เริ่มสอนให้ลูกรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำ โดยบอกให้ลูกหยุดกัดแล้วให้ลูกหายใจลึกๆ จนกว่าลูกจะรู้สึกสงบ เพื่อลดความเครียด
  • ถ้าลูกกัดเพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องลดความสนใจในตัวลูก แล้วแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจคนที่ถูกกัดแทน ขณะเดียวกัน เวลาที่ลูกเล่นกับคนอื่นๆ อย่างดี ให้ชื่นชม และแสดงออกถึงความสนใจในตัวลูก ลูกก็จะเรียนรู้ได้เองว่าควรทำสิ่งไหน

 

ลูกชอบกัด

 

7 วิธีแก้ปัญหา รับมือ ลูกชอบกัด

1. หาสาเหตุของการกัด

  • ถ้าการกัดมาจากลูกชอบสำรวจ อยากรู้อยากเห็น หรือฟันเริ่มขึ้น คุณแม่ควรให้ลูกกัดผ้าหรือยางแทน
  • ถ้าลูกกัดเพราะเบื่อหรือหิว ต้องดูแลให้กินและนอนอย่างเพียงพอ
  • ถ้ากัดเพราะลูกแย่งของกันต้องหาของให้พอเล่นหรือพอใช้ หรือสอนให้ลูกได้รู้จักแบ่งปันของกัน
  • ถ้าลูกกัดคนอื่นเพราะมีความตั้งใจ แม่ต้องพยายามให้เวลาแก่ลูก โดยการเล่น อ่านหนังสือนิทาน หรือกอดลูก

 

2. เมื่อ ลูกชอบกัดคนอื่น

  • ต้องสอนให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่ควรทำ
  • มองตาลูกและออกคำสั่งด้วยเสียงหนักแน่นว่า “ไม่กัดนะคะ” เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
  • เมื่อลูกกัดคุณแม่อย่าร้อง เพราะลูกอาจรู้สึกสนุกสนานที่เห็นคุณแม่ร้อง
  • อย่าหัวเราะกับการกระทำของลูก
  • พยายามทำตัวให้หลุดจากการกัดของลูกอย่างนุ่มนวลที่สุด

บทความน่าสนใจ : ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ ข้อดีของการดูดนิ้ว ทารกดูดนิ้ว ดีอย่างไร ต้องจับลูกเลิกหรือไม่ วิธีเลิกดูดนิ้ว วิธีเลิกกัดเล็บ

 

3. ตั้งกฎให้ชัดเจน 

  • คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างข้อตกลงว่า อะไรที่ลูกควรกัด หรือห้ามกัดอย่างเด็ดขาด
  • แนะนำสิ่งที่ลูกควรทำ เช่น เมื่อรู้สึกคันเหงือกให้ลูกลองเอาผ้าขนหนูมาเช็ดที่เหงือก หรือกัดได้เฉพาะของเล่นที่คุณพ่อคุณแม่เลือกแล้วว่าปลอดภัยเท่านั้น
  • เมื่อลูกกัดคนอื่น ทำให้คนอื่นเจ็บตัว ไม่ควรใช้การลงโทษที่รุนแรงต่อร่างกายและจิตใจลูก เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบและก้าวร้าวได้
  • ควรหยุดลูกด้วยคำพูดที่เรียบง่ายแต่จริงจังและเด็ดขาด เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าการกัดที่ทำให้คนอื่นเจ็บหรือเดือดร้อนนั้นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

 

4. ใช้วิธีการขอเวลานอกกับลูก

  • หาสถานที่สงบและให้ลูกนั่งเก้าอี้ตามลำพัง แต่อยู่ในมุมที่สามารถมองเห็นลูกได้
  • แนะนำว่าทันทีที่ลูกกัดว่า “ห้ามกัดนะคะ ลูกจะต้องขอเวลานอกบนเก้าอี้ตัวนี้จนกว่าจะหมดเวลา แล้วค่อยมาเล่นต่อ”
  • ถ้าลูกพยายามเรียกร้องความสนใจคุณแม่ควรวางเฉย จนกว่าเวลานอกจะหมด
  • ถ้าลูกจับขาหรือดึงเสื้อ อย่าใจอ่อน หันหน้าหนีลูกแล้วผละไปทำงานอย่างอื่น เช่น ล้างจาน หรือจัดลิ้นซัก

 

ลูกชอบกัด

 

5. สอนการแสดงออกที่ถูกให้ลูก

  • คุณแม่ควรสอนให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ถูก
  • ถ้าลูกต้องการแสดงความรักให้ใช้การกอดแทนการกัด
  • สัญญาณการหยุดโดยการยกมือห้ามหรือใช้การดันไหล่เพื่อนเบาๆ ถ้าลูกโมโหมากให้บอกคุณแม่ หรือบอกครู

 

6. ชมเชยลูก

  • เมื่อสอนลูกแล้ว และลูกเริ่มมีพฤติกรรมการกัดอาจน้อยลงหรือไม่มีอีกเลย พ่อแม่ก็ควรจะชมลูกบ้าง
  • การที่พ่อแม่ชื่นชมลูก เขาจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และความภูมิใจตรงนี้จะเป็นการละลายพฤติกรรมนี้ได้
  • คุณแม่ควรใจเย็น ช่วยเหลือลูก และให้กำลังใจลูก

 

7. ปรึกษาคุณแพทย์

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ เช่น พยายามอย่างไรลูกก็ยังชอบกัด หรือยิ่งห้ามลูกยิ่งมีพฤติกรรมต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ยังไม่สามารถแก้ให้ตรงจุดได้ การขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางออกที่ดี เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่รุนแรงและแก้ไขยากมากขึ้นได้ค่ะ

ลูกชอบกัดของเล่น

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

อย่างไรก็ดี เวลาที่ลูกเล่นกับเด็กอื่นๆ ในสนามเด็กเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรจะสังเกตลูกอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกแสดงออกอย่างเหมาะสม เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นและมีความสนใจในเรื่องอื่นๆ ก็จะเลิกพฤติกรรมชอบกัดไปได้เอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมื่อลูกชอบกัด ไม่ต้องสงสัยเลยว่านิสัยชอบกัดเป็นพฤติกรรมที่พ่อแม่ขยาดที่สุด

วิธีทำให้ลูกหยุดกัดเล็บ วิธีที่จะช่วยหลอกล่อให้เด็ก เลิกกัดเล็บ

 

ที่มา : (bellybelly) (rakluke) (Bangpakok Hospital)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูกชอบกัด เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกกัด? พร้อมวิธีแก้ปัญหา
แชร์ :
  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว