X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 เหตุผลดี๊ดีที่แม่กับลูกน้อยได้นอนใกล้กัน

บทความ 3 นาที
7 เหตุผลดี๊ดีที่แม่กับลูกน้อยได้นอนใกล้กัน

ด้วยวัฒนธรรมและความเป็นแม่ของคนไทย มักไม่อยากให้ลูกน้อยนอนห่างจากแม่เท่าไหร่ และมีเหตุผลวิจัยสนับสนุนว่าการที่คุณแม่นอนใกล้กับลูกน้อยนั้นดีอย่างไร

ทั้งนี้การนอนใกล้กับลูกน้อยนั้น อาจหมายถึงการให้ลูกน้อยได้นอนในเตียงสำหรับเด็กที่แยกไว้ต่างหาก แต่ให้อยู่ในห้องนอนเดียวกับคุณ เมื่อแม่ลูกนอนใกล้กันจะส่งผลให้

เหตุผลดี้ดีที่แม่กับลูกน้อยได้นอนใกล้กัน

1.คุณแม่สามารถให้นมลูกได้สะดวก เพราะถ้านอนในห้องเดียวกัน เมื่อลูกงอแงคุณแม่ก็จะได้ยินเสียงชัดเจน โดยสามารถอุ้มลูกมานอนให้นมได้ ไม่จำเป็นต้องลุกไปหาลูกที่นอนอยู่อีกห้องหนึ่ง ซึ่งก็จะทำให้คุณแม่พักผ่อนขึ้นได้อีกนิด และลูกก็จะได้ประโยชน์จากการกินนมแม่ไปเรื่อย ๆ

2.ดร.เจมส์ แม็คเคนนา นักวิจัยด้านการนอนหลับ ระบุว่าการนอนห้องเดียวกับลูกจะช่วยเพิ่มโอกาสที่พ่อหรือแม่จะช่วยชีวิตลูกเอาไว้ได้ ไม่ว่าสิ่งที่อาจทำให้ลูกเสียชีวิตจะเป็นสภาพทางสรีรวิทยาหรืออุบัติเหตุก็ตาม เพราะถ้านอนห้องเดียวกัน โอกาสที่พ่อหรือแม่จะได้ยินเสียงลูกในยามวิกฤติและตอบสนองได้ทันก็จะสูงมาก

3.อันตรายในยามนอนกลางคืนที่อาจเกิดขึ้นกับลูกจะลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการถูกลักพาตัวจากบนเตียง การสำลักอาเจียนจนหายใจไม่ออก การเสียชีวิตในกองเพลิง หรือบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งน่าจะป้องกันได้หากอยู่ใกล้พ่อแม่

Advertisement

4.การนอนห้องเดียวกับลูกจะเป็นการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งระหว่างพ่อแม่กับลูกได้ดี และช่วยตอบสนองความต้องการของลูกทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ด้วยความรักและการเฝ้าทะนุถนอมจากพ่อแม่ จะเป็นการป้องกันพฤติกรรมที่จะทำให้เด็กถูกกระทำทางเพศจากพ่อหรือแม่ได้

นอนห้องเดียวกับลูก

5.การที่ลูกนอนใกล้แม่ จะช่วยตอบสนองตามสัญชาติญาณของแม่ลูกอ่อนได้ทันที เพราะแม่จะรู้สึกตัวตื่นได้เร็วขึ้น เมื่อยินเสียงร้องของลูก ซึ่งการร้องไห้ถือเป็นธรรมชาติของทารก พ่อกับแม่อาจผลัดกันตื่นเพื่อมาดูหรือให้นมลูกได้ง่าย ช่วยแบ่งเบาเรื่องการนอนของคุณแม่ ทำให้มีเวลาพักผ่อนและมีพลังสำหรับวันต่อไปมากขึ้น

6.มีการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าชี้ให้เห็นว่า ถ้ามีคนอยู่ในห้องด้วย จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจและค่าความดันเลือดในระดับที่ดีขึ้น ฉะนั้นการนอนห้องเดียวกับลูก ก็น่าจะได้ประโยชน์แบบเดียวกัน

7.สำหรับพี่น้อง หากได้นอนห้องเดียวกันจะทำให้พี่น้องรักกันและมีความไว้เนื้อเชื้อใจกันมากขึ้น เพราะการอยู่ด้วยกันทั้งกลางวันและกลางคืนจะช่วยเพิ่มโอกาสให้พี่น้องได้สร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและยาวนานได้

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ทั้งนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า การทารกนอนร่วมเตียงเดียวกับพ่อแม่นั้นมีโอกาสเสี่ยงชีวิตขณะหลับมากกว่าทารกที่นอนแยกเตียงถึง 5 เท่า ครึ่งหนึ่งของเด็กทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน (SIDS) มาจากการนอนบนเตียงที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้ลูกน้อยได้นอนในเตียงสำหรับเด็กจนถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งสามารถนอนอยู่ใกล้กับพ่อแม่ภายในห้องนอนเดียวกันได้

ที่มา : www.mthai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ให้ลูกนอนเพิ่มอีก 18 นาที รู้ไหมดีอย่างไร?
หลากปัญหาเรื่อง “นอน” ของลูกที่พ่อแม่อยากรู้

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 7 เหตุผลดี๊ดีที่แม่กับลูกน้อยได้นอนใกล้กัน
แชร์ :
  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว